วารสารการเมือง การบริหารและกฏหมาย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law en-US journal.Libbuu@gmail.com (วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย) chain_d@hotmail.com (chain) Fri, 26 Jan 2024 02:27:04 +0000 OJS 3.2.1.4 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้กรอบของกฎหมาย ศึกษากรณี มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9047 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ (2) ศึกษาปัญหาการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ และ (3) เสนอแนวทางการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้กรอบของกฎหมายตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการวิจัยเอกสารเป็นหลัก ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม ประกาศเคอร์ฟิว ภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จากสถานการณ์แพร่ระบาดเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการและกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบทุกภาคส่วน รัฐบาลได้กำหนดมาตรการเยียวยา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนออกมาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการพักต้นเงินลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาชำระหนี้ โครงการเราชนะ โครงการ ม.33 เรารักกัน มาตรการกำหนดอัตราค่าปรับตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เป็นต้น ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การปรับใช้มาตรการต่าง ๆ ยังคงประสบปัญหา เนื่องจากพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นกฎหมายรักษาความมั่นคงของรัฐแต่ถูกหยิบยกมาใช้บังคับกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เป็นภัยด้านสาธารณสุข ส่งผลให้เกิดความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย อีกทั้งยังมีบทบัญญัติยกเว้นอำนาจการพิจารณาคดีของศาลปกครอง ส่งผลให้ศาลไม่สามารถเข้าควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารได้ รวมถึงปัญหาการไม่ใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเนื่องมาจากขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ดุลพินิจ ความล่าช้าในการใช้อำนาจดุลพินิจเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายได้กำหนดให้อำนาจไว้ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางให้รัฐได้ทบทวนมาตรการ เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เสนอการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอื่นที่จะนำมาใช้เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ แยกระบบกลไกการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขออกจากระบบสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นเรื่องความมั่นคงของชาติให้ชัดเจนและยกระดับความสำคัญการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจให้มากขึ้น รวมทั้งต้องมีการวางแผนรองรับในระยะยาว เพื่อกำหนดมาตรการเยียวยาให้ครอบคลุมธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องปิดกิจการอันเนื่องมาจากมาตรการปิดเมือง&nbsp; The purpose of this research was (1) to study the Entrepreneurs Assistance Measures.; (2) to study the problem of the Government Officials Discretion.; and (3) to offer the guidelines for the Government Officials Discretion within framework of law according to the Entrepreneurs Assistance Measures in the Epidemic Situation of the Coronavirus Disease 2019. This is documentary research. From this situation, the government has issued the measures for public health management, economy and society. A curfew has been announced under the Royal Decree on Public Administration in Emergency Situations B.E. 2548. From the spread of the virus, the entrepreneurs and various business groups are affected in all sectors. The government has imposed remedial measures in order to alleviate suffering from time to time continuously such as; the low-interest credit measures, the suspending on principal debt with reduce interest rates and extending the repayment period measures, the Rao-Chana Project, the section 33: We Love Each Other project and the measures of determine fine rates according to the Government Procurement and Supplies Management Act, B.E. 2560, etc. The research results found that the implements in various measures to remedy the situation still encounter the problem of adoption. Due to conduct of the Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations B.E. 2548, which is the law on maintaining state security but used to apply with the epidemic of communicable diseases situation, which is the public health threat. This Law was not set up to solve the problems of contagious diseases. These was not only cause to effect in unclear law enforcement of the authorities, but also contained the provisions excluding the jurisdiction of the Administrative Court. As a result, the Administrative Court was unable to control and inspect the exercise of the executive's discretion. For including problems, the authorities were not using the discretion due to lack of knowledge and understanding in discretion. Furthermore, as the reason at delay in exercising discretionary powers for assisting entrepreneurs despite that empowered by law. The researcher has recommendations that the Government should be reviewed the measures if there are infectious disease outbreak situation that will occur in the future.; Propose to amend the other laws that will be applied when the epidemic situation of a communicable disease occurs.; Separate the public health emergency management mechanism from the normal national security emergency system in clearly.; Raise the importance of mitigating impacts that damage on people and businesses. Besides this, the Government should plan for long-term support in order to formulate remedial measures to cover various businesses that must be closed their business due to the lockdown measures.</p> กาญจณา สุขาบูรณ์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9047 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม กับประสิทธิผลองค์การของสถานีตำรวจกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9048 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับทุนมนุษย์ ทุนทางสังคมกับประสิทธิผลองค์การของสถานีตำรวจกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทุนมนุษย์ต่อประสิทธิผลองค์การของสถานีตำรวจกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทุนทางสังคมต่อประสิทธิผลองค์การกองของสถานีตำรวจกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลโดยรวมของทุนมนุษย์และทุนทางสังคมต่อประสิทธิผลองค์การของสถานีตำรวจ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 ประชากร ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรภาค 1-9 จำนวน 1,394 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรภาค 1-9 จำนวน 301 แห่ง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตำรวจตอบกลับมาจำนวนทั้ง ทั้งสิ้น 1,450 คน จากสถานีตำรวจ 290 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยเทคนิคการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับทุนมนุษย์ ทุนทางสังคมและประสิทธิผลองค์การของสถานีตำรวจกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 อยู่ในระดับมาก 2) ทุนมนุษย์มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การของสถานีตำรวจกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (γ = 0.776, p&lt;.01) 3) ทุนทางสังคมมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การของสถานีตำรวจกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (γ = 0.214, p&lt;.01)&nbsp; 4) ทุนมนุษย์ร่วมกับทุนทางสังคมมีอำนาจการทำนายประสิทธิผลองค์การของสถานีตำรวจกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 ร่วมกันในระดับสูง (R2 = 0.881) โดยที่ค่าดัชนีความสอดคล้อง กลมกลืนของตัวแบบเป็นไปตามเกณฑ์กำหนด (X<sup>2</sup> = 820.427;&nbsp; df = 195;&nbsp;&nbsp; p-value = 0.067;&nbsp; X<sup>2</sup>/df = 4.207;&nbsp; RMSEA = 0.217;&nbsp; 90% CI on RMSEA = 0.104;&nbsp; CFI= 0.945;&nbsp; NNFI (TLI) = 0.958;&nbsp; SRMR = 0.047)&nbsp; The objectives of this study were; 1) to study the levels of human capital, social capital and organizational effectiveness of police stations under provincial police headquarters region 1-9., 2) to study the influence of human capital on organizational effectiveness of police stations under provincial police headquarters region 1-9., 3) to study the influence of social capital on organizational effectiveness of police stations under provincial police headquarters region 1-9. and 4) to study the influence of human capital and social capital on organizational effectiveness of police stations under provincial police headquarters region 1-9. The populations were 1,394 police stations. The samples were 301 police stations selected by multi-stage sampling technique. The respondents including 1,450 police officers from 290 police stations. The research instruments were 5 rating scales questionnaires. The data were analyzed using descriptive statistics and the inferential statistics. Structural Equation Modeling was applied as the analysis data method. The research result revealed that: 1) Human capital, social capital and organizational effectiveness of police stations under provincial police headquarters region 1-9 were at a high level. 