https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/issue/feedวารสารการเมือง การบริหารและกฏหมาย2024-07-10T05:29:03+00:00วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมายjournal.Libbuu@gmail.comOpen Journal Systemshttps://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10075การวิเคราะห์ความขัดแย้งทางด้านการเมืองที่มาจากความแตกต่างระหว่างช่วงวัย2024-07-09T02:51:00+00:00ธีราพร ทุมมานนท์journalLibbuu@gmail.comภัคสรกัญญ์ เชื่อมเจริญพรกุลjournalLibbuu@gmail.comสุภาวดี วรรณพฤกษ์journalLibbuu@gmail.comพรชัย พิริยะสันติjournalLibbuu@gmail.com<p>ความแตกต่างของแต่ละช่วงวัย (Generation) อาจจะส่งผลหลายอย่างในการใช้ชีวิตร่วมกันของคนในสังคมที่มาจากการเติบโตหรือการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน ส่งผลให้ความคิด ความรู้สึก พฤติกรรมในการใช้ชีวิตมีความแตกต่างกันออกไป ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันทางการเมืองที่เข้ามามีบทบาทกับทุกชีวิตของทุกคนในสังคม ส่งผลให้มุมมองทางการเมืองเปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงวัยเช่นกัน จนก่อเกิดเป็นความขัดแย้งจากที่เห็นในปัจจุบันที่มีการเรียกร้องของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดทางการเมืองในรูปแบบเดิมที่คนรุ่นเก่าที่ยังคงยึดติดกับกรอบความคิดที่ยังมีความล้าสมัย ซึ่งมีความแตกต่างจากคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดที่แตกออกไปจากมุมมองด้านเมืองในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มคนเหล่านี้เติบโตมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพการเมืองที่ส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มนี้ เห็นได้จากการแสดงออกทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม จากกรณีการศึกษาความขัดแย้งระหว่างช่วงวัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางความคิดด้านการเมืองนั้น พบว่าสิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่สุดคือการยอมรับและเข้าใจในความแตกต่างซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยในบทความนี้ผู้เขียนได้เสนอเป็น 2 ทางออกในการแก้ไขปัญหา ที่สอดคล้องวัฒนธรรมทางการเมืองโดยกระบวนปลูกฝังอบรมกล่องเกลาทางการเมืองผ่านสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษาอีกด้วย Different ages group It may have many effects on people living together in society and growing up from different upbringing and environments. As a result, thoughts, feelings, and behaviors in living life are different. Combined with the current political situation that plays a role in every life of everyone in society. As a result, political views change according to each age group as well. Until causing a conflict from what is seen today with the demands of the new generation who do not agree with the old political ideas of the older generation who still cling to the existing ideas. obsolescence This is different from the new generation who have different views on cities in the past. These groups of people grew up with changes in political conditions that affected the lives of this group of people. This can be seen from their frequent political expressions. Until causing conflict in society from the case of studying conflicts between generations that cause differences in political thinking. It was found that the thing that should be given the most importance is acceptance and understanding of each other's differences. So that everyone in society can live together happily.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10076ยุทธศาสตร์การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองในยุคดิจิทัล2024-07-09T02:58:57+00:00มนตรี วีรยางกูร journalLibbuu@gmail.comสุปราณี ธรรมพิทักษ์journalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองในยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารชั้นรองและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย นักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจ และประชาชน จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จะถูกวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบหน่วยบริบท (Contextual Unit) ผลการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค SWOT Matrix พบว่า จากทางเลือกที่แตกต่างกันทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ ทางเลือกเชิงรุก (SO Strategy) เชิงป้องกัน (ST Strategy) เชิงแก้ไข (WO Strategy) และเชิงรับ (WT Strategy) ทำให้วิเคราะห์ทางเลือกที่แตกต่างกันได้ 11 ประเด็นยุทธศาสตร์ และสามารถนำมาจัดกลุ่มสรุปรวมเป็นยุทธศาสตร์การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองในยุคดิจิทัล ได้จำนวน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนานโยบายด้วยข้อมูล Big data และระบบดิจิทัลสมัยใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 2: ยกระดับเครือข่ายนโยบายให้เป็นคลังสมอง ยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อกำหนดนโยบาย โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อให้ยุทธศาสตร์ประสบความสำเร็จ ได้แก่ 1) พรรคการเมืองควรพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับภาคีความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ 2) พรรคการเมืองควรปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถของบุคลากรในพรรค ให้มีขีดความสามารถในการพัฒนานโยบายและพัฒนาองค์การให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ 3) พรรคการเมืองควรพัฒนาต้นแบบคลังสมองด้านนโยบายของพรรคการเมือง 4) พรรคการเมืองส่งเสริมการเปิดเวทีสาธารณะให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ได้มีเวทีแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับนโยบายของพรรค The purpose of this research was to study recommendations for policy-making strategies of political parties in the digital era. It is qualitative research. This research used a qualitative research consisting of studying information from secondary documents and in-depth interviews. There were 19 key informants including politicians, academics, businessmen, and citizens. The research tools were semi-structured interviews created by the researcher. Data obtained from in-depth interviews and secondary data will be analyzed using content analysis with contextual unit. The results of the analysis by using the SWOT Matrix technique found that from a total of 4 different alternatives, namely proactive (SO Strategy), preventive (ST Strategy), corrective (WO Strategy) and defensive (WT Strategy) can be analyzed different options in 11 strategic issues and grouped together into 3 strategies for policy-making of political parties in the digital age as follows; Strategy1: Develop policies with big data and modern digital system, Strategy2: Upgrade the policy network into a think tank, Strategy3: Develop communication channels for policy formulation. Suggestions for the strategy to be successful include: 1) Political parties should develop and link databases with cooperation partners from various parties. 2) Political parties should adjust their work processes in new ways by giving importance to developing the abilities of party personnel to have the capacity to develop policies and develop organizations towards excellence. 3) Political parties should develop a prototype think tank for political party policy. 4) Political parties promote the opening of public forums to stakeholders to express their opinions.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10077การร่วมชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา2024-07-09T03:04:47+00:00สาธิยา สัตยพันธ์journalLibbuu@gmail.comโชติสา ขาวสนิทjournalLibbuu@gmail.comวิเชียร ตันศิริคงคลjournalLibbuu@gmail.comไพฑูรย์ โพธิสว่างjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยเรื่อง การร่วมชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาขั้นตอนและรูปแบบในการร่วมชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการร่วมชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นการใช้วิธีดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีจำนวน 8 คน และเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ มีจำนวน 369 คน ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า การชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาจะมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนสอดคล้องกับสถานการณ์ สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิต เยาวชนในพื้นที่บางแสน การชุมนุมทางการเมืองส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของการตั้งเวทีปราศรัย และการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ มีการกำหนดตารางเวลาของกิจกรรม สถานที่ต้องมีความเหมาะสม มีการวางระบบจัดการกับอุปกรณ์ มีการวางแผนสำรอง และมีการประเมินความเสี่ยงของทีมงานก่อนการจัดการชุมนุมทางการเมืองอยู่เสมอ และผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า สาขาวิชาแตกต่างกัน การร่วมชุมนุมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนเพศ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา การเป็นสมาชิกกลุ่มกิจกรรมในมหาวิทยาลัย และการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองแตกต่างกัน การร่วมชุมนุมทางการเมืองไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ปัจจัยที่มีผลต่อการร่วมชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา มี 2 ปัจจัย คือ ด้านความต้องการทางสังคม และด้านความต้องการได้รับเกียรติและการยกย่อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ซึ่งสามารถนำมาเขียนเป็นรูปสมการ ได้ดังนี้ การร่วมชุมนุมทางการเมือง = 0.637 + 0.393 (ด้านความต้องการทางสังคม) + 0.305 (ด้านความต้องการได้รับเกียรติและการยกย่อง) This research titled “participation in political demonstrations of Burapha University students” purposes to 1) study the steps