นโยบายว่าด้วยอำนาจอธิปไตยถาวรเหนือทรัพยากรธรรมชาติ กรณี ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศไทย

Permanent Sovereignty Over Natural Resources Policy: A Case Study of Patron-Client Relationship in Petroleum Resources Management of Thailand

Authors

  • กรกสิวัฒน์ เกษมศรี

Keywords:

อำนาจอธิปไตยถาวรเหนือทรัพยากรธรรมชาติ, ความมั่นคงทางพลังงาน, ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์, การขัดกันซึ่งผลประโยชน์ หรือ การขัดกันซึ่งบทบาทหน้าที่, ทุนนิยมแบบเล่นพวก, คณะกรรมการบริษัท, Permanent Sovereignty Over Natural Resources, Energy Security, Patron-Client Relationship, Conflict of Interest, Crony Capitalism, Board of Director

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายสาธารณะในการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศไทย โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง ระบบสัมปทาน (Concession System) ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย และระบบสัญญา (Contractual System) ที่ใช้อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน จากการวิจัยพบว่า การให้สัมปทานปิโตรเลียมแก่เอกชนทำให้รัฐถูกจำกัดอำนาจอธิปไตยเหนือทรัพยากรของตนเอง นโยบายปิโตรเลียมของไทยในช่วงที่ผ่านมามุ่งสนองผลประโยชน์ของบริษัทเอกชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการกำหนดนโยบายฯ มากกว่าเพื่อสนองประโยชน์ของประเทศด้านความมั่นคงทางพลังงานและสังคมส่วนรวม เพราะทรัพยากรเมื่อถูกนำขึ้นจากใต้แผ่นดิน ก็กลายเป็นสิทธิผูกขาดของเอกชนเพื่อทำกำไรสูงที่สุดให้แก่ผู้ถือหุ้น ขณะที่กลุ่มประเทศอาเซียนได้เปลี่ยนไปใช้ระบบสัญญา โดยรัฐบาลจะยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรโดยสมบูรณ์ จึงนำมาซึ่งความมั่นคงทางพลังงานในมิติความมั่นคงดั้งเดิม และในมิติความมั่นคงใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับของสวัสดิการ และความผาสุกของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม แม้ระบบสัมปทานจะมีข้อด้อยต่อประเทศไทยมากกว่าระบบการจัดการแบบอื่นๆ แต่ระบบสัมปทานก็ยังสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพมาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งนี้เพราะกลุ่มผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายปิโตรเลียมของไทยเป็นกลุ่มผู้นำทางการเมือง การทหาร ข้าราชการชั้นสูง และนักวิชาการ เพียงไม่กี่ร้อยคนที่ได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์จำนวนมหาศาลจากการได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทในธุรกิจปิโตรเลียม กลุ่มผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายฯ เหล่านี้จึงมีท่าที่เป็นมิตร (Allies) หรือเห็นดีเห็นงามกับระบบสัมปทาน มากกว่าที่คัดค้านระบบสัมปทาน คำสำคัญ: อำนาจอธิปไตยถาวรเหนือทรัพยากรธรรมชาติ, ความมั่นคงทางพลังงาน, ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์, การขัดกันซึ่งผลประโยชน์ หรือ การขัดกันซึ่งบทบาทหน้าที่, ทุนนิยมแบบเล่นพวก, คณะกรรมการบริษัท  The objective of this research is to study public policy in the management of petroleum resources in Thailand. By conducting a comparative study between the concession system used in Thailand and the contractual system used in ASEAN countries. From the research found that providing petroleum concessions to the private sector causes the state to have limited sovereignty over its own resources. Thailand's recent petroleum policy aimed at meeting the interests of private companies and stakeholders in the policy making process more than meeting the interests of the country for energy security and society as a whole. Because resources when being brought up from under the earth Became a private monopoly rights to maximize profits for shareholders. While the ASEAN countries have switched to the contractual system which the government will still have complete ownership of the resources, therefore bring energy security in the traditional security dimension and in the non-traditional security dimension that gives importance to the welfare and well-being of humans. Although the concession system has disadvantages to Thailand than other systems, the concession system has remained stable to this day. This is because the elite, who has the power and duty to formulate the petroleum policy, is a group of political leaders, military, senior government officials and academics who have received a large share of the benefits from being appointed as a company director in the petroleum business. Groups of policymakers, therefore, have a friendly posture (Allies) or agree with the concession system more than opposed to the concession system.

References

กระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ. (2559). รายงานประจำปี 2558. วันที่ค้นข้อมูล 14 ธันวาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://dmf.go.th/public/list_upload/backend/list_5786/files_ 8434_1.pdf

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2521). วิจารณ์และแนะนำหนังสือ Theodore J. Lowi, Benjamin Ginsberg et al.Polisclde (New York: Macmillan Publishing Co., 1976). วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 18(4), 718 -721.

รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. (2546). กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง พ.ศ. 2475-2530. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

วีระศักดิ์ พึ่งรัศมี. (2554). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งสัมปทานปิโตรเลียม หลังสิ้นสุดสัมปทาน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

สถาพร เริงธรรม. (2549). วาทกรรมทางนโยบายกับการคอร์รัปชัน ศึกษากรณี การทุจริตในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2541 (Doctoral dissertation). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมบัติ พฤฒิพงศภัค. (2540). การนำระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing) มาใช้ในการให้สิทธิสำรวจและผลผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย (Master’s Degree). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Blau, P. M. (1964). Exchange and Power in Social Life. New York: Wiley.

Clapham, C. (Ed.). (1982). Clientelism and the State. In Private Patronage and Public Power: Political Clientelism in the Modern State (pp.7-8). London: Frances Pinter.

Dahl, R. A. (1961). Who Governs?: Democracy and Power in an American City. New Haven: Yale University Press.

Forbes. (2019). The World’s Largest Public Companies. Retrieved June 21, 2020, from https://www.forbes.com/global2000/list/#search:equi

Miliband, R. (1969). The State in Capitalist Society. London: Quartet Books.

Organization of the Petroleum Exporting Countries. (2016). OPEC Annual Statistical Bulletin 2016. Vienna, Austria. Retrieved June 25, 2020, from https://www.opec.org/opec_web/static_files_ project/media/downloads/publications/ASB2016.pdf

Raphael, S., & Stokes, D. (2013). US oil strategy in the Caspian Basin: Hegemony through interdependence. International Relations, 28(2), 183-206.

Scott, J. C. (1972). Patron-Client Politics and Political Change in Southeast Asia. The American Political Science Review, 66(1), 91-113.

Stares, P. B. (2000). Introduction and Overview, Rethinking Energy Security in East Asia. Tokyo: Japan Center for International Exchange.

Chotipanvittayakul, S., & Mantajit, J. (2011). Comparison of Petroleum Arrangement: Concession, Production Sharing Contract and Service Contract. Paper Presented at 4th Petroleum Forum: Approaching to the 21st Petroleum Concession Bidding Round, Chatuchak, Bangkok, 26-27 May 2011.

Wamsley, L. G., & Mayer, Z. N. (1973). The Political Economy of Public Organizations. Bloomington and London: Indiana University Press.

Mackenzie, W. (2009). South East Asia Upstream Service Country Overview. The World Factbook, Central Intelligence Agency. Retrieved June 21, 2020, from https://www.cia.gov/library/ publications/the-world-factbook/fields/269rank.html

Downloads

Published

2023-01-06