2) Human capital had influenced statistically significant on organizational effectiveness of police stations under provincial police headquarters region 1-9. (γ = 0.776,<em>&nbsp;p</em>&lt;.01) 3) Social capital had influenced statistically significant on organizational effectiveness of police stations under provincial police headquarters region 1-9 (γ = 0.214,<em>&nbsp;p</em>&lt;.01) 4) Organizational effectiveness of police stations under provincial police headquarters region 1-9 was strongly influenced by human capital and social capital. (<em>R<sup>2</sup></em>&nbsp;= 0.881) In full model test, it described that the complete measurement fulfils the minimum required values of Goodness of-Fit (GoF) model which were mentioned respectively as follow: (X<sup>2</sup>&nbsp;= 820.427;&nbsp;df = 195;<em>&nbsp;p-</em>value = 0.067; X<sup>2</sup>/<em>df&nbsp;</em>= 4.207;&nbsp;RMSEA = 0.217;&nbsp;90% CI on RMSEA = 0.104; CFI<em>=</em>&nbsp;0.945; NNFI (TLI) = 0.958;&nbsp;SRMR = 0.047)</p> ไพจิตร สการันต์, อุษณี มงคลพิทักษ์สุข Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9048 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 เปรียบเทียบประสิทธิภาพการได้รับบริการสื่อสารด้วยระบบออนไลน์ของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการกับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9049 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการได้รับบริการด้วยการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในด้านการบริการต่าง ๆ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรมีจำนวน 20,353 คน โดยเป็นการสุ่มตัวอย่างตามสูตรของ&nbsp;&nbsp; ทาโร่ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 393 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ การทดสอบค่าที (t-test) ด้วยการวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบรวมกลุ่ม (Independent Sample t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพที่กลุ่มตัวอย่างได้รับบริการการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์จากบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการอยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศแตกต่างกัน การได้รับบริการผ่านระบบออนไลน์ไม่แตกต่างกัน และระดับชั้นปีที่ 1 ได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าระดับชั้นปีที่ 3 ส่วนปีอื่น ๆ&nbsp; ไม่แตกต่างกัน และการวิจัยครั้งนี้ มีผลต่อการปรับปรุงการบริการนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น&nbsp; The goal of this study was to examine the efficiency of the system of various online communication services offered by non-academic staff at the Prince of Songkla University's Hat Yai Campus. The study was quantitative research. The population was 20,353 undergraduates. Taro Yamane's formula was used for random sampling. The sample size was 393 students. For the analysis of statistical data, t-tests, independent sample t-tests, and F-tests were used. The sample group thought that the efficiency of online communication services was very high. From the hypothesis testing, it was found that undergraduates of different genders had no difference in receiving online services. The first-year students perceived that they received more efficient services than the third-year students. In other years, students found no differences in the online services they received. This research is beneficial for improving student services to be more efficient.</p> บรรพต วิรุณราช, อรรถพร หวังพูนทรัพย์, ปฏิพัทธ์ ปลอดทอง, รพีพรรณ เตชะพัฒน์สกุล Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9049 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 ระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐ : ศึกษากรณีการระบาด ของไวรัสโควิด-19 ในจังหวัดชลบุรี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9050 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐในสภาวะที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 เครื่องมือที่ใช้วิธีวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐสังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และสภากาชาดไทย จำนวน 23 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อหาข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐ ได้แก่ 1) ด้านการป้องกันโรค: ประชาชนได้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง บุคลากรขาดทักษะการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ประชาชนขาดความตระหนักในการป้องกันโรค 2) ด้านการรักษา: การบริหารจัดการงบประมาณล่าช้า อาคารสถานที่มีความแออัด ขาดแคลนแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อ และเทคโนโลยียังไม่สามารถสนับสนุนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ โรงพยาบาลรัฐควรพัฒนามาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ทักษะการใช้เครื่องมือทางการแพทย์สำหรับบุคลากร มาตรฐานการปฏิบัติงานเชิงรุก ศักยภาพการรักษาระดับโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างอาคารสถานที่ และระเบียบการบริหารจัดการงบประมาณ&nbsp; This qualitative study aimed to study problems and limitations in the operation of the government hospital's health service system during the outbreak of the COVID-19 virus. The research instruments were semi-structured interviews. Informant comprised 23 government agency executives under the Ministry of Interior and Ministry of Public Health with the Thai Red Cross Society. Data were collected using in-depth individual interviews and content analysis based on research objectives. The study found that: Problems and limitations in the operation of government hospitals are 1) Disease prevention: People were receiving intermittent treatment, personnel lack skills in using medical equipment, and people lack awareness of disease prevention. 2) Treatment: Regulations and administrative plans effect delays in funding support, the building is crowded, the lack of doctors who specialize in infection, and technology is still unable to support effective treatment. Suggestion: The government hospital should be developed the standards for the referral of patients to treatment, skills in using medical tools, proactive performance standards, and treatment potential at the level of general hospitals and community hospitals. In addition, the structure of the premises and regulations on budget management should be improved.</p> อนุรัตน์ อนันทนาธร, ธานี ขามชัย, ลัดดาวัล ฟองค์, รังสันต์ ไชยคำ, พัทธ์ชนก วิถีธรรมศักดิ์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9050 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9051 <p>การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ส่วนตัวต่อเดือน สถานภาพสมรสม และประสบการณ์ในการฝึกอาชีพ ใน 5 ด้านได้แก่ ด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ด้านวิธีการฝึกอบรม ด้านวิทยากรหรือครูฝึก ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านการประชาสัมพันธ์&nbsp; สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่&nbsp; การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test และ One-way ANOVA เพื่อทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปร โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความพึงพอใจด้านวิทยากรฝึกอบรมมากที่สุด ส่วนด้านอื่น ๆ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมาก&nbsp; ผลการศึกษาเปรียบเทียบโดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้&nbsp; พบว่า ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี ที่มีอายุ สถานภาพสมรส และประสบการณ์ในการฝึกอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรีไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้&nbsp; The research aimed to investigate and analyze trainees' satisfaction with Department of Skill Development 3, Chonburi, and compare these satisfaction levels based on various demographic factors such as gender, age, educational background, profession, monthly income, marital status, and previous training experience. This study focused on five critical areas: the training curriculum, method of training, the competence of trainers, venue and surroundings, and communication or public relations. Statistical methods used for data analysis included the calculation of frequency, percentage, mean, and standard deviation. To test the hypotheses, t-tests and One Way ANOVA were employed, maintaining a statistical significance level of 0.05, with pairwise comparisons made using LSD. The results indicated a high overall level of satisfaction among trainees towards the Department of Skill Development 3, Chonburi. Specifically, trainees expressed the highest satisfaction with the trainers, while the other aspects like training curriculum, method, public relations, and location and environment were also rated highly. Comparison of satisfaction levels revealed significant differences based on gender, educational background, profession, and monthly income, substantiating the proposed hypothesis with a statistical significance of 0.05. In contrast, when comparing satisfaction levels in relation to age, marital status, and previous training experience, no significant differences were observed, leading to the rejection of the hypothesis for these variables with a statistical significance of 0.05.