มาตรการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองกับโทษอาญา ผ่านมุมมองของ ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

The Deprivation of Political Rights and Criminal Punishment Through the Perspective of the European Court of Human Rights

Authors

  • ฌนุรัก ศิวะกุล

Keywords:

มาตรการเพิกถอนสิทธิทางการเมือง, ตัดสิทธิเลือกตั้ง, โทษอาญา, ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป, Deprivation of political rights, Disqualified the right to be elected, Criminal Penalty, The constitutional court, The European court of human rights

Abstract

มาตรการเพิกถอนสิทธิทางการเมือง โดยเฉพาะการตัดสิทธิเลือกตั้ง และตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นมาตรการที่ยังไม่มีสถานะของมาตรการชัดเจน ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความเห็นแตกต่างกันว่าเป็นอาญาหรือไม่ จนเกิดปัญหาการบังคับใช้มาตรการนี้ย้อนหลังโดยศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องด้วยมาตรการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเหล่านี้มีผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการลิดรอนสิทธิและอำนาจของประชาชนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงสำคัญที่จะพิจารณาว่ามาตรการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองมีลักษณะเป็นโทษอาญาหรือไม่ และควรถูกกำหนดสถานะและใช้หลักในการบังคับใช้เช่นไร โดยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป นับเป็นศาลที่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับสถานะของมาตรการในหลายคดี โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิของมนุษยชน ได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับมาตรการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองที่น่าสนใจ ทั้งยังมีหลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้พิจารณาถึงสถานะของมาตรการ ซึ่งอาจนำเป็นแนวทางปรับใช้กับการกำหนดสถานะมาตรการต่างๆ ในประเทศไทยได้ จากการศึกษาพบว่า ตามหลักการของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป พบว่าลักษณะสำคัญที่ศาลใช้ในการพิจารณาสถานะของมาตรการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ในการบังคับใช้ ลักษณะการประณาม ลักษณะการ แก้แค้นทดแทน และความรุนแรงของมาตรการ ที่มาของมาตรการ และสภาพการบังคับใช้ เมื่อนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาพิจารณากับมาตรการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองแล้วนั้นพบว่า ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้พิจารณาสถานะของมาตรการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองแตกต่างกันไปในแต่ละคดี แต่ละบริบท ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า การพิจารณาคดีของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปในแต่ละคดียังมีข้อผิดพลาด ที่ไม่มีหลักเกณฑ์ที่เหมือนกันในแต่ละคดี ดังนั้นผู้เขียนมีแนวเห็นว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำหนด ให้ชัดเจนว่าปัจจัยใดบ้างที่ควรนำมาพิจารณาเป็นลำดับแรกในการพิจารณาสถานะของมาตรการ เปรียบเสมือนเป็นยี่ต๊อกที่ใช้กำหนดแนวทางในการพิจารณา หากสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นลำดับแรกมิอาจให้คำตอบได้อย่างชัดเจน จึงพิจารณาในปัจจัยอื่นต่อไป มิเช่นนั้นแล้วการพิจารณาถึงสถานะของมาตรการก็จะเป็นไปตามบริบทแต่ละคดี มากจนเกินไป ผู้เขียนเห็นว่าวัตถุประสงค์ของมาตรการ ลักษณะแก้แค้นทดแทน ลักษณะประณาม และความรุนแรงของมาตรการ คือปัจจัยกลุ่มแรกที่แสดงออกถึงความเป็นโทษอาญา และมาตรการเพิกถอนสิทธิทางการเมือง โดยเฉพาะการตัดสิทธิเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้ง ล้วนมีลักษณะของโทษอาญา ดังนั้น การบังคับใช้มาตรการเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องบังคับใช้ตามหลักประกันการบังคับใช้กฎหมายอาญา  The deprivation of Political Rights measure, especially deprivation of the right to vote and to stand as a candidate at election measure is a measure that does not have a clear status yet which is a problem that has been debated whether it is a criminal law or not since there is an issue of retrospective enforcement by the Constitutional Court. These measures create a huge impact on people because they deprive rights and power of people under Democratic regime. Therefore, it is important whether the deprivation of Political Rights measure is a criminal offense and should be determined a status to set the regulation or not. European Court of Human Rights has been considered as a court that has rule status of the measures based on Human Rights Protection in many cases and release many noticeable rulings and criteria to be used to consider status of the measures which can be apply to determine status of plenty measures in Thailand. From the study, according to the European Court of Human Rights, the main factors that the court uses to consider status of the measures are enforcement purpose, condemnation, retribution, severity of measures, sources of measures and enforcement conditions. To consider the status of the deprivation of Political Rights measure together with these criteria, it shows that the European Court of Human Rights considers the status of the deprivation of Political Rights measure differently each case and each context which I found that there are some errors and mistakes from the trial of the European Court of Human Rights by using different criteria in each case. In my point of view, it is important to clearly specify which factors should be primarily taken to consider status of the measures which can be also called as a guideline. If the first criteria that should be taken cannot be clearly set, other factors will be consider accordingly. Otherwise, the consideration of status of the measures will only rely on context of each case. From my view, enforcement purpose, condemnation, retribution, severity of measures is the first group of criteria that shows the criminal offense characteristic. Also the deprivation of Political Rights measure, especially deprivation of the right to vote and to stand as a candidate at election measure have the characteristics of criminal punishment. Therefore, to enforce these measures is necessary to make it according to the principle of legality.