and forms of participation in political demonstrations of Burapha University students 2) study the factors affecting participation in political demonstrations of Burapha University students. This research employs a qualitative method with a sample of 8 people and a quantitative method with a sample of 369 people. The qualitative study results have shown that participation in political demonstrations of Burapha University students has clear goals according to situations. In line with the target group of students and youth in the Bang Saen area, most political rallies are in the form of setting up stages for speeches, expressing symbols and organizing schedules of activities. The locations must be appropriate. There is a system setup to manage equipment. There is a backup plan and a team risk assessment is always carried out before holding a political participation rally. The quantitative study results have shown that the fields of study were different participation in political rallies was significantly different at 0.05, in line with the set assumptions. As for gender, age, year of study, membership in university activity groups and awareness of political news, participation in political rallies was not different at the statistical significance level of 0.05, not in accordance with the set assumptions. There are two different factors affecting the participation in political demonstrations of Burapha University students: social needs and esteem needs for the significantly difference at 0.05 according to the set assumptions. This can be written as an equation as follows: participation in political demonstrations = 0.637 + 0.393 (social need) + 0.305 (esteem needs).</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10079การจ้างงานและคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี2024-07-09T05:05:35+00:00โอฬาร ถิ่นบางเตียวjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพการจ้างงานแรงงานต่างด้าวในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 2. เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวมานุษยวิทยา โดยอาศัยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การศึกษาพบว่า 1. แรงงานต่างด้าวที่เข้ามารับจ้างทำงานในพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุขมีหลากสาขาอาชีพซึ่งเป็นงานที่คนในพื้นที่ไม่นิยมทำกัน กลุ่มแรงงานทักษะต่ำส่วนใหญ่ทำงานประเภท 3D (difficult, dirty and dangerous) แต่มีแนวโน้มที่จะขยายขอบเขตไปในหลายกิจกรรมมากขึ้นนอกเหนือจากกลุ่ม 3D แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานมีทั้งที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและเข้ามาแบบผิดกฎหมาย มีรายได้ตั้งแต่ 300 – 500 บาท ระยะเวลาในการทำงานเฉลี่ยวันละ 8 - 10 ชม. ในส่วนของพักที่แรงงานต่างด้าวพบว่ามี 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. อยู่อาศัยร่วมกับนายจ้าง 2. นายจ้างจัดที่พักอาศัยให้เฉพาะ 3. นายจ้างจัดเป็นแคมป์คนงานขนาดใหญ่แบบถาวรให้ ในด้านสวัสดิการพบว่าโดยรวมแรงงานต่างด้าวมีสวัสดิการด้านสุขภาพและความปลอดภัยทางสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยภาพรวมพบว่าคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุขอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการพิจารณาคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวตามหลักวิชาการครอบคลุมทุกมิติ ดังนี้ ความมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านสุขภาพและความปลอดภัยทางสุขภาพด้านสัมพันธภาพทางสังคม ความอบอุ่นและความมั่นคงของครอบครัวและความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคล Objectives of this research were 1) to study the employment conditions of migrant workers in Saen Suk Municipality, Mueang District, Chonburi Province; and 2) to study the quality of life of migrant workers in Saen Suk Municipality, Mueang District, Chonburi Province. Qualitative anthropological research method was used as research methodology, relying on collecting information from documents, in-depth interviews and non-participant observation. The study found that migrant workers who came to work in the Saen Suk Municipality area worked in many career fields, especially works that people in the area did not do. The majority of low-skilled workers worked in the 3D category (difficult, dirty and dangerous), but there was a tendency to expand their scope into other jobs besides the 3D groups. Migrant workers came to work both legally and illegally and their income ranges were about 300 - 500 baht. Their average working time was 8 -10 hours per day. For accommodations, there were 3 types as follows: 1) They lived together with the employer; 2) employers provided accommodation and 3) employer organized a large permanent worker camp. In terms of welfare, migrant workers' health welfare and overall health safety were at a good level. Overall, it was found that the quality of life of migrant workers in the Saen Suk Municipality area was within the quality standards by considering the quality of life of migrant workers according to academic principles covering all dimensions as follows: dignity and quality of working life, health and health safety, social relations, family warmth and security and personal safety and security.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10080โอกาสและความท้าทายของกระบวนการรับสิทธิโครงการเงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในประเทศไทย2024-07-09T05:18:24+00:00เหมือนพิมพ์ รอบคอบjournalLibbuu@gmail.com<p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการรับสิทธิของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และ 2) เพื่อศึกษาโอกาสและความท้าทายในกระบวนการรับสิทธิของโครงการรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นการศึกษาโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเติบโตอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกันภายในสังคมโดยเฉพาะเด็กจากครัวเรือนยากจน มีกระบวนการรับสิทธิที่สำคัญ 7 ขั้นตอน โดย ขั้นตอนแรกคือการลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผ่านแอปพลิเคชันเงินเด็กและขั้นตอนที่สองคือการหาผู้รับรองสถานะครัวเรือนของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งทั้งสองขั้นตอนเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง ต่อมาขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูล ขั้นตอนการประกาศรายชื่อและการคัดค้านสิทธิ จะเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนถิ่น และนำไปสู่ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลของโครงการและการตรวจสอบสิทธิเพื่ออนุมัติสิทธิ โดยเป็นหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ในส่วนของขั้นตอนการจ่ายเงินอุดหนุนจะเป็นหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง และขั้นตอนสุดท้ายคือกรณีเปลี่ยนแปลงสิทธิและสิ้นสุดสิทธิจะดำเนินการใหม่เหมือนที่กล่าวมาข้างต้น จากการศึกษาถึงกระบวนการรับสิทธิพบว่ามีประเด็นโอกาส ดังนี้การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองที่ประสงค์ลงทะเบียน สามารถไปลงทะเบียนได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่อาศัยอยู่จริง ประเภทบุคคลที่สามารถให้การรับรองสถานะครัวเรือนมีความหลากหลาย และ ความพร้อมต่อการรับถ่ายโอนภารกิจโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้โอกาสในบางประเด็นกลับเป็นช่องว่างที่นำไปสู่ความท้าทายต่อกระบวนการรับสิทธิดังนี้ ความซับซ้อนของหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการเข้ารับสิทธินำไปสู่ความเข้าใจผิดของผู้ประสงค์รับสิทธิ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องขาดความเข้าใจในรายละเอียดต่อการดำเนินงานตามโครงการ ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะว่าควรประชาสัมพันธ์โครงการเพิ่มขึ้น พิจารณาปรับปรุงกระบวนการรับสิทธิ เพิ่มช่องทางการรับเงินอุดหนุน และขยายโครงการเพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับเด็กทุกคน This research aimed to 1) study the process of applying for the child support grant scheme. 2) analyze the opportunities and challenges in the application process. This was qualitative research that primarily analyzed relevant documents. The study found that the child support grant scheme aimed to support quality and equal growth within society, especially for children from poor households. There were seven steps in the application process. The first step was to register for the scheme at the local administrative organization or through the Ngoen Dek application. The second step was to find a person authorized by the scheme to certify the household's low-income status. Both steps directly involved citizens. Then, the local administrative organization was responsible for data verification, the announcement of the list of applicants, and eligibility screening. This was followed by data recording into the scheme’s database and verification of rights for approval. This was the responsibility of the provincial social development and human security office. The comptroller general's department was responsible for the disbursement of the allowance. The last step was the process for changes and termination of rights, which followed the same procedures mentioned above. The study identified the following opportunities related to the application process: Allowing parents who want to register to do so at the local administrative organization in the area where they live. There were various types of people who could certify household status. And the readiness for decentralization of scheme tasks to local administrative organizations. However, some opportunities turned into challenges in the application process, such as the complexity of the eligibility criteria leading to misunderstandings among applicants. Relevant policy implementers also lacked sufficient understanding of the details of the scheme implementation. Therefore, the researcher suggested enhancing public relations for the scheme, revising the application process, adding channels for receiving the allowance, and broadening the scheme as a welfare for all children.