</p> สิทธิชัย โพธิ์ทอง, โชติสา ขาวสนิท, วิเชียร ตันศิริคงคล, สรชัย ศรีนิศานต์สกุล Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9051 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 ความรับผิดของฝ่ายปกครองเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9052 <p>ในการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของรัฐ แต่ในขณะเดียวกันในการกระทำอันเดียวกันนั้นเอง อาจมีบุคคลบางกลุ่มหรือบางคนได้รับภาระหรือ ความเดือดร้อนมากกว่าคนอื่น ๆ เป็นพิเศษ ซึ่งรัฐควรต้องเยียวยาแก้ไขให้แก่บุคคลที่รับภาระเป็นพิเศษนั้นให้กลับมามีความเสมอภาคเท่า ๆ กับคนอื่น หลักนี้เรียกว่า “ความเสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ” หลักนี้ปรากฎอยู่ในหลักกฎหมายปกครองฝรั่งเศส ซึ่งเกิดขึ้นจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรและคำวินิจฉัยของสภาแห่งรัฐ ประกอบกัน&nbsp; และต่อมา ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนิยมนำมาใช้ในการอธิบายและให้เหตุผลเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐโดยปราศจากความผิด รวมทั้งในประเทศไทยก็ได้รับหลักกฎหมายนี้มาปรับใช้ด้วย ถึงแม้จะมิได้กล่าวโดยตรงแต่ก็มีคำพิพากษาที่อาศัยเหตุผลตามแนวทางของหลัก “ความเสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ” โดยนัย ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในการใช้และการตีความ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายบัญญัติรองรับหลักดังกล่าวนี้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจทำให้การใช้และการตีความกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของฝ่ายปกครองครอบคลุมการกระทำต่างๆมากยิ่งขึ้น และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจะมีขอบเขตที่กว้างและชัดเจนขึ้นด้วย&nbsp; Public service of the State is operating for the benefit of people. The most people get benefited according to the operational objectives of the state. But at the same time, some people who have been burdened or suffered more than others specially which the State should have to remedy for the person who bears that special burden to return to equality with others. This principle is known as "equality in the burden of the public services" It appears in French administrative law in a written law and a decision of&nbsp;Council of State. Later, countries around the world popularly brought to explain and justify state liability without fault. Including in Thailand, this law has been applied as well. Even if not said, but there are judgments based on the implicit. Therefore, for clarity in use of this principle, the provisions of this law should be amended to support this principle as a written law. Written law can make the use of administrative liability more comprehensive remedy.</p> กนกศักดิ์ พ่วงลาภ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9052 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9053 <p>การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้จัดการโรงเรียนหรือผู้แทน 2) ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้แทน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ 3) หัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการหรือผู้แทน และ 4) ครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) วิเคราะห์สถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านทักษะจำเป็น ด้านองค์ความรู้ และ ด้านภาระหน้าที่ ตามลำดับ 2. การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การวางแผนงานด้านวิชาการ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การวัดผลประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ตามลำดับ 3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านทักษะจำเป็น และด้านองค์ความรู้ ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถทำนายการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวม (Y<sub>tot</sub>) ได้ร้อยละ 52.9 สามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ (Y<sub>tot</sub>) = .478* + .508**(X<sub>3</sub>) + .323** (X<sub>1</sub>) ความสัมพันธ์การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .502**(X<sub>3</sub>) + .274** (X<sub>1</sub>)&nbsp; This research aimed to 1) study on leadership of private school administrators in Nakhon Pathom province; 2) study the academic administration of private schools in Nakhon Pathom province; and 3) study on the impacts of school administrators’ leadership on the academic administration of private schools in Nakhon Pathom province. Group of samples who provided the information consisted of 1) school administrators or representatives such as school director, or deputy director of academic administration department; 2) school managers or representatives; 3) head of the academic administration or representatives; and, 4) teachers. Total informants were from 320 samples. Questionnaire was the research tool. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, average, standard deviation, and Stepwise multiple regression analysis. Statistical analysis was conducted using ready-program. Results 1. Overall, leadership of private school administrators in Nakhon Pathom province was in high level. While considering on each aspect, all were also in high level. The average scores ranked from high to low were necessary skills, knowledge and responsibilities, respectively. 2. Overall, the academic administration of private schools in Nakhon Pathom province was in high level in all aspect. The average scores ranked from high to low were academic planning, internal quality assurance system development and education standard, research for the education quality development in school, measurement, assessment, and grades comparison transferring, learning process development, courses development by schools and management of teaching and learning in school, respectively. 3. Leadership of the school administrators on the aspect of necessary skills and knowledge affected the academic administration of private schools in Nakhon Pathom province at statistical significance level of .01. The overall academic administration of private schools in Nakhon Pathom province (Y<sub>tot</sub>) could be predicted at 52.9 percent. The multiple regression analysis relationship could be written in form of raw scores as follows: (Y<sub>tot</sub>) =.478* + .508**(X<sub>3</sub>) + .323** (X<sub>1</sub>). The multiple regression analysis relationship could be written in form of standard scores as follows: Z = .502**(X<sub>3</sub>) + .274** (X<sub>1</sub>)</p> กษิ นิติธนนันต์ , ขัตติยา ด้วงสำราญ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9053 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 การจัดการความมั่นคงทางทะเลของประเทศอินโดนีเซีย ยุคหลังประธานาธิบดีซูฮาร์โต้: การวิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9054 <p>บทความแสดงให้เห็นนโยบายและยุทธศาสตร์ทางทะเลของประเทศอินโดนีเซียหลังสิ้นสุดยุคประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนานโยบายทางทะเลที่พึ่งพาได้และสอดคล้องกับความสำคัญด้านความมั่นคงทางน้ำของประเทศอินโดนีเซีย บทความยังวิเคราะห์แนวทางที่รัฐบาลใช้บริหารจัดการความมั่นคงทางทะเล รวมถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติให้สอดรับกับเครื่องมือในระดับองค์กรระหว่างประเทศ บทความยังศึกษาถึงบทบาทขององค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายทางทะเล ผู้เขียนใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาทำความเข้าใจความมั่นคงทางทะเลของอินโดนีเซียจากสภาพความเป็นจริง ผ่านผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ เช่น กองทัพเรืออินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นเวลาล่วง 20 ปีหลังจากสิ้นสุดการปกครองของประธานาธิบดีซูฮาร์โต และการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาประเทศทางบกเป็นหลักโดยละเลยความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ทางทะเล ประเด็นสำคัญคือการที่ประธานาธิบดีในแต่ละยุคสมัยจัดลำดับความสำคัญการพัฒนาประเทศและพัฒนานโยบายของชาติผ่านการบังคับใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับกระทรวงและองค์กรที่เกี่ยวข้อง กฎหมายและบทบัญญัติที่สอดคล้องกับท้องทะเลและความมั่นคงทางทะเลต้องให้ความสำคัญสูงสุดในการวิเคราะห์ งานวิจัยฉบับนี้ยังแสดงให้เห็นนโยบายของชาติที่นำไปสู่ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางทะเลในยุคหลังการบริหารงานของประธานาธิบดีซูฮาร์โต งานวิจัยได้วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกส่วนงานความมั่นคง กฎหมายทุกฉบับ การนำไปสู่การบังคับใช้ข้อบังคับต่างๆ การศึกษายังเพ่งเล็งไปที่การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 6 ข้อ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีของ แวน มิเตอร์ และ แวน ฮอร์น ในการวิเคราะห์จำนวนนโยบายและยุทธศาสตร์ที่นำไปใช้ งานวิจัยชี้ให้เห็น 13 องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางทะเลของอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ด้วยการขาดนโยบายความมั่นคงทางทะเลที่เป็นทางการ รัฐบาลอินโดนีเซียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องยกระดับความพยายามในการรักษาความมั่นคงทางทะเล ต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่หลากหลายด้วยความท้าทายในการบริหารจัดการพื้นที่ทางทะเลอันกว้างใหญ่ภายใต้อำนาจทางกฎหมายของอินโดนีเซีย และเป็นเรื่องสำคัญที่จะกำหนดนโยบายในระดับกระทรวงที่จะปกป้องและสร้างความมั่นใจในการรักษาทรัพยากรและเครื่องมือที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ เพื่อทำความเข้าใจจุดยืนของรัฐบาลในเรื่องการสร้างการรับรู้ด้านความมั่นคงทางทะเล จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ถึงกฎหมายและข้อบังคับที่สอดคล้องกับบริบททางทะเลของประธานาธิบดีอีก 5 คน ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีซูฮาร์โตอีกด้วย ได้แก่ บี.เจ.