การบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว

Local Public Policy Participatory Administration of Local Administrative Organization in Sakeao Province

Authors

  • เสริมสิทธิ์ สร้อยสอดศรี

Keywords:

นโยบายสาธารณะท้องถิ่น, การบริหารงานท้องถิ่น, การมีส่วนร่วม, Local public policy, Local administration, public participation

Abstract

การวิจัยเรื่อง การบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการทดสอบค่า t - test และ One - way ANOVA กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการ LSD และทดสอบหาความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's product moment coefficient of correlation) ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมต่อการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.44) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนและความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีการดำรงตำแหน่งต่างกัน มีส่วนร่วมและมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่น ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล (ความเป็นพลเมือง) ปัจจัยด้านชุมชน และปัจจัยด้านองค์การ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) (rxy = 0.86, sig. = 0.00) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า นโยบายสาธารณะท้องถิ่นมีความเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น การบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นควรคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกระจายอำนาจเพื่อลดการผลิตนโยบายซ้ำที่ท้องถิ่นไม่ต้องการ ในขณะที่ราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง (กระทรวงมหาดไทย, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ต้องมีบทบาทในการสนับสนุนภารกิจขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ปราศจากการบังคับบัญชาหรือสั่งการตามแนวนโยบายที่ไม่มีกฎหมายรองรับเพื่อตอบสนองภารกิจของรัฐ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทเพื่อที่จะสะท้อนปัญหาไปสู่การแก้ไข ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องส่งเสริมแนวทางส่งเสริมการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่น ได้แก่ การสร้างรูปแบบกลไกการเข้าถึงการบริหารนโยบาย เพิ่มบทบาทหน้าที่ในการร่วมประเมินผลตรวจสอบนโยบายท้องถิ่น และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์การดำเนินนโยบายด้านต่าง ๆ ทางสื่อสารออนไลน์ เพื่อความสะดวกและหลากหลายในติดตามความก้าวหน้าของนโยบายสาธารณะท้องถิ่นอย่างยั่งยืน  The objective of this research is to study the participation of people on the topic of Participatory Local Public Policy Administration of Sakaeo Provincial Local Administrative Organizations, factors affecting on Participatory Local Public Policy Administration, comparing people's participation and people's opinions on factors affecting participatory local public policy administration classified by individual factors. The sample groups used in this study were people in the area of ​​the local administrative organization in Sa Kaeo Province. Data collection tools are used as questionnaires. The statistics used in the data analysis were frequency distribution, percentage, mean and standard deviation. Data were analyzed to test the hypothesis. The statistical t-test and one-way ANOVA were determined at the statistical significance at the 0.05 level and the pairwise testing by LSD method and the correlation was tested by Pearson's product moment correlation coefficient. The results of the research revealed that the overall people participated in the administration of local public policies was at a high level (average = 3.44). After comparing the results of public participation and public opinion, it was found that people held different positions also have different on participation and opinions. The factors affecting local public policy administration differed at statistical significance at the 0.05 level such as community factor (citizenship) and organizational factors (local government organization) (rxy = 0.86, sig. = 0.00) The results of the qualitative study have shown that local public policies are unique to each local government organization. Therefore, the administration of local public policy should take into account the needs of the people as a primary concern in order to comply with decentralization principles to reduce the production of unwanted local duplicate policies. Whereas the central government and regional that are directly related to the local governing (Ministry of Interior, Department of Local Administration) must play a role in supporting the mission of local governments without command or directives in accordance with policies that do not support the law to meet the mission of the state and should allow people to play a role in order to reflect the problem to the solution too. The administrators of local government organizations must promote guidelines for promoting local public policy administration, namely creating a model for accessing to policy management mechanisms, increasing roles and duties to participate in the evaluation of local policy audits and enhancing public relations channels for implementing various policies via online communication to facilitate and diversify in tracking the progress of sustainable local public policy.

References

ธัญณีย์ ศิระโสภณวัฒน์. (2563). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุมประชาคม ตำบลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พเยาว์ แหล่งสนาม. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วน ตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

พัชรี สิโรรส. (2559). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.rlpd.go.th/rlpdnew/ images/rlpd_8/pmqa/form_award/participatory_ government.pptx

วานิช ทองเกตุ และคณะ. (2561). รายงานวิจัย การพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำประชามติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิชชากร ตรึกตรอง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลห้างสูง อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิลดา อินฉัตร และอนันต์ ธรรมชาลัย. (2560). แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมใน ระดับท้องถิ่นของพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, (2), 41-42.

ศิริกาญจน์ วิชัยศิริ. (2564). แนวทางการมีส่วนร่วมของสตรีในการบริหารองค์การส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานโยบายและการบริหารสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศุภชัย ยาวะประภาษ และปิยากร หวังมหาพร. (2555). นโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด.

สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชน ในการสนับสนุนการบริหารงาน องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอวารินชำราบ จังหวัด

อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริอร นิยมเดช. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการด าเนินกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 2555 บ้านหนองอ้อ หมู่ 3 ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อติวัส ศิริพันธ์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลตำบลหลักหก จังหวัดปทุมธานี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง คุณภาพของการบริหารจัดการ และนวัตกรรมครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

โอรินนา ชูสงค์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารเทศบาลนครอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rded.). New York: Harper and Row.

Downloads

Published

2023-08-08