การพัฒนาแนวทางการรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์กรณีบุคคลสูญหายและศพนิรนามในประเทศไทย

A Development of Forensic Science Evidences Collection in Case Missing and Unidentified Bodies in Thailand

Authors

  • วีรวรรณ ลำดับศรี
  • ฐิติยา เพชรมุนี

Keywords:

บุคคลสูญหาย, ศพนิรนาม, นิติวิทยาศาสตร์, อาชญากรรม, missing person, unidentified bodies, forensic science, crime

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์การรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์รวมถึงแนวทางการรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์กรณีบุคคลสูญหายและศพนิรนามในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญ สำหรับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย และสมาชิกครอบครัวของผู้เสียหายจากกรณีสูญหายและศพนิรนาม จากผลการศึกษาพบว่า การศึกษาสภาพปัญหากรณีบุคคลสูญหายและศพนิรนามในประเทศไทย 1) ด้านกฎหมาย ยังไม่ปรากฏโดยชัดเจนทั้งในเรื่องของการกำหนดความผิดทางอาญา การเยียวยาผู้เสียหาย และกฎหมายที่เป็นกฎระเบียบในการปฏิบัติติงานในกรณีดังกล่าว 2) ด้านการสืบสวน มีแนวทางในการสืบสวนที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง 3) ด้านการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มีแนวทางในการปฏิบัติงาน ในรูปแบบเดียวกัน 4) ด้านการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของผู้เสียหาย การไม่มีกฎหมายส่งผลให้เกิดช่องโหว่ในการดำเนินคดีกรณีบุคคลสูญหายและศพนิรนาม 5) ด้านการสืบค้นข้อมูลผู้สูญหายและศพนิรนาม ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการบันทึกข้อมูล การรับแจ้งเหตุ หรือข้อมูลของบุคคลสูญหาย และ 6) ด้านความหลากหลายของรูปแบบและพฤติการณ์ของอาชญากรรม มีลักษณะแตกต่างกันออกไป การจะระบุได้ว่าเป็นลักษณะของคนหายอย่างไรนั้นจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริง ดังนั้นการกำหนดให้มีกฎหมายเฉพาะกรณีดังกล่าวเพื่อบังคับใช้ก็จะส่งผลให้การสืบสวนสอบสวนและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสอดคล้องกับพฤติการณ์ของบุคคลสูญหายรวมถึงกระบวนการในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานมีแนวทางไปในรูปแบบเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของบุคคลสูญหาย แล้วนำมาพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นและมีประโยชน์ในด้านการสืบสวนสอบสวนและเป็นพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้และได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อนำไปสู่การพิสูจน์ตัวบุคคลอันจะเป็นประโยชน์สูงสุดในกระบวนการยุติธรรม  This research article aims to study the problems, and to analyze the collection of forensic evidence as well as the guideline of forensic science evidence collection in case of missing persons and unidentified bodies in Thailand. This study was the qualitative research by using the interview method in collecting the information from 11 informants comprising government officials, officers of Non-Government Organizations, legal experts, and family members of injured persons in case of missing and unidentified person. The result showed that the problems in case of missing persons and unidentified bodies in Thailand included: 1) law that has not yet imposed clearly of the criminal offence, remedy for injured person, and other related rules when performing works on this case; 2) investigation that has not been relevant to facts; 3) operations by related agencies that have not been performed in the same direction; 4) inability to access to the legal procedures by injured persons which caused the legal proceedings in case of missing persons and unidentified bodies; 5) searching for information about the missing persons and unidentified bodies has not focused on the information records, acknowledgement of the incident, or information about missing persons; and 6) variety of criminal patterns and behaviors whereas the characteristics of missing persons must be based on the consideration on fact. Thus, a specific law on this case would make the investigation, inquiry, and operations of related officials efficient and relevant to the missing persons’ behavior. In addition, the procedure of evidence collection must be shaped in the same direction by linking all information about missing persons before being proved the forensic science in order to obtain the necessary and useful information for further investigation while the evidence must be reliable and lawful, which leads to the authentication that would be most beneficial to the administration of justice.

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, (2547). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง.

ปณิธาน พิมลวิชยากิจ. (2562). ผลกระทบในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เมื่อไม่มีกฎหมายบังคับใช้โดยเฉพาะกับปัญหาการบังคับสูญหาย. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(3), 128-137.

พัชรา สินลอยมา. (2551). การจัดความรู้ด้านการสืบสวนติดตามคนหายในประเทศไทย. นครปฐม: คณะนิติวิทยาศาสตร์, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.

รัชดาภรณ์ เบญขวัฒนานนท์. (2559). นิติวิทยาศาสตร์ พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล FORENSIC PERSONAL IDENTITY. สาขานิติวิทยาศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัชดาภรณ์ มรม่วง และคณะ. (2562). การศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติงานด้านคนหายและศพนิรนามภาคประชาสังคมของประเทศไทย. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, 5(2), 58-72.

ศูนย์บริการข้อมูลคนหายและศพนิรนาม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศบคน.ตร.). (2563). สถิติคนหายและศพนิรนามถึงปีปัจจุบัน. วันที่ค้นข้อมูล 27 กันยายน 2565, เข้าถึงได้จาก http://www.missingperson.police.go.th/index.php

สุธิดา สุวรรณรังสี. (2563). การศึกษาการจัดการศพนิรนามในประเทศไทย กรณีศึกษา : กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและภาคตะวันออก. เอกสารเผยแพร่.กรุงเทพฯ: กองพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์ศพนิรนาม สถาบันนิติวิทยาศาสตร์.

Downloads

Published

2023-08-08