การศึกษาการนำนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) ไปปฏิบัติ
A Study of the Implementation of Neo Pattaya Development Policy (2020-2022)
Keywords:
การนำนโยบายไปปฏิบัติ, เมืองพัทยา, NEO PATTAYA, Policy Implementation, Pattaya CityAbstract
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรปัจจัยที่มีต่อนโยบาย 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของบุคลากรต่อนโยบายกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้บางออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากบุคลากรในเมืองพัทยา จำนวน 319 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและตัวแปรเชิงอนุมาน โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในการทดสอบสมมติฐานการวิเคราะห์ใช้สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน กลุ่มที่ 2 เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักบุคลากรในเมืองพัทยา จำนวน 10 คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก เพื่อยืนยันผลการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัย 1. การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรปัจจัยที่มีต่อนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) พบว่า โดยภาพรวมบุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2. การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรในการนำนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) ไปปฏิบัติ พบว่า โดยภาพรวมบุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3. การสำรวจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของบุคลากรต่อนโยบายกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรปัจจัยที่มีต่อนโยบายโดยรวมแต่ละด้าน มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของบุคลากรในการนำนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) ไปปฏิบัติ มีทิศทางความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน โดยแต่ละปัจจัยมีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติและผู้รับบริการ ด้านระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ด้านการสนับสนุนของหน่วยงานปฏิบัติ ด้านคุณลักษณะของหน่วยงานที่ปฏิบัติ และด้านความเพียงพอของทรัพยากร ส่วนปัจจัยที่มีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย The objectives of this research were as follows 1. examine the opinions of personnel factors regarding the policy. 2.To investigate the opinions of personnel on the implementation of the policy. and 3. To explore the factors related to the relationship between personnel opinions on the policy and its implementation. The research methodology employed a mixed-methods approach, combining quantitative and qualitative research. The two sample groups used in this study consisted of Group 1, A quantitative data was collected by using questionnaires from 319 participants in Pattaya City, and Data analysis utilized statistical methods such as descriptive statistics, inferential statistics, and correlation analysis. The statistical techniques used included frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test, ANOVA, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. Group 2 A qualitative data was collected from 10 key informants from the city of Pattaya and data were collected through in-depth interviews. To validate the result of qualitative research. Research Results: 1. The survey of personnel opinions regarding the Neo Pattaya City Development Policy (2020-2022) that, overall, the personnel had a high level of opinion. 2. The survey of personnel opinions on the implementation of the Neo Pattaya City Development Policy (2020–2022) that, overall, the personnel had a high level of opinion. 3. The survey examined factors related to the relationship between personnel opinions on the policy and the implementation of the policy. It was found that the personnel’s opinions on various aspects of the policy were correlated with their opinions on implementing the development policy of the Neo Pattaya City Development Policy (2020–2022) in the same direction. Each factor had a level of correlation that ranked high as follows: the factor of participation of practitioners and service recipients, the factor of communication systems between organizations, the factor of support from implementing agencies, the factor of characteristics of the implementing organizations, and the factor of resource adequacy. The factor with a moderate correlation was the factor of standards and objectives of the policy.References
กฤษณ์ รักชาติเจริญ และคณะ. (2559). ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสู่การปฏิบัติ. วิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 15(2), 1-16.
กุลธน ธนาพงศธร. (2546). นโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฝ่ายทะเบียนและบัตรประชาชน สำนักปลัดเมืองพัทยา. (2564). ข้อมูลประชากรในเมืองพัทยา (ณ สิงหาคม 2564). วันที่ค้นข้อมูล 16 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก /https://www.pattaya.go.th/wp-content/uploads/2021 -2564.pdf
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ. (2563). แผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565). วันที่ค้นข้อมูล 16 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.pattaya.go.th/document/202563-2565.pdf
สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม. (2560). ความเป็นหุ้นส่วนนโยบายสาธารณะในการบริหารฟื้นฟูคลองสาธารณะในกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2562). การประเมินผลการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปสู่การปฏิบัติ. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2563). การวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). Policy and politics in American Governments. Administration & Society, 6(4), 445-488.
Dunn, W. N. (1994). Public Policy Analysis: An Introduction (2th Edition). New Jersey: Prentice