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10081การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเข้าถึง แหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม2024-07-09T05:23:50+00:00กษิดิ์ศร วิไลเลิศ journalLibbuu@gmail.comปริญญา เรืองทิพย์journalLibbuu@gmail.comภัทราวดี มากมีjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดระยอง รวมจำนวนประชากรทั้งหมด 440 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้แก่ 1) คุณลักษณะผู้ประกอบการ 2) ทักษะด้านการบริหารจัดการ 3) การจัดทำบัญชี 4) ความสามารถในการชำระหนี้ 5) เงินทุนและสินทรัพย์ 6) หลักประกัน และ 7) เงื่อนไขสถาบันการเงิน สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาวงและขนาดย่อม ได้แก่ เงื่อนไขสถาบันการเงิน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากที่สุด สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลในอันดับรองลงมา ได้แก่ หลักประกัน เงินทุนและสินทรัพย์ ความสามารถในการชำระหนี้ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ทักษะด้านการบริหารจัดการ และการจัดทำบัญชี ไม่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุน The study aimed to 1) study factors in accessing funding sources for small and medium-sized business entrepreneurs 2) study factors influencing the ability to access funding sources for small and medium-sized business entrepreneurs (SMEs). This research is a quantitative research. The sample group is small and medium-sized business entrepreneurs in the eastern special development zone including Chonburi Province. Chachoengsao Province and Rayong Province. The total population is 440 people, selected by Purposive Sampling, the tools used to collect data include an online questionnaire. Statistics used to analyze the data include 1) Descriptive statistics: frequency, percentage, mean, and standard deviation 2) Inferential statistics: analysis of influence Path Analysis. The results of the research found that factors in accessing capital for small and medium business entrepreneurs include 1) character 2) managerial skills 3) accounting 4) capacity 5) capital 6) collateral, and 7) condition. Factors that influence the ability to access capital for small and medium sized business entrepreneurs include financial institution conditions. It is the factor that most influences the ability to Condition. The second most influential factors are collateral, capital and capacity. As for character, managerial skills and accounting. There are no direct or indirect influence on factors affecting access to capital.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10082รูปแบบการจัดการภารกิจการสื่อสารของสำนักโฆษกรัฐบาล สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประเทศไทย2024-07-09T06:04:17+00:00อารญา สุขหอมjournalLibbuu@gmail.comชคัตตรัย รยะสวัสดิ์journalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและวิเคราะห์ภารกิจการสื่อสารของสำนักงานโฆษกในต่างประเทศและในประเทศไทย และเพื่อศึกษารูปแบบการจัดการภารกิจการสื่อสารของสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในบริบทที่เหมาะสมของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารสำนักงานโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร และการบริหารจัดการงานสื่อสาร และผู้ปฏิบัติงานภายในสำนักงานโฆษกรัฐบาล 2) กลุ่มสื่อมวลชนของประเทศไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือแนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกประเภทข้อมูล และการเปรียบเทียบข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานและวิเคราะห์ภารกิจการสื่อสารของสำนักงานโฆษกในต่างประเทศและในประเทศไทย พบว่า ภารกิจการสื่อสารของประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกับทุกประเทศ สามารถจำแนกภารกิจได้เป็นภารกิจด้านการบริหาร ด้านการข่าว ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการสนับสนุนประสานงาน และด้านการจัดทำกลยุทธ์ สำหรับรูปแบบการจัดการภารกิจการสื่อสารของสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในบริบทที่เหมาะสมของประเทศไทย ด้านผู้ส่งสาร (s) ประกอบด้วย ภาพลักษณ์ที่ประทับใจ (I) โครงสร้างที่มีสภาพคล่อง (s) ความคล่องตัว (A) การทำงานร่วมกัน (C) การประสานงาน (Co) มาตรฐานทางจริยธรรม (E) การแบ่งงานตามความถนัด (D) ระบบความเชี่ยวชาญ (S) ด้านสาร (M) ประกอบด้วย การรับรู้ (A) การสร้างความเข้าใจ (C) ด้านช่องทาง (C) ประกอบด้วยช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน Mass Media (M) การนำใช้เทคโนโลยีมาในงานสื่อสารTech-enabled and Tec-savvy (T) ด้านผู้รับสาร (R) ประกอบด้วย การเข้าถึง Reach (R) ) ความตระหนักในความเป็นพลเมือง Citizen (C) The purpose of this research is to study the operating conditions and analyze the communication missions of the Spokesperson's Office abroad and in Thailand. To study the communication mission management model of the Spokesperson's Office. Secretariat of the Prime Minister in the appropriate context of Thailand Using a mixed research method both qualitative research and quantitative research The population in this study consists of 2 groups: 1) key informants, namely the executives of the Spokesperson's Office Secretariat of the Prime Minister academic group Communication specialist Communication management and the working group within the Government Spokesperson's Office 2) Thailand's media group Qualitative data collection Use the in-depth interview question tool. For collecting quantitative data, questionnaires were used. Qualitative data analysis used data analysis methods using data classification methods. and data comparison Quantitative data analysis section Descriptive statistics were used, including frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation. in data analysis The results of the study found that Conditions of operation and analysis of the communication missions of the Spokesperson's Office abroad and in Thailand found that the communication missions of Thailand It is similar to every country. The mission can be classified as Administrative missions, news, public relations Support and coordination, and strategy preparation For the communication mission management model of the Spokesperson's Office Secretariat of the Prime Minister in the appropriate context of Thailand The messenger aspect (s) includes an impressive image (I), a liquid structure (s), agility (A), collaboration (C), coordination (Co), ethical standards (E), division of labor according to Aptitude (D) Expertise system (S) Message aspect (M) consisting of awareness (A) Understanding (C) Channel aspect (C) consisting of mass media communication channels (M) Use of technology Comes in communication work, Tech-enabled and Tec-savvy (T). The receiver side (R) consists of access to Reach (R), awareness of citizenship, and Citizen (C).</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10083ความคิดเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาเกี่ยวกับความรุนแรงในผู้หญิงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว2024-07-09T06:09:17+00:00จิรัชญา บุรีรัตน์ journalLibbuu@gmail.comอุษณากร ทาวะรมย์journalLibbuu@gmail.comสุปราณี ธรรมพิทักษ์journalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา เกี่ยวกับความรุนแรงในผู้หญิงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพาเกี่ยวกับความรุนแรงในผู้หญิงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 440 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า นิสิตมีความคิดเห็นว่าความรุนแรงในผู้หญิงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวนั้นอยู่ในระดับปานกลาง โดยเป็นความรุนแรงด้านวาจา มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ ทั้งนี้ นิสิตมีความคิดเห็นว่า (1) “ในสังคมปัจจุบัน การที่สามีพูดจาเหยียดหยามเพื่อเป็นการดูถูกเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม” อยู่ในระดับมาก (2) “ในสังคมปัจจุบัน ท่านมักจะเห็นบุคคลในครอบครัวพูดจาด่าทอกัน” อยู่ในระดับมาก และ (3) “ในสังคมปัจจุบัน ท่านมักจะเห็นผู้หญิงถูกสามีทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธ เช่น ท่อนไม้ ปืน เก้าอี้ เป็นต้น” อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิต พบว่า นิสิตที่สังกัดคณะวิชาที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 This research aims to study the opinions of Burapha University student about domestic violence against women and to compare the opinions of Burapha University student about domestic violence against women. The samples were 440 students, and the research instrument was a questionnaire. The statistic used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, t-test, and One-Way ANOVA. The results were; the students expressed their opinions that violence against women in the family was at a moderate level. Verbal violence was the highest, followed by physical and mental. The students expressed their opinions as follows: (1) “In today's society, it is inappropriate for a husband to speak abusively as an insult” to a large extent (2) “In today's society, you often see people in family talk and insult each other” at a large level and (3) “In today's society, you often see husbands abuse their wives with weapons such as a log, a gun, a chair” at a large level. When comparing the opinions of students about domestic violence against women, it was found that in personal factors, different faculties received a significantly different level of opinions about domestic violence against women with the statistical level of 0.05.