ฮาร์บีบี, อับดูร์ระฮ์มัน วาฮิด, เมกาวาตี ซูการ์โน บุตรี, ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน และ โจโค วิโดโด้ อันเนื่องด้วยประธานาธิบดีแต่ละท่าน ก็มีการกำหนดนโยบายทางทะเลและนโยบายความมั่นคงทางทะเลที่ต่างกัน ซึ่งบทความฉบับนี้ได้รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปไว้เรียบร้อยแล้ว&nbsp; The paper thoroughly examines Indonesia’s maritime policies and strategies in the post-Suharto era. Its ultimate objective is to develop a dependable Maritime Policy that prioritizes the security of Indonesian waters. This paper analyzes how the Indonesian government maintains maritime security, including policy implementation and adoption of international instruments. It also studies the roles of major government agencies in maritime law enforcement. The author utilizes qualitative research to understand maritime security practices in this study, with esteemed participants like the Indonesian Navy and Defense University. It has been two decades since President Suharto's administration fell, and the nation's development has been primarily land-focused, neglecting the importance of developing the maritime space. It is crucial that each president prioritizes national development and creates a National Policy as a law to be implemented by the relevant ministries and stakeholders. The laws and regulations related to maritime and maritime security must be analyzed with utmost importance. This research thoroughly examines the national policies that led to maritime security strategies post-President Suharto's administration. The analysis encompasses all stakeholders relevant to maritime security and the number of laws and regulations implemented. The study will focus on the six variables of the Policy Implementation Theory introduced by Van Meter and Van Horn to analyze the number of policies and strategies implemented. This research highlights thirteen state actors dealing with maritime threats to Indonesia. Despite lacking an official national maritime security policy, the Indonesian government and relevant agencies have made commendable efforts to secure its waters. Coordinating multiple maritime law enforcement entities remains a major challenge as they operate across a large area under Indonesia's jurisdiction. It is also important for them to align policies at the ministerial level to prevent duplication of efforts and ensure that resources and assets meet the demands. To understand the government's stance on maritime security awareness, it is important to analyze the laws and regulations related to maritime affairs issued by the five Presidents who succeeded the Suharto government - BJ Habibie, Abdurrahman Wahid, Megawati Sukarno Putri, Susilo Bambang Yudhoyono, and Joko Widodo. Despite differing priorities, each President has committed to developing the maritime sector and ensuring maritime security. This research has collected and analyzed all relevant laws and regulations to draw this conclusion.</p> Hidayat Rahman, อนุรัตน์ อนันทนาธร, วิเชียร ตันศิริคงคล Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9054 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 รูปแบบความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9055 <p>การวิจัยเรื่องรูปแบบความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าของกิจการ ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ และหัวหน้า ที่ดำเนินธุรกิจรถยนต์มือสองในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 460 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีสัดส่วน และกำหนดโดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและแบบจำลองสมการโครงสร้างในงานวิจัยเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจำลองโครงสร้าง (หลังปรับโมเดล) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าค่าไค-สแควร์ (X<sup>2</sup>) มีค่า 118.94 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value = 1.00 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (X<sup>2</sup> /df) = 0.61 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) = 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.97 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA) = 0.000&nbsp; ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่า จากผลการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปร พบว่า ตัวแปรด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองมากที่สุด&nbsp; This research on success model of used car business in Thailand aims to study on: success level of used car business in Thailand; causal factors affecting to success of used car business in Thailand. This research on success model of used car business in Thailand. This research was conducted in the form of quantitative research. The sample group consisted of 460 samples including entrepreneurs, managers, assistant managers, and supervisors who were operating used car business in Bangkok. They were obtained by using proportional random sampling under the criteria of 20 times of observed variables. Research tools were questionnaires. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and structural equation model for quantitative research and content analysis for qualitative research. The results of Goodness of Fit Index (GFI) of structural model (after adjusting) revealed that: Chi-square (X<sup>2</sup>) was 118.94 with statistical satisfaction at p-value = 1.00; relative Chi-square (X<sup>2</sup>/df) = 0.61; Comparative Fit Index (CFI) = 1.00; Goodness of Fit Index (GFI)= 0.98; Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.97; and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.000. All values passed the criteria. From analyzing on influence of variables, it was found that variables on characteristics of entrepreneurs had direct influence and total influence on success of used car business in the highest level.</p> สัณหพัฒน ตันติธนาทรัพย์, เจตน์สฤษฎิ์ อังศุกาญจนกุล , อนันต์ รัศมี Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9055 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 การศึกษาการนำนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) ไปปฏิบัติ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9056 <p>งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรปัจจัยที่มีต่อนโยบาย 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของบุคลากรต่อนโยบายกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้บางออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากบุคลากรในเมืองพัทยา จำนวน 319 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและตัวแปรเชิงอนุมาน โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในการทดสอบสมมติฐานการวิเคราะห์ใช้สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน กลุ่มที่ 2 เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักบุคลากรในเมืองพัทยา จำนวน 10 คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก เพื่อยืนยันผลการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัย 1. การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรปัจจัยที่มีต่อนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) พบว่า โดยภาพรวมบุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2. การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรในการนำนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) ไปปฏิบัติ พบว่า โดยภาพรวมบุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3. การสำรวจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของบุคลากรต่อนโยบายกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรปัจจัยที่มีต่อนโยบายโดยรวมแต่ละด้าน มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของบุคลากรในการนำนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) ไปปฏิบัติ มีทิศทางความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน โดยแต่ละปัจจัยมีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติและผู้รับบริการ ด้านระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ด้านการสนับสนุนของหน่วยงานปฏิบัติ ด้านคุณลักษณะของหน่วยงานที่ปฏิบัติ และด้านความเพียงพอของทรัพยากร ส่วนปัจจัยที่มีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย&nbsp; The objectives of this research were as follows 1. examine the opinions of personnel factors regarding the policy. 2.To investigate the opinions of personnel on the implementation of the policy. and 3. To explore the factors related to the relationship between personnel opinions on the policy and its implementation. The research methodology employed a mixed-methods approach, combining quantitative and qualitative research. The two sample groups used in this study consisted of Group 1, A quantitative data was collected by using questionnaires from 319 participants in Pattaya City, and Data analysis utilized statistical methods such as descriptive statistics, inferential statistics, and correlation analysis. The statistical techniques used included frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test, ANOVA, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. Group 2 A qualitative data was collected from 10 key informants from the city of Pattaya and data were collected through in-depth interviews. To validate the result of qualitative research. Research Results: 1. The survey of personnel opinions regarding the Neo Pattaya City Development Policy (2020-2022) that, overall, the personnel had a high level of opinion. 