References

โกเมน ภัทรภิรมย์. (2524). คำอธิบายกฎหมายอาญาฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาลัยธรรมศาสตร์.

จิตติ ติงศภัทิย์. (2525). กฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพฯ: สำนักฝึกอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. (2562). กฎหมายรัฐธรรม: หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ณรงค์ ใจหาญ. (2543). กฎหมายอาญาว่าด้วยโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2558). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ปกป้อง ศรีสนิท. (2561). กฎหมายอาญาชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2525). สังคมวิทยาว่าด้วยอาชญากรรมและการลงโทษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รณกรณ์ บุญมี. (2562). หลักประกันสิทธิของการบังคับใช้กฎหมายอาญาควรถูกนำไปใช้ในสภาพบังคับอื่นหรือนอกจากโทษอาญาหรือไม่ : ข้อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป. ในรวมบทความวิชาการเนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (2549). ระบบการลงโทษตามกฎหมายอาญาเยอรมัน ตอนที่ 1. ศาลยุติธรรม ปริทัศน์, 6, 76-118.

อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ. (2548). ทฤษฎีอาญา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Guide on article 7 on the European Convention of Human Rights: No punishment without law.

Guide on article 6 on the European Convention of Human Rights: Right to fair trial.

Hasse, M. (1930). Civil Death in Modern Time: Reconsidering Felony Disenfranchisement in Minnesota. Minnesota Law Review, 99, 272.

Starkweather, D. A. (1992). The Retributive Theory of "Just Deserts" and Victim Participation in Plea Bargaining. Indian law Journal, 67(3), 853-878.

Albanese v. Italy. ECHR 2006. Application No. 77924/01

Engel and Others v. the Netherlands. ECHR, 23 Nov. 1976. Application No. 5100/71; 5101/71; 5102/71; 5354/72; 5370/72

Labita v. Italy. ECHR 2000. Application No. 26772/95

Matyjek v. Poland. ECHR 2007. Application No. 38184/03

Paksas v. Lithuania. ECHR 2011. Application No. 34932/04.

Pierre Bloch v. France. ECHR 1997. 120/1996/732/938

Sobaci v. Turkey. ECHR 2007. Application No. 26733/02

Vito sante santoro v. Italy. ECHR 2004. Application No. 36681/97

Downloads

Published

2023-01-23