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10084ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ2024-07-09T06:26:46+00:00จรัสพล ชนะสิทธิ์ journalLibbuu@gmail.comอนุจิตร ชิณสารjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ (2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ และ (3) ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรวิจัย คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษประกอบด้วย (1) ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 5 คน (2) ตัวแทนหน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 5 คน และ (3) ตัวแทนหน่วยงานภาคประชาสังคม จำนวน 5 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือแนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการจำแนกประเภทข้อมูล และการเปรียบเทียบข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ ด้านจุดแข็งมีทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งดึงดูดใจในแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา ด้านจุดอ่อน ไม่มีสนามบิน ที่พักมีจำกัด ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันของนักท่องเที่ยวค่อนข้างต่ำ ด้านโอกาส ภาพรวมแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ มีแนวทางพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการการท่องเที่ยววิถีใหม่ ส่งเสริมให้ชุมชนสร้างสรรค์กิจกรรมการท่องเที่ยว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์ และระบบขนส่งสาธารณะ และมีการประชาสัมพันธ์และการตลาดเชิงรุก ด้านอุปสรรค มีจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งเป็นคู่แข่งขันที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนผลการศึกษาแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ ยุทธศาสตร์ที่ 1: กลยุทธ์การสร้างและตอกย้ำอัตลักษณ์ (Branding strategy) ที่ชัดเจนของศรีสะเกษเมืองท่องเที่ยวและกีฬาระดับสากล, ยุทธศาสตร์ที่ 2: กลยุทธ์การสร้างโอกาสและจูงใจ (Investment opportunity strategy) การเข้ามาลงทุนพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ, ยุทธศาสตร์ที่ 3: กกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (Proactive public relations strategy) และการจัดทำข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและปฏิทินกีฬาที่ทันสมัยและครอบคลุมตลอดปี และยุทธศาสตร์ที่ 4: กลยุทธ์การสร้างบุคลากรทางการกีฬาระดับชาติ (Sports personal development strategy) แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย แนวทางด้านความสามารถในการเข้าถึงด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก The purpose of this research is to analyze the sports tourism environment of Sisaket Province. To prepare a strategic plan for sports tourism in Sisaket Province and to study the guidelines for driving the sports tourism strategy of Sisaket Province. Using a mixed research method both qualitative research and quantitative research the population in the study is tourists and stakeholders. The sample group will be 400 tourists and stakeholders in sports tourism in Sisaket Province and in-depth interviews will be conducted. Key informants from 3 groups as follows: Government agencies Private sector agencies and public sector agencies Qualitative data collection Use the in-depth interview question tool. For collecting quantitative data, questionnaires were used. Qualitative data analysis used data analysis methods using data classification methods. and data comparison Quantitative data analysis section Descriptive statistics were used, including frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation. in data analysis. The results of the study found that the Sports tourism environment of Sisaket Province Strengths includes tourism resources and attractions in sports tourism destinations. Weaknesses: No airport, limited accommodations. The average daily cost is quite low. Opportunity for an overview of development plans at various levels There are guidelines for developing personnel and tourism operators in a new way. Encourage communities to create tourism activities Develop logistics infrastructure and public transport Public relations and aggressive marketing. Obstacles: Buriram Province is a nearby competitor. Strategic plan to drive the sports tourism strategy of Sisaket Province Strategy 1: Create a leadership identity for sports tourism cities. Strategy 2: Develop logistics systems. Infrastructure Strategy 3: Public relations to create awareness and stimulate marketing at Both regional levels in the country and international level Strategy 4: Develop personnel in both tourism and sports and expand the integrated sports tourism working network in all sectors. Guidelines for driving the sports tourism strategy of Sisaket Province include (1) guidelines for accessibility. Tourism activities and facilities</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10085การประเมินผลการบริการของศูนย์บริการทางหลวงชัยนาท2024-07-09T06:32:47+00:00สุภานี นวกุลjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินผลสำเร็จการบริการของศูนย์บริการทางหลวงชัยนาท 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อระดับความสำเร็จของบริการของศูนย์ฯ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริการของศูนย์ฯ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชน/ ผู้มาใช้บริการศูนย์บริการทางหลวงชัยนาท จำนวน 400 คนเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลสำเร็จการบริการของศูนย์บริการทางหลวงชัยนาทอยู่ในระดับมาก โดยผลกระทบของโครงการมีระดับความสำเร็จมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การบริการของศูนย์ฯ และระดับความสำเร็จด้านบริบท 2) ประชาชนที่มีสถานภาพ และอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับความสำเร็จของศูนย์ฯ แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริการของศูนย์ฯ คือ 1) พัฒนาหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยนำงบประมาณมาใช้จัดกิจกรรม เตรียมความพร้อม/สิ่งอำนวยความสะดวกในการบริการ ปรับปรุงอาคารและภูมิทัศน์ เตรียมความพร้อมด้านสถานที่อำนวยความสะดวก และระบบการบริหารจัดการการปฏิบัติงาน 2) จัดให้มีกระบวนการสำรวจ นิเทศ ติดตาม กำกับการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง 3) ส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น โดยการสร้างสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อเกิดความพึงพอใจและยอมรับในการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ฯ มากขึ้น และ 4) สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการในการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ฯ และสนับสนุนให้ศูนย์เป็นที่แวะพัก และท่องเที่ยว This research aims to assess the service performance of Chainat Rest Area, compare perceptions of service success levels based on individual factors, and formulate guidelines for service development. This mixed-method study involved three sample groups: the general public/service users (400 people), representatives from government agencies, and representatives from private sector organizations (30 purposive samples), using questionnaires and in-depth interviews. Findings suggest that the service performance of the Chainat Rest Area is generally high, with project impact receiving the highest success level, followed by service delivery and the contextual level. It was found that perceptions of service success levels significantly differed based on socioeconomic status and age, but not on gender or frequency of service usage. The proposed guidelines for development emphasize the need for enhanced cooperation between public and private sectors. This includes allocating funds for improvements, conducting surveys, consultations, and monitoring to ensure proper project implementation, and promoting the development of entrepreneurs. The service center should also be developed as a significant local tourism hub to contribute to economic and tourism growth, ensuring community satisfaction and acceptance.