2. The survey of personnel opinions on the implementation of the Neo Pattaya City Development Policy (2020–2022) that, overall, the personnel had a high level of opinion. 3. The survey examined factors related to the relationship between personnel opinions on the policy and the implementation of the policy. It was found that the personnel’s opinions on various aspects of the policy were correlated with their opinions on implementing the development policy of the Neo Pattaya City Development Policy (2020–2022) in the same direction. Each factor had a level of correlation that ranked high as follows: the factor of participation of practitioners and service recipients, the factor of communication systems between organizations, the factor of support from implementing agencies, the factor of characteristics of the implementing organizations, and the factor of resource adequacy. The factor with a moderate correlation was the factor of standards and objectives of the policy.</p> ภาสินี คุ้มคง, อนุรัตน์ อนันทนาธร Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9056 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9057 <p>การศึกษาเรื่อง การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและสำรวจตำแหน่งที่ตั้งจุดสนใจ ครัวเรือน และสร้างฐานข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนดงบัง 2) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการและเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการชุมชนโดยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนเป็นฐาน และ 3) เพื่อพัฒนาต่อยอดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนดงบัง ด้วยการสร้างแผนที่ออนไลน์ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาและการวิจัยจากเอกสารและการลงสำรวจข้อมูลภาคสนาม ร่วมกับแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ได้แก่ ปราชญ์ชุมชน ผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง และประชากรในชุมชนดงบัง จำนวน 110 คน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่พื้นที่ของชุมชนดงบังเป็นที่ราบสลับกับป่าโปร่ง มีน้ำขังตลอดปีแต่ไม่เพียงพอกับการใช้ในการเกษตรทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง สภาพสังคมและเศรษฐกิจ พบว่า&nbsp; ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม&nbsp; คือ การทำนา ส่วนการตั้งถิ่นฐานและครัวเรือนจะมีลักษณะเกาะกลุ่มกัน สภาพการบริหารจัดการและเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการชุมชน โดยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนเป็นฐาน พบว่า ชุมชนดงบังมีทุนทางวัฒนธรรมจำนวนมาก นอกเหนือไปจากสิมและฮูปแต้มที่ปรากฏ ณ วัดโพธารามและวัดป่าเลไลย์ และการพัฒนาต่อยอดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนดงบัง ด้วยการสร้างแผนที่ออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งที่ตั้งแหล่งทุนทางวัฒนธรรม&nbsp; ซึ่งได้แก่ วัด แหล่งโบราณคดี ครัวเรือนที่ทอผ้าทำการเกษตร แปรรูปอาหาร และงานหัตถกรรม&nbsp; The study focuses on the integration of cultural capital for community management and development through community participation in the Dong Bang community, Na Dun District, Maha Sarakham Province. The objectives were to 1) investigate locations, households, and develop a cultural capital database for the community, 2) assess the present community management and recommend strategies utilizing the community's cultural capital, and 3) foster economic growth by leveraging the cultural capital of the Dong Bang community via the development of an online map. The research methodology incorporated document analysis and field data collection involving 110 participants including key community informants, leaders, and residents. The study disclosed that the community mainly comprises alternating plains and open forests, with persistent water bodies that are inadequate for agricultural activities in the dry season, leading to water shortages. Most of the community members are involved in agriculture, with settlements being clustered. In terms of social and economic aspects, it was found that the Dong Bang community is rich in cultural capital including symbols like Sim and Hup Taem located at Wat Photharam and Wat Pa Lai Lai, and other assets like textile production, agriculture, food processing, and handicrafts. To harness the cultural capital for economic advancement, an online map was designed to highlight and share information about the locations of these cultural resources such as temples, archaeological sites, textile workshops, agricultural activities, food processing, and handicrafts. This approach aims to promote and capitalize on the diverse cultural assets of the community to achieve enhanced community management and economic development.</p> กันตา วิลาชัย, ธัญญรัตน์ ไชยคราม, ขวัญตา เบ็ญจะขันธ์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9057 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 อิทธิพลของพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพการสื่อสารและประสิทธิผลการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9058 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพการสื่อสารและประสิทธิผลการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัวแปร ได้แก่ ประสิทธิผลการทำงาน พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร และประสิทธิภาพการสื่อสาร ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 10 ตัวแปร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 100 คน จาก 20 หน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพการสื่อสารและประสิทธิผลการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X<sup>2</sup>= 23.61, df = 24, p = 0.48, GFI = 0.95, AGFI = 0.90, CFI = 1.00, NFI = 0.91, NNFI = 1.00, RMSEA = 0.00, RMR = 0.02) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการสื่อสารและประสิทธิผลการทำงาน ได้ร้อยละ 28 และร้อยละ 76 ตามลำดับ โดยพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการสื่อสาร พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการทำงาน และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านประสิทธิภาพการสื่อสาร&nbsp; The purpose of this research was to construct and confirm that causal relationship model of organizational communication behavior on communication efficiency, and the work effectiveness of Burapha University lecturers was consistent with the empirical data. The proposed model included three latent variables: work effectiveness, organizational communication behavior, and communication efficiency, which were operationalized through 10 observed variables. The study's participants comprised 100 lecturers spread across 20 faculties. Data collection was performed via questionnaires, and the subsequent analysis employed descriptive statistics, Pearson Product-Moment Correlation Coefficient with statistical software package. Confirmatory factor analysis and structural equation modeling were performed with LISREL 8.72. The results showed that the modified model aligned well with the empirical data. A good model fit was demonstrated by the following statistical values: X<sup>2</sup>= 23.61,&nbsp;<em>df</em>&nbsp;= 24,&nbsp;<em>p</em>&nbsp;= 0.48,&nbsp;<em>GFI&nbsp;</em>= 0.95,&nbsp;<em>AGFI&nbsp;</em>= 0.90,&nbsp;<em>CFI&nbsp;</em>= 1.00,&nbsp;<em>NFI&nbsp;</em>= 0.91,&nbsp;<em>NNFI&nbsp;</em>= 1.00,&nbsp;<em>RMSEA</em>&nbsp;= 0.00,&nbsp;<em>RMR&nbsp;</em>= 0.02. Within the model, the variables explained 28% of the variance in communication efficiency and 76% of the variance in work effectiveness. The study concluded that organizational communication behavior directly influences communication efficiency and work effectiveness, as well as exerting an indirect effect on work effectiveness through communication efficiency.</p> วรธรรม พงษ์สีชมพู Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9058 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 ทัศนคติและประสบการณ์ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ส่งผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการด้านความเชื่อบนช่องทางออนไลน์ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9059 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและประสบการณ์ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานครที่ส่งผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการด้านความเชื่อบนช่องทางออนไลน์ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์และบริการด้านความเชื่อบนช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสาหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และการสัมภาษณ์เชิงลึกสาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติของผู้บริโภคโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.68) และประสบการณ์ของผู้บริโภคโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.64) เมื่อวิเคราะห์สมมติฐานที่ 1 ทัศนคติของผู้บริโภค เจเนอเรชันวายมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการซื้อผลิตภัณฑ์และความเชื่อทางช่องบนออนไลน์ ออนไลน์ โดยมีปัจจัยย่อย ได้แก่ ด้านความเข้าใจ ด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 และสมมติฐานที่ 2 ประสบการณ์ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการซื้อผลิตภัณฑ์และความเชื่อทางช่องบนออนไลน์ โดยมีปัจจัยย่อย