การควบคุมและการตรวจสอบภายในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ ของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก

Internal Control and Audit of Procurement Process and Public Supplies Management in the Eastern Universities Network System

Authors

  • นลินี จรรยาวัฒนานนท์
  • บรรพต วิรุณราช
  • กชพร นรมาตย์

Keywords:

การควบคุมภายใน, การตรวจสอบภายใน, การจัดซื้อจัดจ้าง, Internal control, Internal audit, Government procurement

Abstract

วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาการประเมินความเสี่ยงของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐสำหรับหน่วยตรวจสอบภายใน และกำหนดรูปแบบการตรวจสอบและ การควบคุมสำหรับผู้ตรวจสอบภายในโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ตามนโยบายของรัฐ Thailand 4.0 เป็นการวิจัยแบบประสานวิธี (Mixed Method Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ผลการวิจัยพบว่า ยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการควบคุมและการตรวจสอบ เป็นการเรียกรายงานจากระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานเอง เช่น ระบบสามมิติ ระบบ MIS หรือจากระบบ e-GP เพื่อใช้ควบคู่กับการตรวจเอกสาร ผู้วิจัยจึงพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้หน่วยตรวจสอบภายในนำไปใช้ โดยนำหลักการ COSO มาประยุกต์ตามนโยบายของรัฐบาล “Thailand 4.0” สำหรับการตรวจสอบภายในจะมุ่งเน้นให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นการตรวจสอบด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Auditing) และการตรวจสอบการปฏิบัติงาน (Operational Auditing) เพื่อให้ถูกต้อง และปฏิบัติตามกฎระเบียบ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ จะพิจารณาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อส่วนงาน/ คณะของมหาวิทยาลัยได้โดยตรง  The principal objectives of this research were to conduct a risk assessment of the public procurement process and public supplies management for internal auditing units in the Eastern Universities Network System and to create a framework for control and auditing by internal auditors using information technology in compliance with the national policy Thailand 4.0. This qualitative research employed mixed methods, which included in-depth-interviews, focus group, and action research. The study revealed that no information technology was used in the control and auditing in the Eastern Universities Network. Instead, reports from individual university’ procurement system, three-dimensional, MIS or e-GP were used together with document consulting. The researchers, therefore, developed an information system for the internal auditing units using the COSO principle to comply with the national policy Thailand 4.0. The focus of internal auditing was on confidence and consultation, thus prioritizing compliance and operational auditing. This technology development took in mind direct possible risks to units, faculties, and universities.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการจัดวางระบบการควบคุมภายในและประเมินผล. กรุงเทพฯ: กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กำชัย จงจักรพันธ์. (2546). มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบวกหรือลบ กับอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้ากรุ๊ป.

กชกร อนุสรณ์พานิช และศรัณย์ ธิติลักษณ์. (2563). ความเสี่ยงในการคอร์รัปชันสหกรณ์รัฐวิสาหกิจไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(1), 154-166.

กรมบัญชีกลาง. (2548). แนวปฏิบัติการตรวจสอบภายในภาคราชการ การตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาคราชการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

กรมบัญชีกลาง. (2557). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมบัญชีกลาง พ.ศ. 2557-2561. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมบัญชีกลาง.

กรมบัญชีกลาง. (2561). มาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง.

จิณณภักดิ์ ศรีศิลารักษ์. (2563). แนวทางการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน: กรณีการจัดซื้อจัดจ้างของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. Journal of Professional Routine to Research Volume. 7(2), 1-11.

จิรากร ยิ่งไพบูลย์วงศ์. (2560). การประเมินองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชัน. รายงานทีดีอาร์ไอ, 127, 1-16.

เจริญ เจษฎาวัลย์. (2546). การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน (Internal auditing and internal control). กรุงเทพฯ: พอดี.

ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. (2559). คอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ. วารสารกฤษฏีกาสาร, 12(2), 20-25.

ปิยาภิศักดิ์ เจียรสุคนธ์. (2561). ปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อการทุจริต และการสร้างแบบประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษาจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบัญชี, คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มณเฑียร เจริญผล. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง ข้อพึงระมัดระวังเกี่ยวกับการเงิน การคลัง และการพัสดุ. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก http://www1.si.mahidol.ac.th/division/Assets/ images/siriraj.pdf

ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย, (2551). การจัดการความรู้เพื่อสร้างธรรมาภิบาลที่ดีในการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ. ทุนวิจัยวุฒิเมธีวิจัย สกว., สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ, คณะพาณิชยศาสตร์และบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุปราณี จงธรรมรัตน์. (2558). จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ. วารสารกรมบัญชีกลาง, 56(3), 38-44.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2544). มาตรฐานการควบคุมภายใน. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.moj.go.th/attachments/20170518153606_00994.pdf

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. (2560). คู่มือการบริหารความเสี่ยง กองทุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน.

อนุชา อชิรเสนา. (2561). หลักการพื้นฐานที่สำคัญสำหรับกระบวนการงบประมาณภาครัฐ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 10(2), 157-182.

อัญชลี ศรีอำไพ. (2557). จุลสารตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง.

Anabela dos, R. F., Susana, J., & Caio, N. (2020). The role of internal auditing in promoting accountability in Higher Education Institutions. Revista de Administracao Pblica, 54(2), 243-265.

Downloads

Published

2023-01-23