ภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยา: การประยุกต์ใช้ประสาทวิทยาศาสตร์กับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

NeuroLeadership: Applying Neuroscience to Leadership and New Public Management

Authors

  • สุทธิพงษ์ เกียรติวิชญ์

Keywords:

ภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยา, การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, Neuro Leadership, New Public Management

Abstract

การวิจัย เรื่อง “ภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยา : การประยุกต์ใช้ประสาทวิทยาศาสตร์กับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเป็นภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยาของผู้นำสมัยใหม่ของภาครัฐ 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ประสาทวิทยาศาสตร์กับภาวะผู้นำของผู้นำสมัยใหม่ของภาครัฐ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ประสาทวิทยาศาสตร์กับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ 4). เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 30 คน จากผู้จัดการฝ่ายบุคคลขององค์การรัฐวิสาหกิจจำนวน 10 แห่ง และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ผลการวิจัย พบว่า Neuroscience leadership เป็นที่สนใจในภาครัฐ โดยได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกทางระบบประสาท การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ สังคมของมนุษย์ และการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ได้ดีมาก การประยุกต์ใช้ประสาทวิทยาศาสตร์กับภาวะผู้นำของผู้นำสมัยใหม่ของภาครัฐ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะได้ใช้กลไกทางระบบประสาทที่ได้ทำการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยและต่างประเทศได้ดีขึ้น การประยุกต์ใช้ประสาทวิทยาศาสตร์กับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศได้ดี เนื่องจากเป็นเรื่องของการจัดการที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ ทำให้เป็นการบริหารที่เข้าใจเกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ สังคมของมนุษย์ ที่มีความแตกต่างได้ดียิ่งขึ้น แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีดังนี้ มุ่งผลผลิต การวัดผลปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างความโปร่งใส การจัดการแบบภาคเอกชน การเน้นลูกค้า ส่งเสริมให้มีการแข่งขัน การตรวจสอบบทบาทภาครัฐ เน้นจิตสำนึกและความรับผิดชอบ ปรับปรุงการจัดการการเงินและบัญชี ปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้ปฎิบัติมาเป็นผู้กำกับดูแล การมุ่งบรรลุผลลัพธ์ (Outcome Oriented) การมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพในการบริการ การจัดการเพื่อการเปลี่ยนแปลง  Research subject "Neurology Leadership: Applications of Neuroscience with Leadership and the new management of government with objectives 1). To study neuroscience leadership of modern leaders in the government sector. 2). To study the application of neuroscience to leadership of modern leaders in the government sector. 3) to study the application of neuroscience to the new public sector management between Thailand and foreign countries. 4). To study the new approach to government sector management. This study is a qualitative study consisting of documentary research and in-depth interviews. The 30 key informants were from the personnel managers of 10 state enterprise organizations and other government agencies. Neuroscience leadership is interested in the government sector. By understanding the neurological mechanisms understanding of the mind, emotions, society of humans and the work of the brain in relation to learning is really good. The application of neuroscience to the leadership of modern leaders in the government sector between Thailand and foreign countries is really necessary. Because it uses neurological mechanisms that are better adapted to the environment of Thailand and abroad. The application of neuroscience to the new management of government sector between Thailand and abroad is a matter of management that has both science and art making it a management that understands the human mind, emotions, society with better differences new guidelines for public administration as follows: focus on productivity, performance measurement public participation creating transparency government sector management customer focus encourage competition government role auditing emphasizing consciousness and responsibility improve financial and accounting management modify roles from operators to supervisors outcome oriented focusing on improving efficiency, effectiveness, quality of service management for change.

References

กานดา จันทร์แย้ม. (2546). จิตวิทยาอุตสาหกรรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำ Leadership (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์

สุรีย์ภรณ์ ทรรศนียากร. (2541). การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์ลิงค์.

Rock, D., & Ringleb, A. H. (2013). Handbook of NeuroLeadership. New York: NeuroLeadership Institute.

Downloads

Published

2023-01-06