การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนา ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี
The Development of Public Participation in the Development Plan Process of Subdistrict Administration Organization at Pathum Thani Province
Keywords:
การพัฒนา, การมีส่วนร่วม, กระบวนการจัดทำแผน, Development, Public participation, Development plan processAbstract
การมีส่วนร่วมของประชาชนคือ เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เริ่มตั้งแต่การรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ การตัดสินใจ และตรวจสอบ เพื่อสร้างความโปร่งใสและเพิ่มคุณภาพในการตัดสินใจให้ดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับของทุกๆ ฝ่ายร่วมกัน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยแรงจูงใจ ที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้วิธีศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับประชาชน จำนวน 400 คน ด้วยการวิเคราะห์แบบสถิติพรรณนา ประกอบการสัมภาษณ์นายกองค์การบริหารส่วนตำบล, ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชน รวม 24 คน ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ความสำคัญสูงสุด ในประเด็นการดำเนินโครงการสำเร็จแล้วส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนปัจจัยที่ประชาชนให้ความสำคัญต่ำสุดคือ ด้านการประเมินผล ประชาชนเข้าใจว่า เป็นหน้าที่ของผู้บริหารและผู้นำชุมชน ส่วนปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน แยกเป็นปัจจัยภายใน ให้ความคิดเห็นสูงสุดคือ ด้านความสำเร็จในการเข้าไปมีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญการประชาสัมพันธ์ของการดำเนินงานโครงการฯ ให้ประชาชนได้รับรู้ รับทราบและเข้าใจ และประชาชนให้ความคิดเห็นต่ำสุดคือ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ อบต. รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ส่งผลถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่วนปัจจัยภายนอก ปัจจัยด้านความดึงดูดใจในสังคม ให้ความคิดเห็นสูงสุด อบต. จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการบริการและให้สวัสดิการช่วยเหลือทั่วถึง และปัจจัยด้านโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในงาน ให้ความคิดเห็นต่ำสุด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น เมื่อนำปัจจัยส่วนบุคคลมาเปรียบเทียบกับการมีส่วนร่วมพบว่า อายุ ศาสนา และการศึกษาต่างกัน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน ส่วนเพศ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการอาศัยอยู่ในท้องถิ่นต่างกัน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน ดังนั้น การประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้ประชาชนได้รับรู้ รับทราบตามช่องทางต่างๆ และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้โปร่งใส และนำข้อมูลไปปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น Public participation is allowing opportunities for local people to participate since awareness, thinking, making and joint public policy making, decision making, and auditing for create transparency, improve quality of decision making and general accepted all parties for the benefit of the people. The researcher therefore wants to study the level of public participation, motivation factors influencing public participation and compare participation based on personal factors. By using both quantitative and qualitative methods data were collected by a questionnaire with 400 people using descriptive analysis. Include 24 interview persons from Chief Executive of the SAO, Chief Administrator of the SAO and citizens. The research founded that. The highest level of public participation in the success of the project will lead to better quality of life for people. For the lowest level of public participation is evaluation cause from the understanding of people that this duty of management and community leaders For motivation factors influencing public participation consisted of internal & external factors. The highest comment were the success public participation focus on the public perception of public relation project. The lowest comment were responsible of Subdistrict Administration Organization from the impact of operations that effected to safety of life and property of people. For external factor, the highest comment were the social attractiveness. The SAO provided creative activities, service activities and welfare. The lowest comments were the given opportunity of public participation in operations to solve problems and local development. When compare between personal factors and participation founded that age, religion and education were different in opinions of participations. For gender, occupation, monthly income and different of living were not different in opinions of participations. Therefore, it recommended that public relations via various communication channels to access information for public hearing and bring to improve for local needs. public relations and operations were publicized. Acknowledged by various channels and can access information in order to allow the public to come in and express opinions transparently and use the information to improve and adapt to be in line with local needs.References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูง. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร
ทัดดาว บุญปาล. (2530). ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนในเขตพื้นที่ตำบลสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทัชเชษฐ์ นิยมสุข. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลในเขตปริมณฑลของกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ธรณินทร์ คุณแขวน. (2555). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านช่อระกา ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สนธยา เดชรัตนวิไชย. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบณัฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมยศ นาวีการ. (2546). ทฤษฎีองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า
สุนันทา เลาหนันทน์. (2531). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งพัฒนา.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2560). แผนพัฒนาประจำปี องค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. ม.ป.ท.
ศิริชัย เพชรรักษ์. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2(2).
ศักดิ์ชัย ดีละม้าย. (2558). ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแนวทางแก้ไข. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2). 35.
องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดปทุมธานี. (2557). แผนพัฒนาประจำปีองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. ปทุมธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดปทุมธานี.
Barnard, C. I. (1974). The Functions of the Executive (30thAnniversaryed). Cambridge, MA: Harvard University.
Bertrand, R. (1958). Understanding history and other essays. New York: Philosophical Library.
Berelson, B., & Gary, A. S. (1964). Human Behavior: Shorter Edition. New York: Harcourt, Brace & World.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design. New York: McGraw-Hall.
Reeder, W. W. (1974). Some Aspects of The Information Social Participation of Farm Families in New York State. New York: Unpublished Ph.D. Dissertation, Cornell University.
Likert, R. (1981). Management Styles and The Human Component in Leadership on the Job: Guides to Good Supervision. New York: AMACOM.
Herzberg, F. et al. (1959). The motivation to work. New York: McGraw-Hill Book.
Thompson, S. K. (1990). Adaptive Cluster Sampling. Boston, MA: The American Statistical Association.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rded.). New York: Harper and Row.