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10086การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวย่านชุมชนเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี ที่มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เพื่อยกระดับจังหวัดเพชรบุรีสู่เมืองสร้างสรรค์2024-07-09T06:37:23+00:00ประสพชัย พสุนนท์journalLibbuu@gmail.comธีระวัฒน์ จันทึกjournalLibbuu@gmail.comมนัสสินี บุญมีศรีสง่าjournalLibbuu@gmail.comปริญญา หรุ่นโพธิ์journalLibbuu@gmail.comธงชัย ทองมาjournalLibbuu@gmail.comสุรภัทร์ พิไชยแพทย์journalLibbuu@gmail.comกนกอร เนตรชูjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของชุมชน ความพร้อม และศักยภาพของชุมชนที่มีต่อการปรับปรุงเส้นทางท่องเที่ยวในย่านชุมชนเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี และเพื่อจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวย่านชุมชนเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสำรวจเชิงพื้นที่ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้นำชุมชน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน ผลการวิจัย จากการสำรวจเก็บข้อมูลศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองเพชรบุรี พบว่ามีความโดดเด่นหลากหลายด้าน โดยเฉพาะการเป็นเมืองประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมที่ยังคงมีความเป็นของแท้ดั้งเดิม มีความสมบูรณ์ เห็นได้จากจำนวนวัดวาอารามที่เก่าแก่สืบย้อนไปได้ไกล อาทิ วัดกำแพงแลงซึ่งเก่าแก่จนถึงสมัยลพบุรี วัดใหญ่สุวรรณาราม วัดเกาะ วัดเขาบันไดอิฐ ซึ่งเป็นตัวอย่างสำคัญของวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตัวเมืองเพชรยิ่งมีความโดดเด่นในฐานะเมืองที่มีพระราชวังตั้งอยู่ถึง 2 แห่ง คือ พระนครคีรี และพระรามราชนิเวศน์ บ่งบอกถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเพชรบุรีในฐานะเมืองที่ใกล้ชิดกับราชวงศ์จักรีเป็นอย่างยิ่งอีกทั้งยังมีชุมชนเก่าแก่ที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการพัฒนาเพื่อรับนักท่องเที่ยว ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยววัดวาอารามต่าง ๆ เพื่อไหว้พระและชื่นชมความงดงามของงานช่างโบราณ รวมทั้งท่องเที่ยวพระราชวังอยู่เนือง ๆ แต่นับได้ว่ายังมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางสู่อำเภออื่น ๆ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ดังนั้นเพื่อเป็นการดึงดูดหรือประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางเข้าสู่เมืองเพชรบุรีมากขึ้น ทางคณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ จัดเสวนาเรื่อง “เมืองเพ็ชร์: เพชรแห่งการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม” มีการถ่ายทอดผ่าน FACEBOOK เพื่อประชาสัมพันธ์คุณค่าเมืองเพชรไปสู่สาธารณชน นอกจากนี้ทางคณะวิจัยยังลงพื้นที่สำรวจแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเมืองเพชรเพื่อจะจัดทำ E-BOOK เผยแพร่สู่สาธารณะ และดำเนินการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว ย่านชุมชนเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี ที่มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เพื่อยกระดับจังหวัดเพชรบุรีสู่เมืองสร้างสรรค์ This research aims to study the opinions and potentials of community regarding the improvement of tourism routes in the old town community area along the Phetchaburi River and to develop tourism routes in the old town community area along the Phetchaburi River by using qualitative research method. This involved area-based research and in-depth interviews with community leaders and residents living in the area. The research findings reveal several outstanding aspects, particularly its status as a city rich in historical and cultural heritage, maintaining authentic and original features. This is evident from the number of ancient temples that can be traced back to historical periods, such as Wat Kamphaeng Laeng from the Lopburi period, Wat Yai Suwannaram, Wat Ko, and Wat Khao Bandai It, which are exemplary of the temples from the Ayutthaya Kingdom period. As the city transitioned into the Rattanakosin period, the city of Phetchaburi is even outstanding as a city with two royal palaces, Phra Nakhon Khiri and Phra Ram Ratchaniwet, highlighting Phetchaburi's historical importance closely linked to the Chakri dynasty. Additionally, the city possesses ancient communities with sufficient potential for development to accommodate tourists. In the past, a number of tourists have visited various temples and palaces in Phetchaburi to engage in religious practices and admire the beauty of ancient craftsmanship. However, the number of visitors to these cultural heritage sites remains low compared to the influx of tourists to other districts known for their natural attractions. Therefore, to enhance the appeal of Phetchaburi and promote it as a destination rich in historical and cultural heritage, the research team has undertaken several initiatives. These include organizing a seminar entitled "Phetch City: A Gem of Historical and Cultural Tourism," which was broadcasted via Facebook to disseminate the city’s cultural value to the public. Additionally, the researchers conducted field surveys of historical and cultural sites to create an E-BOOK for public distribution and also developed a tourism program for the old community areas along the Phetchaburi River, focusing on historical and cultural tourism, with the goal of elevating Phetchaburi into a creative city.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10087ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้ากลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง2024-07-09T06:44:33+00:00ณญาดา ทวิสุวรรณjournalLibbuu@gmail.com<p>สถานการณ์ตลาดอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างประเทศไทย มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แสงสว่างที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นปัจจัยที่สำคัญต่ออวัยวะการมองเห็น และการทำงานในมนุษย์ ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการมองเห็น จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดผลเสียต่อสายตาที่อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้า การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคม ลักษณะบุคคล จิตวิทยา และพฤติกรรมผู้บริโภคเฉพาะ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเฉพาะ และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test, ANOVA และ Multiple regressionผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ เพศหญิง ร้อยละ 51.25 อายุ 51 - 60 ปี ร้อยละ 53.5 ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 88.50 ประกอบอาชีพบริษัท/สถานประกอบการ ร้อยละ 53.25 ความถี่ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง 1-2 ครั้ง/ เดือน ร้อยละ 41.50 ภาพรวมของปัจจัยด้านสังคม ส่วนบุคคล ด้านวัฒนธรรม ระดับมาก = 4.31, 4.14, 3.68 และ 3.68 ตามลำดับ 1) รายได้มีผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งยอมรับสมมุติฐาน 2) อาชีพมีผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคไม่มีความแตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐาน 3) การพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้ากลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านจิตวิทยา ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรม ตามลำดับ The situation of the lighting equipment market in Thailand shows continuous growth. Light generated from electrical devices is crucial for visual organs and human work. Therefore, creating an environment that enhances visual efficiency and reduces eye strain caused by lighting is essential. This research aims to study cultural, social, personal, psychological, and consumer behavior factors related to lighting equipment. Data was collected through questionnaires from a sample group of 400 residents in Bangkok. Statistical analyses included t-tests, ANOVA, and multiple regression. The study found that the majority of the sample group were females (51.25%) aged 51-60 years (53.5%). Most had education levels below a bachelor’s degree (88.50%) and worked in companies or businesses (53.25%). The frequency of purchasing lighting equipment was 1-2 times per month (41.50%). Overall, social, personal, and cultural factors were rated highly (4.31, 4.14, 3.68, and 3.68, respectively). 1) Income significantly influenced consumer behavior related to lighting equipment, with statistical significance at the 0.05 level, accepting the hypothesis. 2) Occupation did not significantly affect consumer behavior, rejecting the hypothesis. 3) Predictors related to psychology, social aspects, and culture influenced consumer behavior regarding lighting equipment, with decreasing importance. </p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10088ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายพิธีการสินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่2024-07-09T07:12:27+00:00อรวรรณ จำปาศรีjournalLibbuu@gmail.com<p>การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายพิธีการสินเชื่อ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรและเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ที่มีลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานฝ่ายพิธีการสินเชื่อ จำนวน 103 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ผู้วิจัยตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Item Objective Congruence: IOC) ของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Cronbach Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถามเท่ากับ .856 การวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยด้วย t - test และ One - way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายพิธีการสินเชื่อ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.44, S.D. = 0.202) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา เงินเดือน และระยะเวลาปฏิบัติงาน และภาพรวมความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารของธนาคาร ควรมีนโยบายส่งเสริมให้พนักงานคิดว่า จะปฏิบัติงานในหน่วยงานนี้ตลอดไป ถึงแม้ว่า หน่วยงานจะประสบปัญหา รวมถึงการที่พนักงานเต็มใจที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อให้หน่วยงานประสบความสำเร็จ This study aimed to investigate and understand the corporate engagement of Credit Processing Officers at the Government Housing Bank Head Office. The objective was to assess the level of engagement and compare it among employees with different personal characteristics. The research sample comprised 103 employees from the credit formalities department. A 5-level rating scale questionnaire was utilized, ensuring content validity and linguistic appropriateness through the calculation of the Index of Item Objective Congruence (IOC) based on expert opinions. Additionally, the questionnaire's reliability was assessed using the Cronbach Alpha Coefficient, yielding a coefficient alpha of .856, indicating high reliability. Statistical methods, including percentage statistics, mean values, standard deviations, t-tests, and One-way ANOVA, were employed to analyze the data. The research findings indicate that the overall organizational commitment level of employees in the Credit Ceremony Department at Bank of Ayudhya (Head Office) is high (mean = 3.44, S.D. = 0.202). The hypothesis test reveals that there is no significant difference in organizational commitment among sample groups based on gender, age, marital status, education, salary, and tenure. Based on this research, I recommend that bank management should promote a policy encouraging employees to consider long-term commitment to the organization, even when faced with challenges. Employees who willingly sacrifice personal benefits for the organization’s success contribute significantly to its achievements.