การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา เทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

Sustainable Eco - Industrial City Development: A Case Study of Laem Chabang City Municipality Chonburi Province

Authors

  • นัฐมล คดสุวรรณ
  • อนุรัตน์ อนันทนาธร
  • ธีระพงษ์ ภูริปาณิก

Keywords:

การพัฒนาอย่างยั่งยืน, เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ, Sustainable development, Eco industrial town

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศกรณีศึกษา เทศบาลนคร แหลมฉบังจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิง นิเวศกรณีศึกษา เทศบาลนครแหลมฉบังจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศกรณีศึกษา เทศบาลนครแหลมฉบังจังหวัดชลบุรี 3. เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศกรณีศึกษา เทศบาลนคร แหลมฉบังจังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงผสมผสาน ระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ หัวหน้าหรือตัวแทนครัวเรือนตามทะเบียนราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รอบเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีจำนวน 398 ครัวเรือน สำหรับวิธีการเชิงคุณภาพ ผู้วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน รวมทั้งสิ้นจำนวน 7 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนโดยมีเนื้อหา ครอบคลุมทั้งหมด 5 มิติ ได้แก่ 1. ด้านมิติกายภาพ 2. ด้านมิติเศรษฐกิจ 3. ด้านมิติสิ่งแวดล้อม 4. ด้านมิติสังคม 5. ด้านการบริหารจัดการ ข้อค้นพบข้อที่ 1 ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผลการสำรวจระดับความคิดเห็นของ ประชาชนในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรม พบว่า ด้านมิติกายภาพ โดยรวมประชาชนมีระดับความ คิดเห็นไม่แน่ใจ ด้านมิติเศรษฐกิจโดยรวมประชาชนมีระดับความคิดเห็นไม่แน่ใจ ด้านมิติ สิ่งแวดล้อม โดยรวมประชาชนมีระดับความคิดเห็นไม่แน่ใจ มิติด้านสังคมโดยรวมประชาชนมี ระดับความคิดเห็นไม่แน่ใจ ด้านการบริหารจัดการโดยรวมประชาชนมีระดับความคิดเห็นไม่แน่ใจ ข้อค้นพบข้อที่ 2 ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาเมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ด้านมิติกายภาพ ประเด็นเรื่อง ปัญหาการจราจรและธรรมชาติเสื่อมโทรมมาก ที่สุด ด้านมิติเศรษฐกิจ ประเด็นเรื่อง ชุมชนมีรายได้น้อยลง ประชาชนในพื้นที่ถูกแย่งงานจาก ประชากรแฝง มากที่สุด ด้านมิติสิ่งแวดลอ้ม ประเด็นเรื่องธรรมชาติเสื่อมโทรม ฝุ่นและมลพิษ มากที่สุด ด้านมิติสังคม ประเด็นเรื่อง ประชากรแฝงมากขึ้น ปฏิสัมพันธ์ในชุมชนน้อยลง มากที่สุด ด้านมิติการบริหารจัดการ ประเด็นเรื่องการขาดการมีส่วนร่วม และความเชื่อมั่นของประชาชนลดลง มากที่สุด ข้อค้นพบข้อที่ 3 ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งได้กลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนดังนี้ 1. การพัฒนาศักยภาพ ของเจ้าหน้าที่และผู้นำชุมชุน 2. เสนอแนะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ควบคู่กับการ พัฒนามิติด้านอื่นๆ 3. ฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชน 4. รวบรวมประเด็นปัญหาและความต้องการ จากชุมชนและร่วมกันหาทางแก้ไข  A research on the development of an Eco-industrial Town : A case study of Laem Chabang Municipality, Chonburi. The purpose of this research is to 1. examine the public opinion level on the development of an Eco-industrial Town : A case study of Laem Chabang Municipality, Chonburi. 2. investigate the problems and difficulties on the development of an Eco-industrial Town : A case study of Laem Chabang Municipality, Chonburi. 3. present the guidelines on the development of an Eco-industrial Town : A case study of Laem Chabang Municipality, Chonburi. The researchers have studied the sustainable development of an Eco-industrial Town with the content which covers 5 dimensions including 1. Physical dimension, 2. Economic dimension, 3. Environmental dimension, 4. Social dimension and 5. Management dimension. The first result : According to purpose number 1, the survey result of the public opinion level on the development of an Eco-Industrial Town has found that the physical dimension is overall uncertain with an average of 3.04, the economic dimension is overall uncertain with an average of 2.73, the environmental dimension is overall uncertain with an average of 2.75, the social dimension is overall uncertain with an average of 2.74, and the management dimension is overall uncertain with an average of 2.64, respectively. The second result : According to purpose number 2, the problems and difficulties on the development of an Eco-industrial Town reveal that in the physical dimension, the traffic jam and the degraded nature are the biggest problems. In the economic dimension, the lower income of the community and the registered population have been taken jobs from the non-registered population are the biggest problems. In the environmental dimension, the degraded nature, dust, and pollution are the biggest problems. In the social dimension, having more non-registered population and less interaction in the community are the biggest problems. In the management dimension, lack of participation and the public confidence has decreased are the biggest problems. The third result : According to purpose number 3, the guidelines on the development of an Eco-industrial Town with the strategies for the sustainable development of an Eco-industrial Town are 1. The potential development of officials and community leaders, 2. Suggesting guidelines for industrial development in the area along with improving other dimensions, 3. Bringing back public confidence, and 4. Collecting all the problems and needs from the community and finding a solution together.

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2558). คู่มือความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2563. วันที่ค้นข้อมูล 16 ธันวาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.pcd.go.th/pcd_news/11873/

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2562). เกณฑ์และตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2554). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2562). เกณฑ์และตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2562). แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ (Eco Industrial Town). วันที่ค้นข้อมูล 16 ธันวาคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://ecocenter.diw.go.th/images/ Download_Document/61-64.pdf

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Industrial Town). วันที่ค้นข้อมูล 16 ธันวาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://old.ieat.go.th/old.ieat.go.th/eco

นิตญา สุทธาวาส. (2563). แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิลาวัณย์ เอื้อวงศ์กูล. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา เมืองเรณูนคร. วิทยาพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต}, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสาขา ภู่จินดา. (2561). การจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักนิเทศวิทยาอุสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมชาย มุ้ยจีน. (2559). แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในเทศบาลเมืองมาบตาพุด. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 12(2), 24-41.

เทศบาลนครแหลมฉบัง. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) เทศบาลนครแหลมฉบัง. ชลบุรี: เทศบาลนครแหลมฉบัง.

เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์ และพรทิพย์ พันธุ์ยุรา. (2564). แผนสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เขตพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(1), 74-91.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). (2559, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก. หน้า 1-215.

WCED. (1989). Our Common Future (4th ed.). London: Earthscan Publication Ltd.

Downloads

Published

2023-01-24