บทบาททางเมืองของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต

Political Role of Councilor of Bangkok and District Councilor

Authors

  • ปณิธิ อ้นสุวรรณ

Keywords:

การเมือง, บทบาท, สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร, สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร, Politics, Role, Councilor of Bangkok, District councilor

Abstract

การวิจัยเรื่อง “บทบาททางเมืองของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต และเพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิก สภาเขต เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเลือกด้วยวิธีแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารที่กำหนดนโยบาย และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง กลุ่มที่ 2 นักการเมืองท้องถิ่น (สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต) กลุ่มที่ 3 คือ ชุมชน รวมทั้งสิ้น 33 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาททางการเมืองของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต พบว่า การแสดงบทบาทของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต ซึ่งเป็นนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เป็นการแสดงบทบาททั้งในส่วนที่เป็นไปตามกฎหมายกำหนด และในส่วนที่กฎหมายไม่ได้กำหนด โดยในส่วนที่เป็นไปตามกฎหมายกำหนดสำหรับสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เป็นบทบาทตามอำนาจหน้าที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีระบบการถ่วงดุลซึ่งกันและกันกับฝ่ายบริหาร ส่วนสมาชิกสภาเขตไม่สามารถแสดงบทบาทตามหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อจำกัดที่กฎหมายกำหนด ทั้งที่สมาชิกสภาเขตก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเช่นกัน และยังมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่าสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือผู้อำนวยการเขต ส่วนบทบาทที่กฎหมายไม่ได้กำหนดนั้น สมาชิกสภากรุงเทพมหานครสามารถแสดงบทบาทได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยร่วมกับฝ่ายบริหารแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชนเป็นบทบาทสำคัญ ผ่านเครื่องมือทางนิติบัญญัติ เช่น การอภิปราย การตั้งกระทู้ หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ส่วนการแสดงบทบาทที่กฎหมายไม่ได้กำหนดของสมาชิกสภาเขตเป็นเพียง การติดตามความคืบหน้าการบริหารของผู้อำนวยการเขต รับและติดตาม ความคืบหน้าเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบและนอกพื้นที่ การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และการประสานการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่ที่รับผิดชอบ 2. ปัญหาและอุปสรรคบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต มีลักษณะปัญหาและอุปสรรคที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ อิทธิพลพรรคการเมือง อิทธิพลกลุ่มผลประโยชน์ ความสัมพันธ์กับข้าราชการกรุงเทพมหานคร ความสัมพันธ์กับชุมชน บุคลิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต 3. แนวทางในการส่งเสริมบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิก สภาเขต เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ ที่เป็นไปตามกฎหมาย และที่กฎหมายไม่ได้กำหนด โดยบทบาททางการเมืองที่เป็นไปตามกฎหมายสำหรับสมาชิกสภากรุงเทพมหานครควรเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริม คือ ความรู้ ความเข้าใจด้านกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งที่เคยมีและประกาศใช้ใหม่ รวมทั้งกรณีศึกษาต่างๆ เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีความรอบคอบในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สาธารณะ สมกับเป็นตัวแทนของประชาชนในการตรวจสอบการบริหาร และทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะอย่างเต็มที่ ส่วนบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภาเขตควรแก้ไขเพิ่มเติมเพิ่มอำนาจให้สภาเขตกรุงเทพมหานครโดยให้มีอำนาจเห็นชอบในกรณีที่เขตจะเบิกงบกลางในเหตุจำเป็นเร่งด่วนเหมือนเป็นสภาย่อย เพราะเป็นตัวแทนประชาชนที่มาจากการเลือกตั้ง และทำงานใกล้ชิดกับประชาชน ส่วนบทบาททางการเมืองที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสำหรับสมาชิกสภากรุงเทพมหานครควรให้ความเอาใจใส่ในการลงพื้นที่และเข้าร่วมประชุมหรือร่วมกิจกรรมกับสำนักงานเขตและชุมชนให้มากขึ้น ส่วนสมาชิกสภาเขตซึ่งเป็นคนในพื้นที่ที่ทราบปัญหาและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ทำให้สามารถมองภาพรวมของการพัฒนาได้ สำนักงานเขตจึงควรให้ความสำคัญในการเข้ามามีส่วนในการพัฒนาพื้นที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้อำนวยการเขต และสมาชิกสภาเขต นอกจากนี้ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตควรจะมีนโยบาย และทิศทางในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรหรือประโยชน์สาธารณะมากขึ้น  This dissertation is the research on the political role of Councilor of Bangkok and District Councilor. The research aimed to a) study the political role of Councilor of Bangkok and District Councilor b) to study the problems and obstacles of such political role and c) to recommend the potential guidelines for encouraging political role of Councilor of Bangkok and District Councilor for public utility by using qualitative research. Sampling groups were selected by purposive sampling, which are divided into 3 groups; (1) chief executive officer and relevant government officials, (2) local government officials (Councilor of Bangkok and District Councilor) and (3) community. The total participants are 33 persons. Semi-structure interview was utilized for data collection. The results of the present research were as follows: 1. The political role of Councilor of Bangkok and District Councilor coming from politicians directly elected by people was similar. As such, it was the role playing that would or would not be in accordance with the law. In the aspect of role playing according to the law, Councilors of Bangkok could perform their roles effectively because there was a system of check and balance within its managerial functions. Considering District Councilor, although District Councilor was directly elected from people and closely tight with people more than Councilor of Bangkok or District Director, District Councilor could not perform their role effectively due to the law restrictions. With regard to the role playing that would not be in accordance with the law, Councilor of Bangkok played the roles effectively. As such, Councilor of Bangkok cooperates with the administrative agencies to alleviate people suffering as a significant role via utilizing the number of legislative tools such as discussion, stipulating post or fiscal year budget legislation. While, the role playing, which was not in accordance with the law, of the District Councilor was to track the progress in management of director, to receive and track the progress of people petition within and beyond their areas of responsibilities, to attend social activities, and to coordinate budget allocation for developing the area under their responsibilities 2. Problems and obstacles in politics role of the Councilor of Bangkok and the District Councilor for public utility were similar. For example, the influence of political party, the influence of interest group, the relationship with Bangkok government official, the relationship with communities, and the personality of Councilor of Bangkok and District Councilor. 3. The guidelines for encouraging the politics role of Councilor of Bangkok and District Councilor for public utility. The guidelines were divided into 2 aspects, which were 1) role playing that was in accordance with the law and 2) role playing that was not in accordance with the law. Regarding the role playing according to the law, Councilor of Bangkok should be enhanced knowledge and understanding about the laws and relevant rules that had been used or newly promulgated, as well as case studies in order to make them more knowledgeable, competent and prudent in decision making for public utility. This in turn makes them to become the pertinent representative of general public in verifying administration and performing duty on legislation for the utmost benefits of public utility. Whereas, the role playing of District Councilor should be amended by increasing Councilor of Bangkok’ power of approval in case that the districts needed to withdraw central budget in the case of necessities and emergencies just like the small council. This was because Councilor of Bangkok was the representative of people coming from an election and worked closely tight with people. Considering the role playing that was in accordance with the law, Councilor of Bangkok should pay more attention on going into the area and attending the meeting or activities with districts and communities. With regard to District Councilor; the local people who were well understand people’s problems and livelihoods in that local area and therefore clearly seeing the whole picture of development, District offices should give importance on taking part in developing areas for the public utility. Therefore, it was critical to foster a relationship between the district director and the member of city councils. Moreover, Councilor of Bangkok and District Councilor should set the policy and work towards the same goal and direction, leading to the great contributions for people and the utmost benefits for public utility.

