มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดี ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
Legislative Measure of Civil Litigation Related to Criminal Case
Keywords:
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา, ผู้เสียหาย, ค่าธรรมเนียม, Civil cases relating to criminal cases, The injured person, FeeAbstract
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมายถึง คดีแพ่งที่ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีมูลฐาน ความรับผิดเนื่องมาจากผลของการกระทำความผิดในทางอาญาโดยตรง ทำให้ผู้กระทำความผิดต้องรับผิดในทางแพ่งด้วย ผู้เสียหายในคดีอาญาจึงมีความต้องการให้มีการเยียวยาในสิ่งที่ตนได้สูญเสียไป และให้รัฐดำเนินคดีกับจำเลยทั้งในทางอาญา รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายในทางแพ่ง จากการศึกษาพบว่า กระบวนการดำเนินการในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นมีปัญหาในเรื่องของการดำเนินการตั้งแต่ชั้นฟ้องร้องคดีตลอดจนถึงชั้นบังคับคดี อันเนื่องมาจากผู้เสียหายไม่ทราบว่าพนักงานอัยการจะทำการยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเมื่อใด และไม่ทราบว่าตนจะต้องดำเนินการอย่างไรในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ซึ่งถ้าหากผู้เสียหายทราบถึงขั้นตอนการฟ้องคดีของพนักงานอัยการแล้ว ผู้เสียหายในคดีอาญาอาจยื่นคำร้องขอไปพร้อมคำฟ้องของพนักงานอัยการได้ ซึ่งศาลจะได้พิพากษาเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปพร้อมกันกับคดีในส่วนอาญา โดยผู้เสียหายไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 (สุวิชญา มูสิกะสงค์ และคณะ, 2559) และปัญหาที่ตามมาคือหากมีคำพิพากษาให้ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ผู้เสียหายก็ยังคงต้องเสียค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎวิธีพิจารณาความแพ่ง ก่อนจะมีการบังคับชำระคดีเสร็จ ไม่ว่าจะทำการฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาด้วยตนเอง หรือยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับคดีคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีจุดประสงค์ในการช่วยเหลือผู้บริโภคซึ่งบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีเทียบเท่าผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งเช่นเดียวกัน แต่กลับมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาช่วยดำเนินการในทุกขั้นตอนจนแล้วเสร็จ โดยผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ และเมื่อเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ เช่น ประเทศสวีเดน ในกรณีที่ผู้เสียหายมีการฟ้องร้อง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งซึ่งอาจแยกฟ้อง หรือฟ้องร่วมกับคดีอาญา การเรียกร้องค่าเสียหายจะอยู่บนพื้นฐานของการชดเชย หลังจากพิจารณาคดีเสร็จผู้เสียหายจะได้รับแจ้งจากหน่วยงานบังคับคดีสอบถามว่าประสงค์จะให้หน่วยงานนั้นเรียกเก็บเงินค่าเสียหายจากจำเลยแทนผู้เสียหายหรือไม่ หากผู้เสียหายมีความประสงค์ให้หน่วยงานดังกล่าวดำเนินการ ผู้เสียหายเพียงกรอกแบบฟอร์ม และส่งกลับไปยังหน่วยงานนั้น โดยการดำเนินการของหน่วยงานดังกล่าวผู้เสียหายไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ อย่างไรก็ดี การจะปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น จะต้องคำนึงถึงสังคม และตัวบทกฎหมายซึ่งไม่ควรจะขัดกันเองอีกด้วย อีกทั้งรัฐควรมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ และดำเนินการทุกขั้นตอนเพื่อเป็นการเยียวยาผู้เสียหาย รวมทั้งยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ตามหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และหลักการเยียวยาผู้เสียหายในรัฐธรรมนูญ A civil cases relating to criminal cases means a civil case which is enforced according to claims based on liabilities arising directly from the result of a criminal offense, causing the offender to be liable in the civil case as well. The victims of criminal cases need to receive remedies for what they have lost and requiring the state to prosecute the defendant in both criminal proceedings including helping civil victims infringed by such case. From recent studies, it is found that the processing in civil cases related to criminal cases contains problems in the process from the prosecution stage up until the enforcement, due to the victim not being sure when the prosecutor will file a lawsuit against the defendant in court, along with not knowing how to proceed with claiming compensation. In such case, if the victim is aware of the prosecution's procedure, the injured person in the criminal case may file a request with the prosecutor's indictment, where the court will be adjudicating the compensation as well as the criminal case. In which the injured party does not have to pay court fees According to the Criminal Procedure Code Section 44/1 and the subsequent problem is that if a verdict is given to the injured person to receive compensation, the injured party still has to pay the execution fees according to Table 5 attached to the Civil Procedure Code, before the enforcement of the case is completed whether to file a civil suit relating to the criminal case by oneself or file a request under the Criminal Procedure Code by virtue of Section 44/1. When compared with consumer protection cases, Which have the objective of helping consumers who are in bad economical situations as business owners, is the same as the civil claim for damages. But there are government officials come to help in all steps until completed, in which consumers do not have to pay any fees. And when compared to foreign laws, such as Sweden, in the event that the injured person has a civil claim for compensation which may be filed separately or filed in conjunction with criminal cases, claims are based on compensation. After the trial has been completed, the injured person will be notified by the enforcement agency inquiring whether he or she wishes to have the agency collect money from the defendant on behalf of the injured party or not. If the injured person wishes the said organization to proceed the injured person simply fills out the form and sent back to that department by implementing the said agency, the injured party does not need to pay any fees. However, to change the method of prosecution of civil cases related to the criminal case must consider society and the law which should not contradict each other as well. In addition, the government should have agencies to help and take every step to heal the injured including all fees and exemptions According to the law of criminal procedure and principles of healing the victims of the constitutionReferences
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2548). หลักความเสมอภาค. วันที่ค้นข้อมูล 14 สิงหาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.public-law.net/publaw/view.aspx?id=657&Page=1
คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). โครงการศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลระบบการให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่ออาชญากรรมโดยเฉพาะและครบวงจร: กรณีศึกษาประเทศสวีเดน. สนับสนุนโดยสํานักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม.
คณิต ณ นคร. (2558). กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
คณิต ณ นคร. (2561). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2536). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแพ่งเนติบัณฑิตยสภา.
สุเทพ เอี่ยมคง. (2559). สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย. วันที่ค้นข้อมูล 14 สิงหาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
สุวิชญา มูสิกะสงค์ และคณะ. (2559). ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1. ผลงานสัมมนาของการฝึกอบรม หลักสูตร “ผู้บริหารศาลยุติธรรมระดับกลาง” รุ่นที่ 13.