ได้แก่ ด้านความรู้สึก ด้านความคิด และด้านการเชื่อมโยง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านการกระทำ ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05&nbsp; This research aims to study the attitudes and experiences of Generation Y consumers in Bangkok that affecting faith-based product and service purchases through online channel with a mixed research method the sample group used is 400 generation Y consumers in Bangkok who have purchased faith-based products and purchases through online channel. The research instrument was a questionnaire for quantitative data. and in-depth interviews for qualitative data. Statistics used in data analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation. and multiple regression analysis. The results of the research found that the overall consumer attitude is at a high level (average = 3.68) and the overall consumer experience is at a high level (average = 3.64). When analyzing hypothesis 1, the attitude of generational consumers Chanwai has a positive influence on purchasing products and beliefs via online channels, with sub-factors including understanding. Emotional aspect and behavioral There is a significant statistical relationship at the 0.05 level and Hypothesis 2: The experience of Generation Y consumers has a positive influence on product purchases and beliefs via online channels. The sub-factors include feelings, thoughts and connections. There is a statistically significant relationship. Action part There is no relationship with statistical significance at the 0.05 level.</p> อรสุภัค ผัดวัง , จิตพนธ์ ชุมเกตุ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9059 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 แนวทางการพัฒนาอาชีพด้วยแบบจำลองโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์จากเส้นไยกัญชง กรณีศึกษา เขตเทศบาลตำบลบางพระ จังหวัดชลบุรี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9060 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะโซ่อุปทานและโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกัญชง 2) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลอาชีพที่เกี่ยวข้องจากโครงสร้างโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เส้นใยกัญชง 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างอาชีพให้กับชุมชนเทศบาลตำบลบางพระ ใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณศึกษาจากผู้อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางพระจำนวน 389 ตัวอย่างเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบ 5 ตัวเลือก และการวิจัยเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่กลุ่มตัวแทนหน่วยงานเทศบาล กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มตัวแทนจากชุมชนกลุ่มละ 3 ตัวอย่างด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาร่วมกับการวิเคราะห์เชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่าประเด็นหัวข้อที่ได้รับคะแนนความคิดเห็นมากที่สุดคือการที่ชุมชนสามารถพัฒนาอาชีพเกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกัญชงผ่านระบบออนไลน์ได้ ที่ระดับคะแนน 3.87 (เห็นด้วย) รองลงมาคือชุมชนสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิต (ถัก ทอ เย็บ) เส้นในกัญชงได้ที่ระดับคะแนน 3.84 (เห็นด้วย) และลำดับที่สามคือชุมชนสามารถพัฒนาอาชีพเกี่ยวกับการผลิต (ถัก ทอ เย็บ) ได้ที่ระดับคะแนน 3.80 (เห็นด้วย) โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญคือการให้ความรู้ด้านการผลิต การจัดจำหน่ายผ่านร้านค้าในพื้นที่และระบบออนไลน์ และการสร้างรายได้ นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนด้านงบประมาณและเครือข่ายจากโซ่คุณค่าควรสนับสนุนด้านวัตถุดิบ ผลการวิจัยสามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ได้ว่า กิจกรรมของโซ่คุณค่าที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพแก่ชุมชนคือการผลิต การจัดจำหน่าย และการสร้างมูลค่าจากเครือข่าย ดังนั้นการวางนโยบาย การสนับสนุน และการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชนจึงควรให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ได้รับการยอมรับเหล่านี้เพราะชุมชนให้การยอมรับว่าสามารถนำไปพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนได้&nbsp; The objectives of this research were 1)<strong>&nbsp;</strong>to<strong>&nbsp;</strong>study the characteristics of the supply chain and value chain of hemp fiber products. 2) to analyze information on occupations related to value chain of hemp fiber products. 3) to suggest guideline of jobs creating for Bang-Phra subdistrict municipality community. Mixed research method was used in this research. The quantitative research was studied from 389 sampling of residents in Bang-Phra subdistrict municipality which collected data by 5-scale Questionnaire. The qualitative research was studied from informant groups which were officer of Bang-Phra subdistrict municipality, community leaders and community agents, 3 sampling per groups by in-depth interviews. The data were analyzed with descriptive statistics and descriptive analysis. The research results were found that the topic received the highest point was community can develop an online sales career at 3.87 (agree). Next, the community could learn production methods (Knitting, weaving, sewing) at 3.84 (agree).&nbsp; The community could develop career of producer (Knitting, weaving, sewing) at 3.80 (agree). The important development guideline was to provide knowledge about production, selling in shop, selling online and income generating. And then, the government should support budget and value chain network should support inbound raw material. The research results could synthesize knowledge that value chain activities relate to job creation for communities was production, sales and value-added generating. So, policy planning, supporting and budget management to promote careers should build on these topics because communities accepted that it could lead to job development for the community.</p> อุษา สถิตย์มั่น, ทรงธรรม เจริญจันทร์, รชตธำรงค์ พชรมนต์ชัย, ชนาพร บุญเกิด Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9060 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อการเคลื่อนไหวดัชนีราคาหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9061 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อการเคลื่อนไหวดัชนีราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยแบบจำลอง VAR โดยใช้ ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาหลักทรัพย์ 8 กลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลรายเดือนแบบอนุกรมเวลา ตั้งแต่เดือน มกราคม 2561 ถึงเดือนธันวาคม 2565 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระยะเวลา ทิศทาง และการเป็นส่วนประกอบความแปรปรวนของปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์ 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์ในอดีตเป็นสำคัญ ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และดัชนีราคาผู้บริโภค ตามลำดับ ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้น นักลงทุนควรพิจารณาการเปลี่ยนแปลง ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และดัชนีราคาผู้บริโภค มาประกอบการตัดสินใจลงทุน นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในฐานะผู้ดูแลตลาดทุนของประเทศไทย ควรดำเนินนโยบายให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีการป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนของปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนก่อให้เกิดการพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน&nbsp; This study used the VAR model to study the relationship between economic factors and the stock price index movement in the Stock Exchange of Thailand (SET). Oil price, exchange rate, consumer product index, and stock price indices of 8 industry groups in the Stock Exchange of Thailand (SET) were employed and studied as variables. Time series monthly data was collected from January 2018 to December 2022 to study and compare the duration, direction, and variance composition of economic factors affecting the changes in stock price indices of 8 industrial groups. The results of the study indicated that changes in stock price indices depend mainly on past changes in stock price indices, followed by oil prices, exchange rates, and the consumer product index, respectively. Therefore, investors should consider oil prices, exchange rates, and consumer product indexes in investment decisions to prevent risks arising from potential fluctuations. In addition, the Securities and Exchange Commission (SEC), as Thailand’s capital market supervisory board, should implement a policy for companies listed on the stock exchange to protect against risks from fluctuations in macroeconomic factors in order to promote the efficiency of investment and to contribute the sustainable development of the Thai capital market.