การเตรียมกฎหมายในการเปิดเสรีการค้าบริการอาเซียน กรณีวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม
Preparation of Law for ASEAN Framework on Services: Case Study of Architectural Services
Keywords:
การเปิดเสรีการค้าบริการ, วิชาชีพสถาปัตยกรรม, Liberalization on trade in services, Architectural ServicesAbstract
จากการที่กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Agreement: MRA) แล้ว 8 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ นักบัญชี และการท่องเที่ยว สำหรับสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมได้ลงนามการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement: MRA) เมื่อปีพ.ศ.2550 เพื่อเป็นการยอมรับคุณสมบัติซึ่งกันและกันในคุณสมบัติของสถาปนิกในกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะอนุญาตให้ทำงานร่วมกับสถาปนิกท้องถิ่นได้โดยมีเงื่อนไข บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการเข้าสู่การเป็นสถาปนิกอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อดี และข้อจำกัดของการเข้าสู่การเป็นสถาปนิกอาเซียน 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเข้าเป็นสถาปนิกอาเซียนให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีการค้าบริการ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประเด็นในแง่ของกฎหมายวิชาชีพ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้ามาทำงานของคนต่างด้าว ยังไม่มีกระบวนการที่สอดรับซึ่งกันและกันตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่ชัดเจน ส่งผลต่อการทำงานร่วมกันภายใต้กรอบความตกลงการเปิดเสรีการค้าบริการและการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาภายใต้ข้อตกลงยอมรับร่วมกันของวิชาชีพสถาปัตยกรรมไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้นำเสนอประเด็นที่สามารถนำไปปรับแก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ต่อไป As part of an agreement between the 10 ASEAN countries to form the ASEAN community, ASEAN members also entered into the Mutual Recognition Agreement (MRA) for 8 professions, namely, engineering, nursing, architecture, surveying, medical and dental, accountancy, and tourism services. For the architectural profession, ASEAN members already entered into the MRA in 2007, in order for the ASEAN members to mutually recognize the qualifications of architects of the member states, allowing foreign architects to work with local architects, under several conditions. This article is part of a research study – analysis of problems and approaches to becoming an ASEAN architect – that aims to: 1) research the advantages as well as limitations involved with becoming an ASEAN architect; and 2) study the guidelines for recommending legal measures related to becoming an ASEAN Architect in accordance with the liberalization of trade in services. The study revealed that there is not yet a clear procedure, whether in terms of the profession-related laws or other laws, especially the law regarding foreign workers. As a result, the current situation does not allow a seamless and smooth operation, including the consideration and approval process that will allow a full collaboration under the ASEAN Framework on Services and the creation of the ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Architectural Services. Therefore, this study presents issues that can be applied to amend the law for the benefit of the architectural profession in ASEAN countries.References
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2561). กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on. Services: AFAS) ชุดที่ 10. กระทรวงพาณิชย์. วันที่ค้นข้อมูล 25 กรกฎาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.dtn.go.th/th/tradeinfo/สรุปเนื้อหาพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันชุดที่-10- ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบ?cate=5d26f5b7ef41400da5762569
งานต่างประเทศ สภาสถาปนิก. (2565). สรุปจำนวนสถาปนิกไทยที่ขึ้นทะเบียนเป็นสถาปนิกอาเซียน ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2565. กรุงเทพฯ: สภาสถาปนิก.
ธานี วรภัทร และนิธิ ละเอียดดี. (2562). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ ต่างชาติ. วันที่ค้นข้อมูล 8 กันยายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files/ปีที่%207%20ฉบับที่%203/7-3-49.pdf
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ. (2563, 21 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนที่ 92 ง.
ประกาศสภาสถาปนิกว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นสถาปนิกอาเซียน. (2556). ประกาศเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556
ประกาศสภาสถาปนิก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนเพื่อปฏิบัติวิชาชีพร่วมกันระหว่างสถาปนิกไทยและสถาปนิกต่างด้าว. (2556). ประกาศเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556
พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ. (2522, 14 พฤษภาคม). ราชกิจจา นุเบกษา. เล่มที่ 96 ตอนที่ 80.
พระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว. (2560, 22 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก หน้า 1.
พระราชบัญญัติสถาปนิก. (2543, 20 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 117 ตอนที่ 10 ก.
ศูนย์ข้อมูลการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2565). ข้อมูลการค้าบริการและการลงทุน. วันที่ค้นข้อมูล 10 มีนาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.dtn.go.th/th/tradeinfo/categories/5d26efaaef41400ea30d06 0d
ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2552). โครงการศึกษา ผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: สภาสถาปนิก.
สภาสถาปนิก. (2550). สรุปรายงานของคณะกรรมการสภาสถาปนิกสมัยที่ 2. กรุงเทพฯ: สภาสถาปนิก.
สภาสถาปนิก. (2552). การเปิดเสรีการค้าบริการด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม. การสัมมนาสถาปนิกภูมิภาค ณ โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาวเวอร์ 19 มิถุนายน 2552. จังหวัดสงขลา.
สุวภา จรดล. (2562). 8 วิชาชีพสู่การเปิดเสรีในประชาชมเศรษฐกิจอาเซียน. ใน งานประชุมวิชาการ ระดับชาติครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 11 – 12 กรกฎาคม 2562. 1390-1394. วันที่ค้นข้อมูล 20 กันยายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://publication.npru.ac.th/jspui/bitstream/ 123456789/769/1/ประชุมวิชาการครั้งที่% 2011_81.pdf
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการบริการ. วันที่ค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://lawforasean.krisdika.go.th/File/files/ASEAN%20Framework%20Agreement%20 on%20Services.pdf
อภิญญา เลื่อนฉวี. (2563). เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในอาเซียน: ผลกระทบอย่างไรต่อไทย. King Prajadhipok’s institute Journal, 8(3).
อัธยานันท์ จิตรโรจนรักษ์ และคณะ. (2562). การพัฒนาการศึกษาด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรมจากการเปิดเสรีการค้าบริการ ภายใต้ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
Architects’ Council of Europe. (2022). Mission and Objective. Retrieved September 8, 2022, from https://www.ace-cae.eu/about-us/mission-and-objectives/
ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Architectural Services. (2007). Retrieved January 12, 2018, from https://asean.org/wpcontent/uploads/images/archive/21137.pdf
Report of the 35th ASEAN Architect Council (AAC) was held on 14 February 2019 in Brunei Darussalam.
Fukunaga, Y. (2015). Assessing the Progress of ASEAN MRAs on Professional Services. Economic Research Institute for ASEAN and East Asia. Retrieved September 8, 2022, from https://www.eria.org/ERIA-DP-2015-21.pdf