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10089การตัดสินใจในการใช้บริการของลูกค้า บริษัท สิทธิธาดา กรุ๊ป จำกัด2024-07-09T07:16:07+00:00ธิติฐิติโชค ปรางแก้วjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการตัดสินใจในการใช้บริการของลูกค้า บริษัท สิทธิธาดา กรุ๊ป จำกัด และเปรียบเทียบการตัดสินใจในการใช้บริการของลูกค้า บริษัท สิทธิธาดา กรุ๊ป จำกัดที่มีภูมิหลังต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ลูกค้าของบริษัทสิทธิธาดากรุ๊ปจำกัดสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 68 คน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับผู้วิจัยตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) ของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Cronbach Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถามเท่ากับ .762 การวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยด้วย t-test และ One -way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าระดับการตัดสินใจในการใช้บริการของลูกค้า บริษัท สิทธิธาดา กรุ๊ป จำกัด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =3.99, S.D. = 0.215) การทดสอบสมมติฐานพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ สถานะภาพสมรส การศึกษาและรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจในการใช้บริการภาพรวมไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารของบริษัทควรมีนโยบายในการอบรมให้พนักงานมีความรู้ความชำนาญในการทำงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุดมีนโยบายในการให้บริการที่รวดเร็วทันใจสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า The purpose of this research is to study the decisions in using the services of customers of Sitthathada Group Co., Ltd. and compare the decisions in using services of customers of Sitthathada Group Co., Ltd. with different backgrounds. The sample group consisted of 68 customers of Sitthathada Group Company Limited using accidental sampling. The tools included: The questionnaire was a 5-level rating scale (Rating Scale). The researcher checked for content validity. By finding the index of consistency (IOC) of expert opinions and analyzing the confidence value. (Reliability) of the questionnaire by calculating the Cronbach Alpha Coefficient. The reliability coefficient alpha of the questionnaire was .762. This research Statistics were used to analyze the data, including percentage, mean, and standard deviation. Testing the means with t-test and One -way ANOVA. The results of the research found that the level of decision making in the use of services by customers of Sitthada Group Company Limited as a whole had a high average level (average =3.99, S.D.= 0.215) Testing the hypothesis found that the sample group with gender, age, and status Marriage, education and income have different opinions on the decision to use services. Overall, they are no different. Suggestions: The company's executives should have a policy to train employees with knowledge and expertise in working to respond to the needs of customers as much as possible. Have a policy to provide services that are quick and prompt, creating Satisfaction to customers</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10090การตัดสินใจเลือกซื้อภาชนะเมลามีนสำหรับร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร2024-07-09T07:20:20+00:00ปุญชิดา พิพิธกุล journalLibbuu@gmail.comอาภรณ์ คุระเอียดjournalLibbuu@gmail.com<p>งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเมลามีนสำหรับร้านอาหารกรุงเทพมหานครมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยรูปทรงลักษณะของเมลามีน ปัจจัยความเหมาะสมกับสภาพใช้งาน ปัจจัยข้อห้ามการใช้งาน ปัจจัยทางด้านรสนิยม ทัศนคติ ปัจจัยทางด้านโฆษณา ปัจจัยทางด้านสภาพดินฟ้าอากาศ และการตัดสินใจเลือกใช้เมลามีนสำหรับร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยรูปทรงลักษณะของเมลามีน ปัจจัยความเหมาะสมกับสภาพใช้งานปัจจัยข้อห้ามการใช้งาน ปัจจัยทางด้านรสนิยม ทัศนคติ ปัจจัยทางด้านโฆษณา ปัจจัยทางด้านสภาพดินฟ้าอากาศ กับการตัดสินใจเลือกใช้เมลามีนสำหรับร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่างมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเมลามีนสำหรับร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ในกลุ่มตัวอย่างร้านอาหารตามวิธีการจำแนกของกรุงเทพมหานครที่ผ่านการประเมินเกณฑ์อาหารปลอดภัยปี 2565 คัดเลือกกลุ่มด้วยวิธีเปิดตารางเครซี่และมอร์แกน จำนวน 377 ด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม 8 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามตรวจสอบรายการ (Checklist) และแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น แบบมาตรประมาณค่า (rating scale) บ่งบอกให้ทราบถึงลักษณะความเข้มของความคิดเห็น ความรู้สึก เจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ T-test, ANOVA, Pearson correlation ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมของปัจจัยรูปทรงลักษณะของเมลามีน ความเหมาะสมกับสภาพใช้งานของเมลามีน ข้อห้ามการใช้งานของเมลามีน ทางด้านรสนิยมทัศนคติใช้ภาชนะเมลามีน ทางด้านโฆษณาภาชนะเมลามีน ทางด้านสภาพดินฟ้าอากาศซื้อสินค้า และการตัดสินใจเลือกใช้เมลามีน ระดับมากที่สุด 2) เพศ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน การตัดสินใจเลือกใช้เมลามีนสำหรับร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้เมลามีนสำหรับร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร และ ควรทำการวิจัยในลักษณะการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจการใช้ภาชนะ และควรทำการวิจัยในเชิงคุณภาพเกี่ยวข้องกับกลุ่มสถานประกอบการเครือข่ายธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมที่ในและต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอินเดีย จีน และสิงคโปร์ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย The research on factors affecting the decision to purchase melamine for restaurants in Bangkok has the following objectives: 1) To study the level of factors affecting the shape and characteristics of melamine, including suitability for use, prohibitive factors, taste, attitude, advertising, weather conditions, and the decision to use melamine in Bangkok restaurants. 2) To examine the relationship between the shape and characteristics of melamine, factors suitable for use, prohibitive factors, taste, attitude, advertising, weather conditions, and the decision to use melamine in Bangkok restaurants. 3) To investigate how personal factors such as gender, education level, and average monthly income of the sample group affect their decision to purchase melamine for restaurants in Bangkok. This quantitative research involved a sample of restaurants in Bangkok that passed the food safety criteria assessment in 2022. The group was selected using the Krejcie & Morgan table method, numbering 377 with an 8-part questionnaire tool consisting of a checklist questionnaire and an opinion questionnaire. Rating scale indicates the intensity of opinions, feelings, attitudes, and analysis. Data were analyzed using the T-test, ANOVA, and Pearson correlation coefficient. The results indicated that: 1) The decision to use melamine is highly influenced by factors such as the shape of melamine, its suitability for use, contraindications, taste, attitude towards using melamine containers, advertising of melamine containers, and weather conditions affecting product purchases. 2) There is a statistically significant difference (p < .05) in the decision to use melamine for restaurants in Bangkok based on gender and different educational levels. Additionally, different average monthly incomes affect the decision to use melamine in Bangkok restaurants. Further research should be conducted to promote knowledge and understanding of the use of utensils, and qualitative research should involve establishments, business networks, and industrial sectors both domestically and internationally, especially in India. </p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10091Evaluating the Structural Dimensions of Trust in Supervisors at Thai Universities Using SmartPLS2024-07-09T07:25:03+00:00Apichaya NiwesjournalLibbuu@gmail.comWaiphot KulachaijournalLibbuu@gmail.comTeera KulsawatjournalLibbuu@gmail.comThanpitcha SarmartjournalLibbuu@gmail.comSomkid PetprasertjournalLibbuu@gmail.comPassanan PhuangthueanjournalLibbuu@gmail.com<p>This study validated the Trust in Supervisors scale using Covariance-Based Structural Equation Modeling (CB-SEM) via SMARTPLS software, analyzing data from 215 employees at nine Thai universities. The focus was on the Trust in Supervisors construct and its components - Ability, Benevolence, and Integrity. Confirmatory Factor Analysis (CFA) demonstrated a robust measurement model with high factor loadings, excellent internal consistency reliability, and substantial average variance extracted (AVE). Discriminant validity confirmed the distinctiveness of the constructs, enhancing the theoretical framework's credibility. Structural model analysis revealed significant relationships between Trust in Supervisors and employees' perceptions of supervisors' competencies, goodwill, and integrity, underscoring trust's role in fostering positive organizational climates and enhancing employee well-being and performance. Despite limitations such as geographical and sectoral specificity and the cross-sectional nature of the data, this study advances the understanding of trust dynamics in organizations. Future research should explore trust-related phenomena longitudinally across diverse settings and incorporate qualitative methods for deeper insights into trust formation and its organizational implications.