รูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมบูติกโดยใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

The Module of Boutique Hospitality Management by Using Local Resources and Cultural Capital

Authors

  • พันธุ์ธัช โตโพธิ์ไทย
  • ชนิสรา แก้วสวรรค์
  • บรรพต วิรุณราช

Keywords:

โรงแรมบูติค, วัฒนธรรม, ท้องถิ่น, ทรัพยากร, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, Boutique Hotel, Cultural, Local, Resources, Northeast region

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องรูปแบบการใช้วัสดุท้องถิ่นและการบริการแบบวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาแนวทางการใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นสำหรับผู้ประกอบการโรงแรมบูติค 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมบูติคโดยใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยมีการวิจัยเอกสารโดยการทบทวนวรรณกรรม, งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐผู้ผลิตสินค้าชุมชนผู้ใช้บริการโรงแรมบูติค จำนวน 17 คน โดยเทคนิคเดลฟายและปิดท้ายด้วยการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group) กับผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมบูติคโดยใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อให้ได้ข้อสรุปและรูปแบบที่เหมาะสม สรุปประเด็นการตกแต่งภายในและจำหน่ายของที่ระลึกนั้น ได้แก่ ผ้าขาวม้านำมาตกแต่งในส่วนต่าง ๆ และประยุกต์เป็นชุดประจำพนักงานหรือชุดใช้งานสำหรับแขกในโรงแรม ประเด็นในด้านปัจจัยทำเลที่ตั้งของโรงแรมบูติกเพื่อให้สอดคล้องกับทุนทางวัฒนธรรม โรงแรมบูติคสามารถตั้งในเมืองและนอกเมืองก็ได้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าปัจจัยทำเลที่ตั้งขึ้นอยู่กับการนำเสนอ และประเด็นในด้านการจัดการด้านบุคลากรของโรงแรมบูติก ผู้เชี่ยวชาญทุกคนมองว่าคนในท้องถิ่นควรได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับโรงแรม จากนั้นทำการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารจัดการโรงแรมบูติก โดยใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน ปัจจัยด้านสาเหตุที่ควรมีห้องพักไม่เกิน 100 ห้อง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.21) เพราะง่ายต่อการดูแล บริการ และควบคุมภายในโรงแรม ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งโรงแรมบูติกมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.22) อยู่นอกเมืองเพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย และได้ความเป็นส่วนตัว ปัจจัยด้านสาเหตุที่ควรนำศิลปวัฒนธรรมมาประกอบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.56) เพื่อช่วยต่อยอดสร้างรายได้ให้กับชุมชนและชาวบ้านและปิดท้ายด้วยการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group) กับผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมบูติกโดยใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้ได้ข้อสรุปและรูปแบบที่เหมาะสม พบว่าควรนำผลิตภัณฑ์จากชุมชนเข้ามาตกแต่งภายใน และจำหน่ายของที่ระลึก ทำเลที่ตั้งของโรงแรมบูติกสามารถตั้งได้ทั้งสองที่คือ ในเมืองและนอกเมือง คนในท้องถิ่นควรได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับโรงแรม คนในท้องถิ่นเข้าใจวัฒนธรรมที่แท้จริงของพื้นที่ตัวเอง เป็นการสร้างรายได้ ก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง  This research project aims to study the pattern of local materials usage and local cultural services, with the objective 1) to find ways to use local cultural resources and capital for boutique hotel owner 2) create a model for boutique hotel management using local cultural resources and funds. The research methods are literature review, related research, conduct in-depth interviews with government officials, product manufacturers, local people, and boutique hotel guests which were 17 people using Delphi technique. And ending with a focus group meeting with experts to confirm all data for the module of boutique hospitality management by using local resources and cultural capital. The researcher defines the research topic on the module of boutique hospitality management by using local resources and cultural capital with the objective of finding ways to use local cultural resources and funds from using community service, government and boutique hotel operators by creating the module of boutique hospitality management by using local resources and cultural capital. Then, using the Quantitative research to study an appropriate model for boutique hotel management by using local cultural resources and capital with a sample group of 400 people. The finding revealed that the number of rooms should not be more than 100 rooms had the highest average value (average = 4.21) because it was easy to look after service and control within the hotel. The location factor of the boutique hotel was at the highest average (average = 4.22), because location outside the city to escape the hustle and bustle and get privacy. The factor that should bring local cultural was the highest level because to help extend income for the community and the villagers. The last method was using Focus Group meeting with experts to confirm all The Module of Boutique Hospitality Management by Using Local Resources and Cultural Capital. The conclusion found that the boutique should bring products from the community into the interior and sells souvenirs, the location of the boutique hotel can be located both in the city and outside the city, Locals should come to be part of the hotel because they understand the true culture of their area. They can create income and strong community for themselves.

References

เกริก บุณยโยธิน. (2562). ผลวิจัยอมาเดอุสและไอเอชจี เผย 3 เทรนด์อนาคตของธุรกิจโรงแรมในไทย. วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://propholic.com/prop-now/ผลวิจัยอมาเดอุส และไอเอ

ชยกร ปุตระเศรณี. (2550). กลยุทธ์การจัดการดำเนินงานธุรกิจโรงแรมให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐชยา ผิวเงิน. (2554). บทบาททุนทางสังคมในการพัฒนาชุมชนบ้านปลาค้าว ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พุทธชาด ลุนคำ. (2562). รายงานภาวะอุตสาหกรรมรายไตรมาส : ธุรกิจโรงแรม ไตรมาส 1/2562. วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.isocnet/trendings/view/6B40BD51BC58AEA7735039677 6EEA1C80

สุจินต์ สุขะพงษ์. (2552). แนวทางการจัดการตลาดบริการสำหรับโรงแรมบูติคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษากลุ่มหนุ่มเจ้าสำอางค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธี วรประดิษฐ์. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนงานสารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัยจังหวัดตราด. ตราด: สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตราด.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2554). การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ประเวศ วะสี. (2541). บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพ อภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

Kleinrichert, D. (2012). Boutique hotels: technology, social media and green practices. Journal of Hospitality and Tourism, 3(3), 211-225.

Isangate. (2017). อีสาน: แหล่งประวัติศาสตร์และอารยธรรม. วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.isangate.com/isan/

Marketeer. (2019). 3 เทรนด์อนาคตขับเคลื่อนธุรกิจโรงแรมในไทย. วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://marketeeronline.co/archives/112494

Downloads

Published

2023-01-23