ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ของ นักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในภาคตะวันออก: ศึกษากรณี การใช้เฟสบุ๊ค

Factors Affecting Social Media Addiction Behaviors of Undergraduate Student in the Eastern Region: A Case Study of Using Facebook

Authors

  • รัสรินทร์ ว่องสวัสดิ์
  • ธีระ กุลสวัสดิ์

Keywords:

สื่อสังคมออนไลน์, มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก, เฟสบุ๊ค, Social media, Undergraduate student in the eastern region, Facebook

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเสพติดการใช้เฟสบุ๊ค ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเสพติดการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในภาคตะวันออก และพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยภาคตะวันออก ปีการศึกษา 2560 จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคตะวันออก วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ ความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเปรียบเทียบโมเดล โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยหลักปรากฏว่า ระดับพฤติกรรมการเสพติดการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีใน ภาคตะวันออก ในภาพรวมอยู่ในระดับเสพติดการใช้งานโมเดลเชิงสาเหตุการใช้เฟสบุ๊ค ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการรู้สึกง่ายต่อการใช้เฟสบุ๊ค การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ถึงพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค การรับรู้ว่าเฟสบุ๊คมีประโยชน์ เจตคติต่อการใช้เฟสบุ๊ค และความตั้งใจในการใช้เฟสบุ๊ค เป็นสาเหตุทางตรงของการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคตะวันออก ส่วนสาเหตุทางอ้อมได้แก่ เจตคติต่อการใช้เฟสบุ๊ค ความตั้งใจในการใช้เฟสบุ๊ค และพฤติกรรมเสพติดการใช้เฟสบุ๊คโมเดลที่พัฒนาขึ้นมี ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (X2/df เท่ากับ 2.97 ค่า GFI เท่ากับ .93 และ ค่า CFI เท่ากับ .97) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคตะวันออก ได้ร้อยละ 52  The purposes of this study were 1) to measure Facebook addiction level of undergraduate students in universities in the eastern region of Thailand, 2) to explore the factors affecting Facebook addiction behavior of the undergraduate students, and 3) to propose a Facebook-usage causal relationship model. The samples derived from simple random sampling were 400 undergraduate students in universities located in the eastern region of Thailand in academic year 2017. Data collection instrument was questionnaire. The data was analyzed using SPSS to see the correspondence between the proposed model and the empirical data, and the confirmatory analysis of the model was conducted using LISREL. The results were as follows. The overall level of Facebook addiction behavior of the undergraduate students was in level of common user. In the proposed Facebook Usage Model (FUM), the direct causes of Facebook usage were ease of Facebook usage, subjective norm, perceived Facebook usage behavior, perceived benefits of Facebook, attitude toward Facebook usage, and intention to use Facebook and the indirect causes of Facebook usage were attitude toward Facebook usage, intention to use Facebook, and Facebook addiction behavior. The proposed model was correspondent with the empirical data in acceptable level (X2/df = 2.97, GFI = .93, and CFI = .97). The variables in the model could explain the variance of Facebook usage of the studied students by 52%.

References

ชาญวิทย์ พรนภดล และเอษรา วสุพันธ์รจิต. (2556). การเสพติดอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.

ดาวนภา เนาวรังษี. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์เฟสบุ๊คของนิสิตนักศึกษา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นุชรีรัตน์ ขวัญคำ. (2550). รูปแบบการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร: ศึกษาลักษณะทางประชากรที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตและพฤติกรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อตอบสนองความต้องการรวมถึงศึกษารูปแบบการใช้สื่อของกลุ่มวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานิเทศศาสตรสารสนเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปิยะ แซ่จัง, นายแพทย์. (2556). โรคเสพติดเฟสบุ๊ค Facebook Addition Disorder. วันที่ค้นข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/518999

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

Ajzen, I. (2006). Theory of planned Behavior Diagram. Retrieved February 4, 2018, from http://people.umass.edu/aizen/tpb.diag.html

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Davis. (1986). A Technology Acceptance Model for empirically testing new end user information system: theory and results. (Doctoral Dissertation), Sloan School of Management, Massachusetts Institute of Technology.

Wearesocial. (2561). สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก “ไทย” เสพติดเน็ตมากสุดในโลก-“กรุงเทพ” เมืองผู้ใช้ Facebook สูงสุด. วันที่ค้นข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/02/global-and-thailand-digital-report-2018/

Downloads

Published

2023-01-09