</p> วิวัฒน์วงศ์ บุญหนุน, ณัฐพร ผ่องอรัญ, นัทชา โสภาพร, นิธิภักดิ์ กทิศาสตร์, นันทนา งามตามพงศ์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9061 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนด้วยการลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วยการบริหารจัดการโซ่อุปทานแบบกรีน (Green Supply Chain Management): กรณีศึกษาธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหาร https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9062 <p>ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัยตั้งแต่ยุคการเกษตร ยุคอุตสาหกรรม ที่มีการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้มีการคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา จนก่อให้เกิดปัญหาในหลายๆ ด้าน เช่น สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหามลพิษทางน้ำ และทางอากาศ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากน้ำมือของมนุษย์ที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างไม่มีความระแวดระวัง และเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ เพิ่มขึ้น สังคมและผู้บริโภคก็ได้มีแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยการมุ่งเน้นการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นต้นเหตุให้ผู้ประกอบการต่างๆ ต้องเปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินงานในองค์กรให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น จนก่อเกิดเป็นแนวคิด Green Supply Chain ดังเช่น บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด และบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ในการมุ่งเน้นการเป็นผู้นำนวัตกรรมอาหารไทยสู่ตลาดโลก ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ได้มีการนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนด้วยการลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด Green Supply Chain&nbsp; During the past, business in Thailand has been passed down for several years since agricultural and industrial era which consumed all natural resources and environment regardless of the consequences which caused various problems, for example changing climate, water and air pollution etc. All of these are arising out of human behavior in consuming the limited natural resources without caution. As more problems occurred, our community and consumers have changed their perceptions by focusing on environmental friendly consumption which causes the entrepreneurs to change their business operation to be more environmental friendly until the concept of Green Supply Chain has been emerged like Ampol Foods Processing Limited. And S&amp;P Syndicate Public Company Limited Vision of this company emphasizes on the innovation leader of Thai Food to Global market with society and environmental responsibility. This concept has been adapted into sustainable business operation by reducing the effect toward its community and environment under the concept of APF Green Supply Chain.</p> สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา, กนกอร เนตรชู, สุรธันย์ ปาละพรพิสุทธิ์, เนรัญชลา กำไลทอง, วิภาวรรณ จันทร์ประชุม, วิภาวรรณ ทองเนียม, น้ำฝน เสนางคนิกร, อุทัย แก้วกลม, นิธินพ ทองวาสนาส่ง Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9062 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนากฎหมายกองทุนการประกอบอาชีพผู้สูงอายุกับการพึ่งพาตนเอง https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9063 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายกองทุนการประกอบอาชีพผู้สูงอายุกับการพึ่งพาตนเอง เกี่ยวกับเงื่อนไขการค้ำประกันกู้ยืมเงินกองทุนของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงการส่งเสริมการประกอบอาชีพ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากกฎหมาย หนังสือ บทความวิชาการและเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 11 (3) รัฐให้การส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพ และมาตรา 13 ให้จัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ โดยเป็นเงินทุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ส่วนหนึ่ง ส่วนประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2549 ข้อ 3 (4) กำหนดให้ผู้สูงอายุขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพต้องมีคุณสมบัติ และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือตามที่ผู้อำนวยการกำหนดค้ำประกัน สำหรับประกาศในข้อกำหนดสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ว่าด้วยคุณสมบัติผู้กู้ยืม ผู้ค้ำประกัน และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพประเภทรายบุคคล จากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2556 ข้อ 5 กำหนดว่าต้องมีผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินโดยมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ จึงทำให้ผู้สูงอายุที่กู้ยืมเงินได้รับเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเงื่อนไขและอุปสรรค ต่อการกู้ยืมเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ ส่วนระยะเวลาการคืนเงินกองทุนผู้สูงอายุ ตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ 2549 ข้อ 5 (3) ให้ผู้สูงอายุกู้ยืมเพื่อเป็นทุนการประกอบอาชีพเป็นรายบุคคลคนละไม่เกิน 30,000 บาท และให้ผ่อนชำระคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้วิจัยขอเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2549 เรื่องการค้ำประกันใน ข้อ 3 (4) และ แก้ไขเพิ่มเติม ระยะเวลาการคืนเงินกองทุนผู้สูงอายุ ข้อ 5 (3) เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560&nbsp; The purpose of the research is to study the law concerning to elderly occupational fund and self-reliance regard in the conditions of guarantors. Relevant regulations provide the way for elderly people borrowing money from the fund. The research uses qualitative research methods with the study from laws, books, articles and documents. The study found that Section 11(3) of the Elderly Act B.E.2003 provides the promotion and support of the elderly in occupation and Section 13 provides for the establishment of an elderly fund. The announcement of the Executive Committee of the Senior Citizen Fund Re: Other criteria and conditions for financial support from the Senior Citizen Fund 2006 Article 3 (4) requires that the elderly applying for an occupational loan must have qualifications and have a credible person as a guarantor approved by the Director. According to the announcements in the regulations of the Office of Child Welfare and Protection On the qualifications of borrowers, guarantors and criteria for considering loans for individual occupational finance from the Senior Citizens Fund B.E. 2013, Clause 5 stipulates that there must be guarantors of loans with qualifications as specified to the elderly who borrows money is eligible to receive money from the Senior Citizen Fund, such requirements are both conditions and obstacles in term of loans from the Senior Citizen Fund , the refund period of the Senior Citizens' Fund, according to the announcement of the Executive Committee of the Senior Citizen Fund Re: Criteria and Conditions for Financial Support from the Elderly Fund 2006, clause 5 (3), the elderly shall be loaned to finance their individual occupation not exceeding 30,000 baht per person and shall be repaid in installments within a period not exceeding 3 years without interest charge. Some suggestions include the amendment of the announcement of the Executive Committee of the Senior Citizen Fund Re: Criteria and Conditions for Financial Support from the Elderly Fund 2006 1) the amendment of guarantees in Article 3(4) and 2) the amendment of the period of refund of the Senior Citizen Fund Article 5 (3) to comply with the Elderly Act B.E.2003 and the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560</p> ปวริศา ผลกล้า, จิดาภา พรยิ่ง Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9063 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การ แรงจูงใจภายใน และประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9064 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลกับประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและแรงจูงใจภายใน (2) การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและแรงจูงใจภายในที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ (3) อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การ แรงจูงใจภายใน และประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณรูปแบบการสำรวจมีแบบประเมินประกอบด้วย แบบประเมินแรงจูงใจภายใน การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การ ประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล&nbsp; ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพว่า มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อถือได้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างคือ ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) จำนวน 170 คน สำหรับการวิเคราะห์เชิงพรรณนาคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมานคือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงแปรผันตามประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและแรงจูงใจภายใน (2) การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและแรงจูงใจภายในมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ (3) ประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล&nbsp; The purposes of this research were to study: (1) the relationships between creative self-efficacy, perceived organizational support for creativity, intrinsic motivation, and individual creativity<strong>,&nbsp;</strong>(2) perceived organizational support for creativity, intrinsic motivation influencing creative self-efficacy, and (3) creative self-efficacy, perceived organizational support for creativity, and intrinsic motivation influencing individual creativity. This research employed a quantitative research considered as the survey model which was examined its quality through the validity and reliability as the instrument for data collection. The population was civil servant of the Public Sector Development Commission (OPDC). The researcher determined the size of sample group according to the Yamane’s calculation determined the sample group for not less than 144 persons at the error value of 5%, and the reliability of 95%. The researcher extended the samples for 170 persons more to increase the benefits of research and data analysis. The descriptive analysis included Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation. The analysis by Inferential Statistics included Pearson’s correlation, and stepwise multiple regression analysis. Findings are as follows: (1) The researcher found that individual creativity was positively correlated with perceived organizational support for creativity, creative self-efficacy, intrinsic motivation, (2) Factoring influencing creative self-efficacy was perceived organizational support for creativity and intrinsic motivation, and (3) Factoring influencing individual creativity was creative self-efficacy.