การจัดการความมั่นคงด้านสุขภาวะผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

Elderly Health Security Management in Nong Prue Municipality, Banglamong District, Chonburi

Authors

  • ระเบียบ กิจเจริญ
  • อมรทิพย์ อมราภิบาล
  • อนุรัตน์ อนันทนาธร
  • ภัทรพงษ์ รัตนเสวี

Keywords:

ผู้สูงอายุ, สุขภาวะ, การจัดบริการสาธารณะ, elderly people, health services, public service

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ 2) ศึกษาการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุ ฯ 3) ศึกษาสุขภาวะผู้สูงอายุ ฯ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการ ฯ กับกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ 5) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุ ออกแบบวิจัยเชิงผสม ระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 347 คน จากประชากรผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ ส่วนเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเก็บข้อมูล จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณาและสถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ F – Test และ Pearson – r ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลมีการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุโดยให้บริการแบบมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 614 คน ซึ่งถือว่าจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด การที่ผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุจำนวนไม่มากนักสาเหตุเนื่องจากกิจกรรมที่จัดให้ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการ รวมทั้งมีปัจจัยส่วนบุคคลเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการ เช่น สุขภาพร่างกาย ค่าใช้จ่าย และการเดินทาง นอกจากนั้น เทศบาลยังมีการให้บริการให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ผ่านโครงการประจำต่างๆ ซึ่งเป็นบริการแบบไม่มีส่วนร่วม และพบว่าการให้บริการแบบมีส่วนร่วมส่งผลดีต่อสุขภาวะมากกว่าแบบไม่มีส่วนร่วม 2) ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีความเห็นว่าเทศบาลมีการจัดการ ฯ อยู่ในระดับดีมาก อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุเห็นว่าการจัดการยังมีอุปสรรคปัญหาของการเข้าถึงและการใช้บริการอยู่บ้าง 3) ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรม ฯ มีสุขภาวะระดับดี ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่เป็นสมาชิกชมรม ฯ มีสุขภาวะระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่าผู้เป็นสมาชิกชมรมมีสุขภาพดีกว่าผู้ไม่เป็นสมาชิกชมรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญ 4) การจัดการ ฯ สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างสูงในทิศทางบวก 5) งานวิจัยมีข้อเสนอแนะต่อเทศบาลว่าควร a) ให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นวางแผนซึ่งจะทำให้ได้กิจกรรมตรงความต้องการผู้ใช้บริการเพื่อจะได้จูงใจให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรม ฯ มากขึ้น b) มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง c) เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ d) นำสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยมาให้บริการ โดยมีการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี และ e) การอำนายความสะดวกในด้านการเดินทางของผู้สูงอายุ  The purpose of this research aims 1) to study the context of health care management of the elderly in Nong Prue Municipality, 2) to study the health care management for elderly, 3) to explore the elderly’s health, 4) to examine relationship between the management and the elderly’s health, and 5) to provide the recommendations to improve the effective health care management to the elderly people. The research design adopted the mixed method: quantitative and qualitative. The questionnaire were used to collect quantitative data from 347 samples drawn from the elderly population. The qualitative approach applied semi-structured interviews guideline with 16 key informants. The quantitative analysis adopted descriptive and inference statistics: mean, standard deviation, percentage, F- Test and Pearson-r. The content analysis technique was applied for the qualitative data. The result of the study revealed; 1) the municipality provides the participatory service management for elderly through activities of elderly club which has currently engaged only a small number of 614 members when compared to the totality of elderly population. The reasons for that was the activities of the club not fit the seniors’ need and some individual factors prevent them from accessibility to the services, for example, the physical health, the transportation, and the expenses, etc. The municipality also provided the non-participatory services for elderly in the area through various routine programs. It finding showed that the participatory service has more actively affected on health than the non-participatory activities; 2) according to the perspectives of the elderly club’s member, the municipality’s health care service management has a very good level. However, the elderly mentioned some obstacles in services’ accessibility; 3) the elderly club’s members were in good health while the non-members had moderately health outcomes. The comparative analysis showed that the club’s members had significantly better health outcomes than those who are not members; 4) the health care service management had high positive correlation with the elderly health; 5) the research recommendation for improving the effective management were; a) increasing participation of service utilizer, especially in the initial planning stage, which can motivate those in needed to engage activities as club’s members, b) continuously monitoring, c) increasing the sufficient staffs, d) maintaining and providing the modern service equipment and, e) facilitating the travelling for the elderly people.

References

กรมการปกครอง. (2561). จำนวนประชากรผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี จำแนกตามช่วงอายุ. วันที่ค้นข้อมูล 24 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http:// www.dopa.go.th

กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2554). สุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กิตติมาพร โลกาวิทย์. (2556). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 5, 194-211.

จิรัชยา เคล้าดี และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 15(1).

เฉลิมพร อภิชนาพงศ์. (2553). ความพึงพอใจของผู้รับบริการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง. วันที่ค้นข้อมูล 24 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/magazine/8hnqimn7q58g04s.pdf 12/04/59

ทัศนีย์ สุวดิษฐ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพ ศึกษากรณีเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

บรรลุ ศิริพานิช. (2550). คู่มือผู้สูงอายุฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ (เตรียมตัวก่อนเกษียณการงาน). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

พรทิพย์ สุขอดิศัย, จันทร์ชลี มาพุทธ และรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. (2557). วิถีชีวิตและแนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 90 – 102.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2550). บทความผู้สูงอายุ: นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์. (2557). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม. วารสารพยาบาล ทหารบก, 15(3), 353-360.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ : บริษัทธรรมสาร จำกัด.

สุขภาวะ 4 ด้าน (มิติ). สุขภาพดีต้องดูแลอย่างจริงจัง. วันที่ค้นข้อมูล 21 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.zoneplus.net

สุรินทร์ นิยมางกูร. (2561). การบริหารจัดการงานสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 21-36.

อรทัย ฤทธิโรจน์. (2554). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Denhardt, R. B. Denhardt, V. J. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering. New York: M.E. Sharpe, Inc.

Fayol, H. (1923). Industrial and General Administration. New Jerser: Clifton.

Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice (3rd ed.). Connecticus: Appleton & Lange United Nations.

World Health Organization. (1998). Geneva: WHO.

Downloads

Published

2023-01-06