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10092ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม2024-07-10T04:57:09+00:00ปาริชาติ คุณปลื้มjournalLibbuu@gmail.com<p>วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมโดยการใช้อำนาจออกคำสั่งกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุภยันตรายต่อสาธารณชนที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิตร่างกายหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐเป็นอันมากและผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดขวางการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวย่อมมีโทษและเพิ่มโทษสำหรับผู้ขัดขวางเป็นก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายจากภาวะมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 9 ประกอบมาตรา 98 จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มิได้กำหนดคำจำกัดความของคำว่า “เหตุฉุกเฉิน” และ “เหตุภยันตรายต่อสาธารณชน” จึงก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการตีความและการใช้อำนาจตามมาตรา 9 ประกอบมาตรา 98 ของนายกรัฐมนตรีจนนำไปสู่ปัญหาบางประการที่ควรจะใช้อำนาจแก้ไขปัญหามลพิษแต่ก็ไม่ได้ใช้อำนาจทั้งที่เป็นเหตุฉุกเฉินและเป็นเหตุภยันตรายต่อสาธารณชนโดยตรง ซึ่งถ้าให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการออกคำสั่งแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีภายในจังหวัดของตนเองซึ่งมีความใกล้ชิดกับข้อเท็จจริงมากกว่าที่จะรอคำสั่งมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี นอกจากนั้นการใช้อำนาจตามมาตราถือว่าเป็นอำนาจซ้ำซ้อนกับมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในหมวดว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรียกว่าเป็นการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในลักษณะทั่วไปจึงก่อให้เกิดความสับสนของผู้ปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะผู้ประกอบกิจการโรงงาน หรือเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวที่จะต้องได้รับโทษตามมาตรา 98 ซึ่งเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นเกษตรกรหาเลี้ยงชีพที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ออกตามมาตรา 9 และต้องรับโทษตามมาตรา 98 จากการศึกษาข้อเสนอแนะให้เพิ่มเติมคำจำกัดความของคำว่า “เหตุฉุกเฉิน” และ “เหตุภยันตรายต่อสาธารณชน” และให้อำนาจแก้ผู้ว่าราชการจังหวัดในการประกาศเหตุฉุกเฉิน หรือเหตุภยันตรายต่อสาธารณชนได้เองโดยไม่ต้องรอคำสั่งมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี และควรกำหนดบทลงโทษในกรณีที่เป็นบุคคลยากจนหรือมีเจตนาประกอบอาชีพโดยไม่รู้ว่ามีคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ได้ห้ามกระทำการกรณีหนึ่งกรณีใดตามคำสั่ง This thesis aimed to examine legal problems and obstacles concerning the use of the Prime Minister’s special authority for solving environmental pollution problems by exercising the authority to tissue orders in case of emergency or danger being a serious risk to the public’s life, health, safety, and property or the state property. Violators or those who are not compliant with the orders or obstruct the orders shall be punished. A heavier penalty shall be imposed upon persons who obstruct and cause harm or damage from the pollution in accordance with the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act B.E. 2535 (1992), Section 9 appurtenant to the Section 98. According to the study, it was found that the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act did not give a definition of “emergency” and “public danger”, causing problems and obstacles for the Prime Minister in interpreting and exercising authority under the Section 9 appurtenant to the Section 98. This led to some problems that the Prime Minister should exercise the authority to solve pollution problems but is unable to do so, though it is a direct emergency and public danger. If such authority is given to provincial governors who are closer to the fact in their provinces to issue orders, the problems shall be solved in a timely manner rather than waiting for the orders given by the Prime Minister. Besides, the exercise of authority under the Section 9 is considered being redundant to the environment protection measures prescribed in the Chapter 3 on environmental protection of the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act B.E. 2535 (1992), which is known as general environmental protection, causing confusion among persons who follow the law, especially factory operators or farmers feeding their families who have to compliant with the orders issued under the Section 9 and be punished under Section 98. The study recommends that the definitions of “emergency” and “public danger” should be given, and the authority should be given to provincial governors to declare an emergency or public danger without waiting for an order assigned by the Prime Minister. Punishment should be determined in the case of poor people or people who have intention to earn a living without knowing that there is an order of the Prime Minister that prohibits from doing something from the order. </p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10093การสืบพยานบุคคลในคดีอาญาโดยจำเลยปรากฏตัวผ่านระบบ การประชุมทางจอภาพ2024-07-10T05:02:31+00:00รุ้งเพชร เหลี่ยมเพชรjournalLibbuu@gmail.com<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎมายที่เกี่ยวข้องกับการสืบพยานบุคคลในคดีอาญาโดยจำเลยปรากฏตัวผ่านระบบการประชุมทางจอภาพของประเทศไทยเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา มลรัฐเท็กซัส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้รองรับการพิจารณาคดีและสืบพยานบุคคลในคดีอาญาโดยจำเลยปรากฏตัวผ่านระบบการประชุมทางจอภาพ เกี่ยวกับประเภทคดีที่สามารถสืบพยานบุคคลในคดีอาญาโดยจำเลยปรากฏตัวผ่านระบบการประชุมทางจอภาพ การสละสิทธิเข้าร่วมพิจารณาคดีของจำเลยในคดีอาญา ข้อจำกัดเกี่ยวกับความบกพร่องทางกายหรือจิตของจำเลยหรือพยานที่ปรากฎตัวผ่านระบบการประชุมทางจอภาพ การยื่นคำร้องหรือการให้ความยินยอมของจำเลยหรือคู่ความฝ่ายอื่น เพื่อให้การสืบพยานบุคคลในคดีอาญาโดยจำเลยปรากฏตัวผ่านระบบการประชุมทางจอภาพมีมาตรฐานทางกฎหมายรองรับและสามารถคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอาญาได้เทียบเท่ากับการพิจารณาและสืบพยานโดยจำเลยปรากฏตัวต่อหน้าศาล This article is focus on study of concepts, theories and laws related to examination of witnesses in criminal cases while an accused person does not present at trial in courtroom, but appear in front of screen via video conference device system instead. By comparing with similar process of using device on criminal hearing of Thailand to other countries such as Texas state and California state of the United of America, New Zealand and Netherlands. That helping the study to find out solution which can present suggestion for amendment of criminal procedure in order to legalize the new process of examination of witnesses in certain criminal cases via modern technology device, by drawing criteria of using video conference device, cases classification to be trial by using technology device , limitation of right to absent at trial , regulation of defective body or mental illness to whom shall proceed examination of witnesses via technology device, including time frame and place to proceed examination of witnesses in order to ensure that right of all accused will not be violated or deprived of and protected under the same law ,and fully guarantee that visualized examination of witnesses in criminal cases via video conference device is equally fair trial as its presence in courtroom under due process of law.