References

งามพิศ สัตย์สงวน. (2532). หลักมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550. (2550). วันที่ค้นข้อมูล 17 กันยายน 2559, เข้าถึงได้จาก http://www.bangkok.go.th/th/page

โภคิน พลกุล. (2528). หลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการ. รัฐสภาสาร, 33(8), 1-23.

สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. (2542). จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร.

สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. (2548). รายงานประจำปี. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร.

อุไร อนันตสิน. (2559). บทบาทของสภากรุงเทพมหานครในการตรวจสอบการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(24), 74-86.

Allport, G. W. (1964). Pattern and growth in personality. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Berg, B. L. (2001). Qualitative Research Method for The Social Science. Needham Heights, MA: A Pearson Education Company.

Berkowitz, L. (1972). Social Psychology. lllinois: Scott Foresma.

Kluckhohn, R. (1962). Culture and behavior. New York: Free Press.

Manor, J. (1999). The political economy of democratic decentralization. Washington, D.C.: World Bank.

Mead, G. H. (1977). On social psychology. Chicago: University of Chicago Press.

Mintzberg, H. (1983). Power in and around organizations. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Nie, N. H., & Verba, S. (1975). Political Participation: in Handbook of Political Science. Massachusetts: Addison Wesley.

Patton, M. Q. (1990). Qualitative evaluation and research methods (2nd ed.). Newbury Park, CA: Sage.

Rosenbaum, W. A. (1975). Slaying beautiful hypotheses with ugly facts: the EPA and public participation. Paper presented at the annual meeting of the American Society for Public Administration. Chicago, LLL., April 2-5.

Shafritz, J. M., & Ott, J. S. (2005). Classic of Organization Theory (6th ed.). Belmont, CA: Thomson/ Wadsworth.

Verba, S. (1965). Political culture and political development. Princeton, N. J.: Princeton University Press.

Downloads

Published

2023-01-09