ความรู้ของประชาชนต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562
People Knowledge Towards Purchasing Health Products in Eastern Region in Thailand Year 2019
Keywords:
ความรู้ของประชาชน, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, ภาคตะวันออกในประเทศ, People knowledge, Health product, Eastern region of ThailandAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ของประชาชนต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 2) เพื่อศึกษาการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออก ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 3) เพื่อศึกษาความรู้ของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นประชาชนผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือประชาชนผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และการวิเคราะห์การถดถอยพหุและสหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีอาชีพนักศึกษา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน โดยรวมความรู้ของประชาชนต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการนำไปปรับใช้ ด้านความรู้ ด้านการประเมินผล ด้านการวิเคราะห์ ด้านความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด และด้านการสังเคราะห์โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพด้านการเรียนรู้ ด้านทัศนคติ ด้านบุคลิกภาพและด้านวัฒนธรรม ด้านการรับรู้ ด้านชนชั้นทางสังคม ด้านกลุ่มอ้างอิง ด้านการจูงใจ และด้านบทบาททางสังคม ความรู้ของประชาชนที่ส่งผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยรวม เรียงตามลำดับจากมีอิทธิพลมากไปหาน้อย ได้แก่ ความรู้ด้านการวิเคราะห์ ความรู้ด้านการสังเคราะห์ และความรู้ด้านการประเมินผล โดยความรู้ของประชาชนทั้ง 3 ด้านรวมกันสามารถทำนายการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยรวมได้ร้อยละ 14.90 การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้านอิทธิพลของปัจจัยความรู้ของประชาชน: ได้รับความรู้จากสื่อต่างๆ มีความคิดทางบวกในการวิเคราะห์ผลดีและผลเสียโดยดูจากผลลัพธ์ แต่บางคนมีความรู้ต่อผลิตภัณฑ์สุขภาพค่อนข้างน้อย การหาความรู้เพิ่มเติม โดยคำนึงถึงเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ และที่ขาดไม่ได้คือเรื่องของราคา การบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นคิดว่า เป็นแค่พวกอาหารเสริมสู้อาหารหลักไม่ได้ ด้านพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ: การเรียนรู้ข้อผิดพลาดและข้อดี หากดีก็จะมีการบริโภคต่อ ส่วนทัศนคติจะมีทิศทางไปในทางบวก เพราะการบริโภคทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมและต้องการมีบุคลิกภาพที่ดี การให้ความสนใจต่อความงามในสมัยนี้เป็นเรื่องธรรมดา หากลองบริโภคแล้วทำให้ดูดีเขาก็พร้อมที่จะบริโภคต่อ ด้านรูปแบบการตัดสินใจ: การตัดสินใจซื้อเน้นไปเรื่องของคุณภาพเป็นอันดับแรก เขาก็ยอมที่จะจ่าย คนยุคนี้ให้ความสนใจกับแฟชั่นมาก แม้จะมีการสิ้นเปลืองก็ตาม This research was the mixed studies between the qualitative and quantitative research methods. The objectives of this study were 1) to study on the people knowledge towards purchasing health product in the eastern region of Thailand in 2019; 2) to study on the purchasing health product in the eastern region of Thailand in 2019; 3) to study on the influence of people knowledge on purchasing health product in the eastern region of Thailand in 2019; and, 4) to study on the recommendations toward purchasing health product in the eastern region of Thailand in 2019. The research populations were people who consumed health products in the eastern region. Research samples were 400 of people who consumed health products in the eastern region. The questionnaire was used for data collection. Data analysis was done via frequency, percentage, Arithmetic mean, and multiple regression and correlation analysis. It was found from the results of the study that most of the samples were female aged below 25 years old. Most of them were single and being the students or graduated from Bachelor degree with the income that lesser than 10,000 baht per month. Overall, people knowledge towards purchasing health product was at the highest level, ranking from the highest scores to the least scores as follows: the aspects of adapting to use, knowledge, assessment, analysis, understanding or concepts, and synthesis. Overall, the sample group had the level of purchasing health product ranking from the highest scores to the least scores such as on the aspects of purchasing health product, learning, attitude, personality and culture, perception, social class, reference group, motivation and social role. People knowledge that influenced on purchasing health product ranked from the high to low were on the knowledge of analysis, knowledge of synthesis, and knowledge of assessment. People knowledge from all three aspects in combination could predict the overall purchasing health product at 14.90 percent. Qualitative research Influence of People's Knowledge Factors: Obtaining knowledge from various media have a positive mindset in analyzing the good and the bad based on results. But some people have little knowledge of health products. Finding additional knowledge taking into account on quality, performance, do not consider a matter of price. Consuming health products is thought that It's just a supplement, can't fight with the staple food. Buying Behavior of Health Products: Learning the mistakes and pros is good for them, it will continue to be consumed. Attitude is directed in a positive direction. Because consumption makes it better and wants to have a good personality. Paying attention to beauty is now considered to be fashionable. If you try to consume it and make it look good, then is ready to consume. Style of decision making: Buying decisions focus on quality first, then agreed to pay. People nowadays pay a lot of attention to fashion, despite being wasteful.References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสาร.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bloom, B. S. (ed). (1985). Developing Talent in Young People. New York: Ballantine Books
Solomon, M. (2009). Consumer behavior: Buying, having, and being (8th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.
Sproles, G. B., & Kendall, E. L. (1986). A methodology for profiling consumers’ decisionmaking styles. Journal of Consumer Affairs, 20(2), 267-279.