การจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย

The Management of Foreign Workers in Fishery Sector of Thailand

Authors

  • วีระชาติ แสงทวี
  • สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
  • อนุรัตน์ อนันทนาธร

Keywords:

การจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมง, นโยบายแรงงานต่างด้าว, แรงงานต่างด้าวภาคการประมง, Management of foreign workers in the fisheries sector, Foreign workers policy, Foreign workers in the fisheries sector

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายภาครัฐในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของการนำนโยบายภาครัฐไปใช้ในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย และเพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย รูปแบบการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการได้มาของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1. การศึกษาข้อมูลเอกสาร (Document Research) และ 2. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ ทั้งที่เป็นผู้ควบคุมนโยบายหรือมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการประมงทางทะเลต่างๆ และผู้ที่ปฏิบัติงานจริงของภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการประมง แรงงานต่างด้าวภาคการประมงเอง ตลอดจนผู้นำชุมชนและประชาชนที่อยู่ในเขตชุมชนของชาวประมงอาศัยอยู่ จำนวน 34 ราย ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1. กฎหมายหลักที่ใช้สำหรับการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคประมงนั้นมี 7 ฉบับหลักได้แก่ พรก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560, พรบ. คุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562, พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541, พรก. การประมง พ.ศ. 2558, พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522, พรบ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551, และ พรบ. การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562 รวมถึงคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม 2. ปัญหาและข้อจำกัดของการนำนโยบายภาครัฐไปใช้ในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย พบว่า 1) ด้านนโยบาย ยังขาดการวางแผนนโยบายระยะยาว และความต่อเนื่องในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคประมง 2) ด้านกฎระเบียบ/กฎหมาย ยังมีความเหลื่อมล้ำของการปรับใช้กฎหมาย ไม่มีความชัดเจน มีความซ้ำซ้อน และความไม่ยึดหยุ่นของตัวกฎหมาย รวมถึงการออกกฎหมายไม่มีกระบวนการศึกษาถึงผลกระทบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างละเอียดถี่ถ้วน 3) ด้านการบริหารจัดการ,การดำเนินการ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวกิจการประมงทะเลอยู่ในความรับผิดชอบหลายหน่วยงาน มีความซ้ำซ้อน ขาดการบูรณาการข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน 4) ด้านทรัพยากรทางการบริหารความขาดแคลนทรัพยากรทางด้านการบริหาร ทั้งบุคลากรที่มีไม่เพียงพอ ขาดทักษะทางด้านการสื่อสารภาษากับแรงงานต่างด้าว ขาดเครื่องมือ ระบบตรวจสอบและอุปกรณ์ต่างๆ และ 5) ด้านปัจจัยภายนอก พบว่า จำนวนแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในภาคประมงเป็นจำนวนมากยากต่อการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐ และ 3. แนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย นั้น ภาครัฐควรมีการกำหนดนโยบายในระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับการจัดการในภาคประมงโดยเฉพาะ ลดจำนวนการใช้แรงงานต่างด้าวโดยหันมามุ่งพัฒนาให้ธุรกิจภาคประมงสร้างแรงจูงใจแก่แรงงานชาวไทยมีความต้องการทำงานในภาคประมง รวมทั้งเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ เร่งรัด ผลักดันให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบทะเบียนให้ได้ทั้งหมด โดยการยกเว้นโทษทางกฎหมายในความผิดเดิมของแรงงานต่างด้าว และมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแก่แรงงานต่างด้าวภาคประมงให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี  The objective of this research is to study and analyze the situation of foreign workers in the fisheries sector of Thailand. To study the problems and limitations of the implementation of government policies in managing foreign workers in the fisheries sector of Thailand. And to propose ways to improve the efficiency of alien labor management in the fisheries sector of Thailand The study model uses Qualitative Research by obtaining important informants, namely 1. Document Research and 2. In-depth interviews. Important informants are regional personnel. state Both the policy controller or urgent measures related to the marine fishery industry and the actual work of government, private sector, fishery industry operators Foreign migrant fisheries as well as 34 community leaders and people living in the fishery community. The results of the research are as follows: 1. Situation of foreign workers problems in the fishery sector of Thailand It is found that the number of foreign workers in the fishery sector of Thailand was 41,231 people, still there is a shortage of 30,000 - 40,000 workers. Information on illegal labor Between the years 2016 - 2019, the number of illegal fishing cases Both the labor and fishery cases in the amount of 5,135 cases, which has an impact on international confidence, which may cause sanctions in the purchase of fisheries from Thailand. 2. Problems and limitations of the implementation of government policies in managing migrant fisheries in Thailand found that 1) the lack of long-term policy planning and continuity in the management of foreign workers in the fishery sector. 2) Regulations / laws There is still an inequality of law enforcement. Unclear with redundancy And the lack of flexibility of the law Including legislation, there is no thorough study of the effects on the stakeholders. 3) Regarding the procedures, management of foreign workers, the fishery industry is under the responsibility of many departments. With redundancy Lack of integration of linked information 4) administrative resources Lack of administrative resources Both personnel are not enough. Lack of language communication skills with foreign workers Lack of tools and 5) external factors: it is found that a large number of foreign workersers working in the fishery sector are difficult to verify by government agencies. And 3. Guidelines for improving the efficiency of the management of foreign workers in the fishery sector of Thailand, the government should have long-term policies related to management in the fisheries sector. Reducing the number of foreign workers by focusing on the development of the fishing industry to motivate Thai workers to want to work in the fishery sector. As well as emphasizing the use of innovation and technology to expedite the push for foreign workers to enter the registration system completely by refraining from legal penalties for former offenses by foreign workers and aims to improve the quality of life for foreign workers in the fisheries sector to have a better life.

References

กิจฐเชต ไกรวาส. (2557). สภาพปัญหาด้านการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยและแนวทางแก้ไข. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(1), 40-53.

นฤทธิ์ ฤทธิ์คำรพ. (2561). การพัฒนานโยบายและมาตรการคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวในภาคประมงทะเล. สาขาวิชาการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์. (2555). การจัดทำยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม: รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2551). การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ว้อยทีวีออนไลน์. (2561). ประมงโวย ขาดแรงงานกว่า 40,000 อัตรา จี้รัฐแก้ปัญหา. วันที่ค้นข้อมูล 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.voicetv.co.th/read/H1am-ntVm

ศิวิไล ชยางกูร. (2555). แรงงานข้ามชาติกับความต้องการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวรรค์นิมิต เตชาวงศ์. (2562). การจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฏหมาย, 11(2), 293-310.

สุทธิพร บุญมาก. (2555). การจัดการแรงงานข้ามชาติ: กรณีศึกษานโยบายของประเทศไทยและมาเลเซีย. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 25(1), 1-13.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2559). วารสารสถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักรประจำปี 2558. วันที่ค้นข้อมูล 5 มกราคม พ.ศ. 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/cea979ea00fbb2f2ad2b6d5e 53d5dde8.pdf

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2563). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือน มกราคม 2563. วันที่ค้นข้อมูล 23 เมษายน พ.ศ. 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.doe.go.th/prd/alien/statistic/param/site/152/cat/82/sub/0/pull/ category/view/list-label.

อดิเรก ฟั่นเขียว. (2559). การวิเคราะห์มาตรการป้องกัน บรรเทาและแก้ไขผลกระทบ จากปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิจัยและพัฒนา, 11(พิเศษ), 75-83.

อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2560). ภาวะความเครียดและการจัดการความเครียดของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธร ภาค 2. วารสารการเมือง การบริหาร และกฏหมาย, 9(3), 137-171.

Downloads

Published

2023-01-23