การพัฒนารูปแบบการขนส่งสินค้าเพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์ของผู้ประกอบการไทย ด้านการขนส่งสินค้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

The Development of the Transportation Model for the Thai Entrepreneur’s Achievement in the Transportation of Goods to LAO People’s Democratic Republic

Authors

  • วิเชียร สกุลวงค์
  • บรรพต วิรุณราช

Keywords:

การขนส่ง, สินค้า, จากไทยไป สปป.ลาว, Transportation, Goods, From Thailand to LAO PDR

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการขนเพื่อสร้างของประกอบการไทย ด้านการขนส่งสินค้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยผู้วิจัยได้ทำการวิจัยแบบผสานวิธี จากการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยแบ่งเป็น 3 วิธี 1) วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการไทยและสัมภาษณ์กลุ่มกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐใน สปป.ลาว รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 คน 2) จัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าของประเทศไทยและ สปป.ลาว และนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย จำนวน 6 คน และ 3) นำผลการสัมภาษณ์ เชิงลึกไปดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยการทดสอบการวิ่งรถจริง เพื่อเสริมความหนักแน่นและความสมบูรณ์ของงานวิจัย จำนวน 12 คน โดยการทดลองวิ่งรถขนส่งจริงตามผลการสัมภาษณ์ จำนวน 15 เที่ยวขนส่ง ผลการวิจัยพบว่า เส้นทางที่มีประสิทธิผลดีที่สุดคือ เส้นทางจากถนนพระราม 2 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยไปไชยะบุรี สปป.ลาว และมีประเด็นที่ต้องพัฒนา ได้แก่ รัฐบาลไทยต้องส่งเสริมให้ผู้ใช้สินค้าทาง สปป.ลาว ใช้สินค้าที่ผลิตจากประเทศไทยและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจระบบเทคโนโลยีการสื่อสารต้องพัฒนาให้ใช้เครือข่ายร่วมกันได้ นโยบายของความร่วมมือที่รัฐบาลได้ทำเอาไว้กับ สปป.ลาว สามารถนำใช้ปฏิบัติได้จริง  This research had an objective to study the development of the transportation model to create Thai entrepreneurs’ achievement in goods transportation to the Lao People's Democratic Republic. Mixed method research was conducted. Qualitative research was divided into 3 steps. (1) In-depth interview was used with Thai entrepreneurs and group interview was used with the total of 12 officials from government agencies in the Lao PDR. (2) Focus group was organized for 6 experts involved in the transportation of goods in Thailand and Lao PDR. Then, the results were analyzed according to the objectives of the research. (3) The results of in-depth interviews were processed into Action Research by real transportation test in order to enhance the firmness and completeness of the research work from 12 people. It was found that the most effective route was the route from Rama II Road in Bangkok, Thailand to Chaiya Buri of Lao PDR, and there were issues that needed to be developed. Firstly, Thai government had to encourage Lao people to use products made in Thailand. Secondly, the government supported transportation entrepreneurs to have an access to fund sources with low interest in order to have liquidity in business operations. Thirdly, communication technology systems had to be developed to share networks with Lao people. Finally, the practical policy of cooperation should be made by both Thai and Lao governments.

References

กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม. (2556). คู่มือประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบ

การขนส่งสินค้าเชิงรุกเพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วันที่ค้นข้อมูล 5 มกราคม 2556, เข้าถึงได้จาก http://www.thaitruckcenter.com/qmarkv1/UploadFile/ KnowledgeSource/1707283881.pdf

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2560). การเดินทางสำารวจเส้นทางโลจิสติกส์การค้า. วันที่ค้นข้อมูล 5 มกราคม 2556, เข้าถึงได้จาก https://www.dbd.go.th/download/article/ article_20170725133523.pdf

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2558). คู่มือโอกาสและทิศทางการค้าการลงทุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. นนทบุรี: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

กริช อึ้งวิฑูรสถิตย์, วรพชร ดิษยะศริน และจรินทร์ เจริญศรีวัฒนกุล. (2560). การค้าชายแดนและการลงทุนใน สปป.ลาว: โอกาสและอุปสรรค. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2560 หัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทยปี 61 รอดหรือซึมยาว” วันที่ 13 ธันวาคม 2560. (หน้า 12-26). กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กองแผนงาน กลุ่มกิจการขนส่งระหว่างประเทศ. (2559). ความร่วมมือด้านการขนส่งทางถนนระหว่างไทย- ลาว 27 ตุลาคม 2559. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กลุ่มกิจการขนส่งระหว่างประเทศ.

