ระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐ : ศึกษากรณีการระบาด ของไวรัสโควิด-19 ในจังหวัดชลบุรี
Health Service System of Government Hospital: A Case Study in Outbreak of COVID -19 Virus in Chonburi Province
Keywords:
ระบบบริการสุขภาพ, โรงพยาบาลรัฐ, ไวรัสโควิด-19, Health Service System, Government Hospital, Virus COVID-19Abstract
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐในสภาวะที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 เครื่องมือที่ใช้วิธีวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐสังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และสภากาชาดไทย จำนวน 23 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อหาข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐ ได้แก่ 1) ด้านการป้องกันโรค: ประชาชนได้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง บุคลากรขาดทักษะการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ประชาชนขาดความตระหนักในการป้องกันโรค 2) ด้านการรักษา: การบริหารจัดการงบประมาณล่าช้า อาคารสถานที่มีความแออัด ขาดแคลนแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อ และเทคโนโลยียังไม่สามารถสนับสนุนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ โรงพยาบาลรัฐควรพัฒนามาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ทักษะการใช้เครื่องมือทางการแพทย์สำหรับบุคลากร มาตรฐานการปฏิบัติงานเชิงรุก ศักยภาพการรักษาระดับโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างอาคารสถานที่ และระเบียบการบริหารจัดการงบประมาณ This qualitative study aimed to study problems and limitations in the operation of the government hospital's health service system during the outbreak of the COVID-19 virus. The research instruments were semi-structured interviews. Informant comprised 23 government agency executives under the Ministry of Interior and Ministry of Public Health with the Thai Red Cross Society. Data were collected using in-depth individual interviews and content analysis based on research objectives. The study found that: Problems and limitations in the operation of government hospitals are 1) Disease prevention: People were receiving intermittent treatment, personnel lack skills in using medical equipment, and people lack awareness of disease prevention. 2) Treatment: Regulations and administrative plans effect delays in funding support, the building is crowded, the lack of doctors who specialize in infection, and technology is still unable to support effective treatment. Suggestion: The government hospital should be developed the standards for the referral of patients to treatment, skills in using medical tools, proactive performance standards, and treatment potential at the level of general hospitals and community hospitals. In addition, the structure of the premises and regulations on budget management should be improved.References
กรมควบคุมโรค. (2566). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศไทย รายสัปดาห์. วันที่ค้นข้อมูล 2 ธันวาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=province
กฤษดา แสวงดี และคณะ. (2561). การศึกษารูปแบบการจ้างงาน แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล ในภาครัฐของประเทศไทยในระยะ 15 ปีข้างหน้า. (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การสาธารณสุขไทย 2559-2560 Thai Health Profile 2016-2017. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์การพิมพ์.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และนภนาท อนุพงศ์พัฒน์ .(2561). ปกิณกคดี 100 ปี การสาธารณสุขไทย ในวาระ 100 ปี การสาธารณสุขไทย (พ.ศ. 2461-2561). กรุงเทพฯ: บริษัท หนังสือดีวัน จำกัด.
ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, วาริสา ทรัพย์ประดิษฐ์ และนำพร สามิภักดิ์. (2561). แรงจูงใจที่ไม่ใช่เงินที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในสถานบริการสุขภาพภาครัฐของแพทย์ ใน 8 จังหวัดของประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกรอบการปฏิรูป. (2560). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2560-2579). วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.plan.cmru.ac.th/documents/nation/01006.pdf
จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2547). การจัดการเชิงกลยุทธ์ = Strategic management. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และวนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2554). การพยาบาลอนามัยชุมชน แนวคิด หลักการและการปฏิบัติการ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: จุดทอง.
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ, วิมล แสงอุทัย, กมลชัย อมรเทพรักษ์ และสมนึก หงส์ยิ้ม. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอเพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการของอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(2), 78-89.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง และคณะ. (2565). การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโควิด-19 ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 16(2), 151-168.
ชาคริต ศึกษากิจ. (2559). การเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจของประเทศ. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 58(2), 39-51.
ทีนุชา ทันวงศ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา และพรทิพย์ กีระพงษ์ (2559) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายสุขภาพอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 26-36.
ธรรมรัตน์ มะโรหบุตร. (2561). ยุทธศาสตร์นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) กับสถานการณ์ที่สะท้อนผลกระทบต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 14(2), 27-41.
ธานี ขามชัย. (2560). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน: ศึกษากรณีเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดชลบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขายุทธศาสตร์และความมั่นคง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์. (2561). การพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพตามพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ เขตสุขภาพที่ 6. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
นงลักษณ์ พะไกยะ, เพ็ญนภา หงษ์ทอง, พัชรี เพชรทองหยก และกานต์วรินต์ ก่องกุลวัฒน์. (2562). การจัดการกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพระดับอำเภอของประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
นารีรัตน์ ผุดผ่อง และกานต์วรินต์ ก่องกุลวัฒน์. (2559). การทบทวนระบบธรรมาภิบาลในด้านการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศไทย.(รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
พิทักษ์พงศ์ พายุหะ. (2561). การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. การศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตรการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
พรรณี สวนเพลง.(2555). ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พอพล อุยยานนท์. (2558). การให้บริการและความต้องการบริการสาธารณสุขในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(91), 315-330.
เพชรสมร ไพรพะยอม, และประจักร บัวผัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับตำบลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(3), 11-22.
เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ และปนัดดา ปริยฑฤฆ. (2557). กระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน: 14 กรณีศึกษาในชุมชนพื้นที่ภาคกลาง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(1), 1-15.
มณฑกา ธีรชัยสกุล. (2558). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการเขตบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานประเมินมาตรฐานและเทคโนโลยี กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
รุสลี บาเหะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.(2563). เอกสารศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) เรื่อง ความมั่นคงใหม่ในยุคหลัง COVID-19 (New Security Concept in the Post COVID-19). วันที่ค้นข้อมูล 1 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.sscthailand.org/uploads_ssc/research_202101121610415157435420.pdf
สมศักดิ์ อรรฆศิลป์. (2561). แนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.(2545). พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545. วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2566, เข้าถึงได้จาก http://nih.dmsc.moph.go.th/law/pdf/031.pdf
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2545. วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.nakhonlocal.go.th/datacenter/doc_download/a_280519_132802.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. (2563). รายงานสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดชลบุรี. วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤษภาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/ChonburiPr/photos/a.3053746871355780/3150467051683761/?type=3
โอภาส การย์กวินพงศ์. (2561). แนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคระบาดตามกรอบกฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
Jin, H., Lu, L., Liu, J., & Cui, M. (2021). COVID-19 emergencies around the globe: China’s experience in controlling COVID-19 and lessons learned. International Journal for Quality in Health Care, 33(1), 1-9.
Tartaglia, R., La Regina, M., Tanzini, M., Pomare, C., Urwin, R., Ellis, L. A., & Braithwaite, J. (2021). International survey of COVID-19 management strategies. International Journal for Quality in Health Care, 33(1), 1-10.
Tessema, G. A., Kinfu, Y., Dachew, B. A., Tesema, A. G., Assefa, Y., Alene, K. A., & Tesfay, F. H. (2021). The COVID-19 pandemic and healthcare systems in Africa: a scoping review of preparedness, impact and response. BMJ global health, 6(12), e007179.
Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2015) Strategic Management and Business Policy. (14th ed.). New York: Pearson Education Inc.,.