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10094หลักความยินยอมในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของสหภาพยุโรป สาธารณรัฐเกาหลี และราชอาณาจักรไทย2024-07-10T05:07:18+00:00กิตติมา คงสำรวยjournalLibbuu@gmail.comสราวุธ ปิติยาศักดิ์journalLibbuu@gmail.comวราภรณ์ วนาพิทักษ์journalLibbuu@gmail.com<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลและหลักความยินยอมในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (2) ศึกษากฎหมายและหลักเกณฑ์การใช้หลักความยินยอมในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป สาธารณรัฐเกาหลี และราชอาณาจักรไทย (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับหลักความยินยอมในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยเปรียบเทียบมาตรฐานสากลของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป และสาธารณรัฐเกาหลี (4) ศึกษาหาแนวทางปรับปรุงการใช้หลักความยินยอมในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและได้มาตรฐานสากล ผลการศึกษาพบว่า (1) สิทธิความเป็นส่วนตัวเป็นสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองทางกฎหมายผู้อื่นไม่สามารถก้าวล่วงได้ยกเว้นได้รับความยินยอมจากผู้นั้น (2) โดยหลักการให้ความยินยอมที่แท้จริงนั้นจะต้องเป็นไปโดยอิสระ ชัดเจน รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และสามารถเพิถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ (3) ในปัจจุบันการใช้หลักความยินยอมในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยยังมีปัญหาการตีความ การนำไปปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมาย ต่างจากสหภาพยุโรปที่มีระบบการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และแนวคำวินิจฉัยของศาลสหภาพยุโรปจะคำนึงหลักสิทธิมนุษยชนมากกว่าการอ้างความมั่นคงอย่างกว้างขวางของรัฐ และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสาธารณรัฐเกาหลีที่กำหนดการขอความยินยอมไว้ทุกขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ทำให้ลดปัญหาการตีความและการใช้ดุลยพินิจของหน่วยงานควบคุมข้อมูล (4) ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยการนำแนวทางที่มีประสิทธิภาพของสหภาพยุโรป และสาธารณรัฐเกาหลี มาปรับใช้ในส่วนที่เข้ากับบริบทของสังคมไทย The objectives of this study are: (1 ) to study the concepts, theories, and criteria related to personal rights and principles of consent in connection with personal data protection; (2) to study the laws and criteria governing the enforcement of General Data Protection Regulation (GDPR) in the European Union and the Personal Information Protection Act (PIPA) in the Republic of Korea and the Personal Data Protection Act of B.E. 2562 (PDPA) in Thailand; (3) to study and analyze the problematic issues and potential obstacles related to the principles of consent concerning the protection of personal data in Thailand, in comparison with the GDPR and PIPA; and (4) to study and explore potential approaches to improve its appropriateness application of the principles of consent in protecting personal data within the context of Thai society while strictly adhering with international standards. The results of the study found that: (1) the right to privacy is viewed as fundamental human right that on one cannot violate except with that person’s consent; (2) in principle, the consent must be freely obtained, precise, well-informed consent, and able to withdraw consent at any time; (3) currently, the use of principle of consent in Thailand’s personal data protection law still in infantry stage and require cautious interpretation and enforcement of the privacy law differs from that of the European Union establishing a systematic enforcement moreover the decision of the Court of justice of the EU also take into account the fundamental rights. and basic human rights rather than the state’s widespread security claims; and the Personal Information Protection Act (PIPA) in the Republic of Korea requires consent in each and every stage of personal data collection and provides clear guidelines, reducing potential risk of misinterpretation and discretionary use by data control authorities; and (4) therefore, the researcher proposes potential amendments to the Personal Data Protection Act of B.E. 2562 (PDPA), incorporating effective aspects of the GDPR and PIPA, tailored to comply with the social context of Thai society.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/10095กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่รองรับการพัฒนาเมือง: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างต่างประเทศ ประเทศไทยและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก2024-07-10T05:11:51+00:00พิมพ์กมล กองโภคjournalLibbuu@gmail.comพิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาjournalLibbuu@gmail.com<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลไกทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองในประเด็นหลักการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เปรียบเทียบระหว่างต่างประเทศ ประเทศไทยและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อนำไปสู่การสร้างข้อเสนอแนะทางกฎหมายสำหรับการจัดการพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายต่างประเทศเน้นการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการทำผังเมืองและพัฒนาเมือง แต่ในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 หน่วยงานที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและจัดทำผังเมือง คือ กรมโยธาธิการและการผังเมือง ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางควบคู่ไปกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งไม่สะท้อนให้เห็นถึงการกระจายอำนาจการบริหารราชการ โดยแท้อย่างที่ปรากฏในต่างประเทศ อีกทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนยังเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ ประชาชนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบเพียงบางกรณีหรือภายใต้เงื่อนไขบางประการอันขัดต่อแนวคิดเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในส่วนของพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ก็มีปัญหาทางกฎหมายในหลายแง่มุมที่นำมาซึ่งการเรียกร้องขององค์กรภาคประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นอำนาจของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ต่ำกว่ามาตรการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ซึ่งอาจทำให้โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะผู้วิจัยขอเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาใน 3 ระยะ กล่าวคือ 1) ระยะสั้น ควรกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนภายใต้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ในระดับที่เท่าเทียมกับที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกันในการรับรองสิทธิของประชาชน 2) ระยะกลาง ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในส่วนที่ประชาชนถูกจำกัดสิทธิในการเสนอแก้ไขและการทบทวนผลการใช้บังคับ ผังเมืองในทำนองเดียวกับที่กำหนดไว้ในกฎหมายต่างประเทศ อีกทั้งวางแนวปฏิบัติในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางและจัดทำผังเมืองให้ครบทุกประเภท 3) ระยะยาว ประเทศไทยควรมีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการทำประชาพิจารณ์เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการรับฟังความเห็นของประชาชนและนำเอาความเห็นดังกล่าวไปสู่การกำหนดนโยบายอย่างแท้จริง หากในอนาคตมีกฎหมายเกี่ยวกับการทำประชาพิจารณ์แล้ว ควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 โดยเพิ่มเติมการทำประชาพิจารณ์ให้เป็นอีกวิธีหนึ่งในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำผังเมืองด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติในต่างประเทศ The objective of this research is to analyze legal mechanisms related to the management of area development on the issues of decentralization and the principles of public participation, by making a comparison between foreign countries, Thailand, and the Eastern Economic Corridor (EEC) to propose legal recommendations for the area management in the EEC. The research results showed that relevant laws in foreign countries emphasize the concept of decentralization to local governments in terms of urban planning and urban development. However, in Thailand, under the Town Planning Act B.E. 2562, the authorized agency to make policy and town plans is the Department of Public Works and Town & Country Planning, which is a central government agency along with the role of local governments which does not reflect the intrinsic concept of decentralization as shown in other countries. Additionally, public participation is still incomplete, that is, citizens have the right to express their opinions and investigate only in some cases or under certain conditions, which contradicts the inspection of state power principle. As for the Eastern Special Development Zone Act B.E.2561, there are some legal issues in many aspects raised by civil society organizations, especially the powers of the Special Development Zone Policy Committee, and the level of public participation which is lower than the measures specified in the Town Planning Act B.E.2562. This may prevent the EEC Project from achieving its sustainable development goals. In terms of public participation, the researchers propose recommendations in 3 phases, namely: 1) In the short term, measures regarding public participation under the Eastern Special Development Zone Act B.E.2561 should be established at the same level as those specified under the Town Planning Act B.E.2562 to achieve the same standards of ensuring the citizens’ rights. 2) In the medium term, there should be additional amendments in the parts where citizens are restricted in their rights to participate in amendment, and review of city planning enforcement results as stipulated in foreign laws. Also, the guidelines for public participation for all types of city plans should be launched. 3) In the long term, Thailand should have an act governing public hearings to set certain guidelines for hearing public opinions and implementing those opinions in policy making process. When such an act is available, The Town Planning Act B.E. 2562 and the Eastern Special Development Zone Act B.E.2561 should be amended by adding public hearings as another method for public participation in town planning, which is consistent with foreign countries’ practices.</p>2024-07-10T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024