ทัศนคติและประสบการณ์ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ส่งผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการด้านความเชื่อบนช่องทางออนไลน์

Attitudes and Experiences of Generation Y Consumers in Bangkok Affecting Faith-Based Product and Service Purchases through Online Channel

Authors

  • อรสุภัค ผัดวัง
  • จิตพนธ์ ชุมเกตุ

Keywords:

ทัศนคติของผู้บริโภค, ประสบการณ์ของผู้บริโภค, เจเนอเรชันวาย, การตลาดเชิงประสบการณ์, ความเชื่อ, Attitudes of consumers, Experiences of consumers, Generation Y, Faith, Experiential marketing

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและประสบการณ์ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานครที่ส่งผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการด้านความเชื่อบนช่องทางออนไลน์ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์และบริการด้านความเชื่อบนช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสาหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และการสัมภาษณ์เชิงลึกสาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติของผู้บริโภคโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.68) และประสบการณ์ของผู้บริโภคโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.64) เมื่อวิเคราะห์สมมติฐานที่ 1 ทัศนคติของผู้บริโภค เจเนอเรชันวายมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการซื้อผลิตภัณฑ์และความเชื่อทางช่องบนออนไลน์ ออนไลน์ โดยมีปัจจัยย่อย ได้แก่ ด้านความเข้าใจ ด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 และสมมติฐานที่ 2 ประสบการณ์ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการซื้อผลิตภัณฑ์และความเชื่อทางช่องบนออนไลน์ โดยมีปัจจัยย่อย ได้แก่ ด้านความรู้สึก ด้านความคิด และด้านการเชื่อมโยง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านการกระทำ ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  This research aims to study the attitudes and experiences of Generation Y consumers in Bangkok that affecting faith-based product and service purchases through online channel with a mixed research method the sample group used is 400 generation Y consumers in Bangkok who have purchased faith-based products and purchases through online channel. The research instrument was a questionnaire for quantitative data. and in-depth interviews for qualitative data. Statistics used in data analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation. and multiple regression analysis. The results of the research found that the overall consumer attitude is at a high level (average = 3.68) and the overall consumer experience is at a high level (average = 3.64). When analyzing hypothesis 1, the attitude of generational consumers Chanwai has a positive influence on purchasing products and beliefs via online channels, with sub-factors including understanding. Emotional aspect and behavioral There is a significant statistical relationship at the 0.05 level and Hypothesis 2: The experience of Generation Y consumers has a positive influence on product purchases and beliefs via online channels. The sub-factors include feelings, thoughts and connections. There is a statistically significant relationship. Action part There is no relationship with statistical significance at the 0.05 level.

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กันทลัส ทองบุญมา. (2565). องค์ประกอบสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม เพื่อส่งเสริมการตลาดเชิงประสบการณ์. วารสารนิเทศศาสตร์, 40(3).

ถิรวรรณ สกุลวงศ์สิริโชค. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน: การตลาดเชิงประสบการณ์กับการ สนับสนุนแบรนด์ของอุตสาหกรรมเครื่องสาอางในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(3), 126-141.

ธนาภรณ์ วิวัฒน์ศร. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อความเชื่อเรื่องโชคลางของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดนัย ไชยโยธา. (2538). ลัทธิ ศาสนา และระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์.

เบนาซิต เพียรรักษ์. (2564). คตินิยมของธุรกิจและสินค้าที่เกี่ยวกับความเชื่อ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3).

ฝนริน ชนะกาโชคเจริญ. (2563). อิทธิพลของการตลาดเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจการแนะนำต่อ และการกลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเยี่ยมชมมิวเซียมสยาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภริมา วินิธาสถิตย์กุล. (2558). คติชนวิทยา: ความเชื่อกับสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 31-44.

เมทินี จันทร์กระแจะ. (2558). คุณภาพของระบบสารสนเทศและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รุ่งนภา บุญคุ้ม. (2536). ทัศนคติของพัฒนากรต่อนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด: ศึกษากรณีศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 3. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รุจิกาญจน์ สานนท์. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อเจตนาเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการโหราศาสตร์ในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วจนะ ภูผานี. (2555). การตัดสินใจของผู้บริโภค. เอกสารประกอบการสอนเรื่องการตัดสินใจของผู้บริโภค. คณะการบัญชีและการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวภรณ์ เพียรสุภาพ. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมต่อความเชื่อด้านโหราศาสตร์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เอกอนันต์ อินทร์ทอง. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสั่งวัตถุมงคลบูชาของผู้บริโภคในประเทศไทย. สยามวิชาการ, 1(38), 23-32

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). "มูเตลู" ขึ้นแท่นอันดับ 1 LINE เผย "เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัล" ปี 2022. วันที่ค้นข้อมูล 30 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/business/economics/2582135

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2565). มูเตลู: มานุษยวิทยาของเครื่องรางของขลังและโชคลาภ Mutelu: Anthropology of Fortune and Fetishism. วันที่ค้นข้อมูล 30 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/328

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). สำรวจร่างใหม่ของ “ไสยศาสตร์” ยุคดิจิทัล “มูเตลู” ตั้งแต่ตื่นยันหลับ. วันที่ค้นข้อมูล 30 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/daily/detail/9650000121872

มติชนออนไลน์. (2564). เครียดโควิด! ‘ซีเอ็มเอ็มยู’ ชี้คนไทยหันพึ่งสายมูเตลูคลายเหงา. วันที่ค้นข้อมูล 30มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/economy/news_2531442

สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย. (2562). Experience Marketing ยืนหนึ่งเหนือคู่แข่งด้วยประสบการณ์. วันที่ค้นข้อมูล 16 กุมภาพันธ์ 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.tasme.or.th/article/4000/

Positioning Online. (2566). วิจัย CMMU จับอินไซต์ความสนใจ “สุขภาพ-สิ่งแวดล้อม” ของผู้บริโภค สร้างกลยุทธ์การตลาด. วันที่ค้นข้อมูล 31 พฤษภาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://positioningmag.com/1429534

Future Trends. (2565). Tinder X Central ส่องแคมเปญ LOVE destiNATION สุดยอดไอเดียการตลาดเกาะแสเดือนคลั่งรัก. วันที่ค้นข้อมูล 18 เมษายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://futuretrend.co/tinder-x-central-love-destination/

Workpointtoday. (2565). เทรนด์มูเตลูมาแรงขั้นสุด เปิดตัวบริษัทการตลาดสายมู (Muketing) เตรียมปล่อย Horoscope NFT ด้วย. วันที่ค้นข้อมูล 30 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://workpointtoday.com/horosociety-muketing-company/

Kotler, P., & Armstrong, G. (2018). Principles of Marketing. United Kingdom: Pearson Education Limited.

Schmitt, B. (2011). Experience Marketing: Concepts, Frameworks and Consumer Insights. Foundations and Trends in Marketing, 5(2), 55-112.

Schiffman, L., & Kanuk, L. (1991). Consumer Behavior. Singapore: Prentice-Hall.

Schiffman, L. G., & Wisenblit, J. (2015). Consumer Behavior. England: Pearson Education Limited.

Williams, M. (2000). Is a company’s intellectual capital performance and intellectual capital disclosure practices related? Evidence from publicly listed companies from the FTSE 100. Paper Presented at McMasters Intellectual Capital Conference.

Downloads

Published

2024-01-26