เกษม ชูจารุกุล. (2555). ระบบการขนส่งและการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โครงการกิจกรรมการเชื่อมโยงงานวจิยักบั ภาคนโยบาย. (ม.ป.ป.). บทสรุปเชิงนโยบาย การเพิ่ม ประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกทางการค้าบริเวณชายแดนไทยลาว. วันที่ค้นข้อมูล 17 มกราคม 2560, เข้าถึงได้จาก http://prp.trf.or.th/trf-policy-brief/การเพิ่มประสิทธิภาพการ/

คำนาย อภิปรัชญากุล. (2550). การจัดการขนส่ง. กรุงเทพฯ: ซีวาย ซิซเท็ม พริ้นติ้ง.

จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2550). หลักการขนส่ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2556). การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการ, 30(2), 95-118.

ไชยยศ ไชยมั่นคง และมยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง. (2552). กลยุทธ์การขนส่ง (Tranaportation strategy). นนทบุรี: บริษัท วิชั่น พรีเพรส.

ธนารินทร์ สุภรัตนกูล, สมากรณ์ แห้วเหมือน และอรรถพล ผดุงกิจ. (2560). นักลงทุนอเมริกาเตรียมพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ใน สปป.ลาว. วันที่ค้นข้อมูล 17 มกราคม 2560, เข้าถึงได้จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/196490/196490.pdf

ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล. (2552). เศรษฐศาสตร์การขนส่ง. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วีระยุทธ ทนทาน. (2555). แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะการทา ธุรกิจของผู้ประกอบการการค้าชายแดน ไทย-ลาว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับการบูรณาการประชาคมอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 20(2), 60-67.

ศิริพร เลิศยิ่งยศ. (2557). บทบาทภาครัฐและภาคเอกชนต่อการพัฒนาระบบการจัดการโลจิสติกส์ของ ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), 506-524.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์. (2559). EXIM BANK ปล่อยกู้แก่ JWD ขยายธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยในกัมพูชาและ สปป.ลาว. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์.

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในลาว. (ม.ป.ป.). สรุปความคืบหน้าการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ ลาว-จีน. วันที่ค้นข้อมูล 17 มกราคม 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.thaibizlao.com/lao/local-business/detail.php?cate= newshilight&id=20868

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวียงจันทน์. (2552). อยากค้าขาย-ลงทุนในลาว. วันที่ค้นข้อมูล 5 มกราคม 2556, เข้าถึงได้จาก http://vientiane.thaiembassy.org/vientiane/th/ about/about_

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2554). แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วันที่ค้นข้อมูล 5 มกราคม 2556, เข้าถึงได้จาก http://www.sme.go.th/ upload/mod_download/แผนแม่บทฯ%20ฉบับที่%203.pdf

สำนักโลจิสติกส์การค้า กรมส่งเสริมการส่งออก. (มปป.). คู่มือการประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ใน สปป.ลาว. วันที่ค้นข้อมูล 5 มกราคม 2556, เข้าถึงได้จาก http://aec.utcc.ac.th/wp-content/ uploads/2016/08/Doing-Business-in-LAOS.pdf

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. (2555). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. วันที่ค้นข้อมูล 5 มกราคม 2556, เข้าถึงได้จาก www.agriman.doae.go.th/home/news2/Logistics/ Binder%202.pdf

สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง และธนวัฒน์ เดชปรอท. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาศักยภาพการค้าและการขนส่งชายแดนจังหวัดอุบลราชธานี ต่อการเปิดประเทศเข้าสู่ AEC. กรุงเทพฯ: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี สุขดานนท์, สมพงษ์ศิริโสภณศิลปะ และสุนันทา เจริญปัญญายิ่ง. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ การใช้ประโยชน์จากเส้นทาง R3A เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคท่องเที่ยว. วันที่ค้นข้อมูล 17 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.tri.chula.ac.th/ triresearchlibrary/ 2561/R3A.pdf

Aec10news. (2559). สปป.ลาวปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 9. วันที่ค้นข้อมูล 17 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.aec10news.com/อาเซียน/item/2419-สปป-ลาวปรับปรุงทางหลวงหมายเลข-9

Donald, J. B., David, J. C., & Bixby, C. (2013). Supply chain logistics management (4th ed.). New York: NY: McGraw-Hill Irwin.

Downloads

Published

2023-01-06