การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ และความต้องการในการท่องเที่ยวต่อในจังหวัดจันทบุรี
An Opinion Survey Concerning The Annual Worship Festival of The Khao Khitchakut Buddha’s Footprint and Need Assessment on Continuing Tourism in Chanthaburi Province
Keywords:
ความคิดเห็น, ความต้องการ, การท่องเที่ยว, รอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ, Opinion, Needs, Tourism, Buddha’s FootprintAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏและความต้องการในการท่องเที่ยวต่อในจังหวัดจันทบุรี การวิจัยจะใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า ผู้มาร่วมงานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏจังหวัดจันทบุรี ค่อนข้างเห็นด้วยว่าการเป็นเจ้าภาพในการจัดงานจะเป็นใครก็ได้หรือเป็นเจ้าภาพร่วมกันก็ได้ เช่น วัดกะทิง เจ้าคณะจังหวัดหรือแม้แต่ คสช. ส่วนการสำรวจด้านการท่องเที่ยวต่อในจังหวัดจันทบุรีหลังงานนมัสการฯนั้น โดยภาพรวมมีความต้องการค่อนข้างมาก และเมื่อพิจารณาจัดลำดับสถานที่ที่มีความต้องการดังกล่าว เราสามารถระบุ 3 ลำดับแรกตามลำดับคือ ทะเล น้ำตก ทัศนียภาพและบรรยากาศ ส่วนความต้องการสินค้าท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรีโดยภาพรวม พบว่า มีความต้องการค่อนข้างมาก โดยสามารถระบุ 3 ลำดับแรกคือ ผลไม้ท้องถิ่น อาหารทะเล และขนมท้องถิ่น The purpose of this research were to study opinion concerning the annual worship festival of The Khao Khitchakut buddha’s footprint and need assessment on continuing tourism in Chanthaburi province. The research used mixed method between survey research and in-depth interviews. The results found that people fairly agreed with host of the festival either any involved organization or the co-host e.g. Wat krating, provincial Clergy, NCPO etc. Morever, people fairly need continuing tourism in Chanthaburi province after the festival by focusing on the top three tourist attractions were as follows: sea, waterfall and local scenery. Finally, people fairly need tourist commodities by focusing the top three ones were as follows; local fruit, seafood and local dessert.References
กรมอุทยานแห่งชาติ. (2552). สถิตินักท่องเที่ยวชาวไทย. วันที่ค้นข้อมูล 10 กุมภาพันธ์ 2558, เข้าถึงได้จาก http://park.dnp.go.th/visitor/indexlink.php
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2554). ข้อตกลงของโครงการส่งเสริมให้วัดหรือสำนักสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้. จันทบุรี: จันทบุรีการพิมพ์.
ขวัญศิริ เจริญทรัพย์. (2559). ยุทธศาสตร์การบูรณาการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อผลิตซ้ำเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี. (2557, 17 ตุลาคม). คำสั่งเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี ที่ 30/2557. เรื่อง ปลดพระครูวิโรจน์ธรรมานุกูล ออกจากเจ้าอาวาสวัดกะทิง.
เจ้าคณะตำบลพลวง. (2557, 17 ตุลาคม). คำสั่งเจ้าคณะตำบลพลวง ที่ 1/2557. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดกะทิง.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และคณะ. (2558). พฤติกรรม ความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนา: กรณีศึกษางานนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พระครูสุจิตกิตติวัฒน์. (2559, 2 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
พระปลัดพร้อม ถาวโร. (2559, 14 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
พระมหาหงส์สา สีลสุทโธ. (2558, 30 เมษายน). สัมภาษณ์.
พิษณุ นครเทศ. (2559, 12 มิถุนายน). สัมภาษณ์.
เลื่อม ทองคำ. (2558, 29 มีนาคม). สัมภาษณ์.
วิทูรัช ศรีนาม. (2561, 21 สิงหาคม). สัมภาษณ์.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3thed.). New York: Harper and Row Publication.