</p> เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน , สิริพร ฑิตะลำพูน, โกสินทร์ เตชะนิยม, อาจารี ฤทธิชัย, อภิชาติ กิตติศักดิ์นาวิน , ศรวิชา กฤตาธิการ, กรภภาส์ ปักษานนท์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9064 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 ความพร้อมทางด้านกฎหมายของประเทศไทยในการเป็นภาคีอนุสัญญา ขององค์การยูเนสโก ว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ค.ศ. 2005 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9065 <p>การศึกษาครั้งนี้มุ่งที่จะศึกษาความพร้อมทางกฎหมายภายในประเทศไทยสำหรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาขององค์การยูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ค.ศ. 2005 โดยตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางการแสดงออกทางวัฒนธรรม รวมถึงศึกษาเจตนารมณ์ หลักการ มาตรการและกลไกของอนุสัญญาฯ ที่จะมีผลต่อการเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ตลอดจนปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมเป็นภาคีและอนุวัติพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ โดยเน้นการสร้างสมดุลระหว่างประโยชน์ของความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม รวมถึงการอนุรักษ์ความหลากหลายในการแสดงออกทางวัฒนธรรมกับภาพรวมและผลกระทบทางวัฒนธรรม สังคม กฎหมาย เศรษฐกิจ การเมือง และอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมไทยในอนาคต ตลอดจนความเป็นไปได้และแนวทางการนำไปปรับใช้กับบริบทของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม โดยที่ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงทางการเมืองในเชิงนโยบายที่จะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ผ่านการรับรองอนุสัญญาฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 การศึกษาพบว่าประเทศไทยมีความพร้อมทางกฎหมายที่จะรองรับการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี เนื่องจาก อนุสัญญาฯ ไม่ได้มีสภาพบังคับอย่างเข้มงวด ในทางตรงกันข้าม อนุสัญญาฯ มีความยืดหยุ่นและให้สิทธิอธิปไตยแห่งตน (Sovereign right) แก่รัฐภาคีค่อนข้างสูง สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีการพิจารณาเพื่ออนุวัติการกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้ประเทศไทยสามารถดำเนินการเพื่อให้เกิดการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรมในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1. การปรับปรุงกฎหมายที่กำหนดคำนิยามที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจนและครอบคลุม เช่น ความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม และสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม 2. การปรับปรุงหรืออนุวัติการกฎหมายภายในประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องสำคัญ ได้แก่ ด้านวัฒนธรรม ขยายความครอบคลุมให้รวมไปถึงประเด็นความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับการค้า 3. ด้านการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา &nbsp;การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการเกิดผู้ประกอบการรายใหม่และรายย่อยที่เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม รวมถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4. ด้านสื่อสารมวลชนและสภาพแวดล้อมดิจิทัล ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อแบบเดิมและสมัยใหม่ โดยลดข้อจำกัดและการผูกขาดในการผลิตสื่อ 5. ด้านสิทธิและความเสมอภาค ปรับปรุงกลไกทางกฎหมายให้สามารถขจัดการเลือกปฏิบัติหรือลดผลกระทบจากการกระทำดังกล่าวให้น้อยที่สุด และ 6. ข้อเสนอให้ประเทศไทยอาจพิจารณาการจัดทำกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรมเป็นการเฉพาะ โดยกฎหมายดังกล่าวต้องมีความครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องที่กล่าวมาแล้ว&nbsp; This study aims to examine the legal considerations for Thailand in becoming a party of the 2005 UNESCO Convention on the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural Expressions. It was conducted by inspecting the laws related to the diversity of cultural expressions, studying the intentions, principles, measures, and mechanisms of the Convention that will affect the process of becoming the party to the Convention as well as other factors involved in ratification and implementation of obligations under the Convention. This research paper also emphasizes balancing the benefits of cooperation and cultural exchange, protection of the diversity of cultural expressions with an overview and impacts on culture, society, law, economy, politics, and others to Thai society in the future, as well as possibilities and guidelines for appropriate adaptation to the context of Thailand. Additionally, Thailand has shown its political intention to become the party of the Convention which was adopted on 20 October 2005. The study found that Thailand’s legal readiness could accommodate some of its obligations under the Convention. Nonetheless, the Convention is flexible and grants relatively high sovereign rights to States Parties. Consequently, this reflects the need for Thailand to consider the implementation of its national laws so as to effectively protect and promote the diversity of cultural expressions, which are as follows: 1. improve relevant legal terms to be clear and comprehensive, such as the diversity of cultural expressions and cultural goods and services,&nbsp; 2. improve or implement the national laws on relevant and important issues, namely cultural areas by comprehensive inclusion of the diversity of cultural expressions linked to trade, 3. trade and intellectual property areas, amend and improve the laws to facilitate the emergence of new and small entrepreneurs who produce cultural goods and services, involving entrepreneurs in the cultural and creative industries. 4. improve laws related to traditional and modern media production by reducing restrictions and monopolies in media production and rights and equality in mass communication and the digital environment, 5. rights and equality areas, improve legal mechanisms to eliminate discrimination or minimize the impact of such actions, and 6. suggest Thailand particularly consider legislating the Protection and Promotion of the Diversity of Cultural Expressions that must cover the relevant issues mentioned above.</p> ตรีชฎา อุ่นเรือน Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9065 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ ปัจจัยการเสริมแรงจูงใจ และความมุ่งมั่นให้นักกีฬาเป็นเลิศของผู้ปกครอง กรณีศึกษา สนามฝึกซ่อมกีฬาแบดมินตันในเขตกรุงเทพมหานคร https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9066 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีภาวะผู้นำของผู้ปกครอง ปัจจัยการเสริมแรงจูงใจให้ผู้ปกครอง และความเป็นเลิศนักกีฬาแบดมินตัน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้ปกครอง ปัจจัยการเสริมแรงจูงใจให้ผู้ปกครอง และความเป็นเลิศนักกีฬาแบดมินตัน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักกีฬาแบดมินตันชาย-หญิงเดี่ยวรุ่นอายุ 9, 11, 13 ปี ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน ที่มีการฝึกซ่อม ณ สนามฝึกซ่อมกีฬาแบดมินตัน เขตกรุงเทพมหานครจำนวน 10 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามภาวะผู้นำเสริมแรงจูงใจของผู้ปกครองส่งผลต่อความเป็นเลิศนักกีฬาแบดมินตัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (average) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) สองทาง ผลการวิจัยพบว่า ระดับค่าเฉลี่ยของปัจจัยการเสริมแรงจูงใจให้ผู้ปกครองมากที่สุด รองลงมาค่าเฉลี่ยของความเป็นเลิศนักกีฬาแบดมินตัน ระดับมากและรองลงมาค่าเฉลี่ยของภาวะผู้นำของผู้ปกครอง ระดับมาก และภาวะผู้นำของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับมาก กับปัจจัยการเสริมแรงจูงใจให้ผู้ปกครอง และความเป็นเลิศนักกีฬาแบดมินตันในทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยการเสริมแรงจูงใจให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับมากกับความเป็นเลิศนักกีฬาแบดมินตันในทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05&nbsp; This research has the objective to study the level of leadership of parents Factors that enhance motivation for parents and excellence in badminton athletes and to study the relationship between parental leadership Factors that enhance motivation for parents and excellence in badminton athletes A sample group of parents of male and female badminton singles players aged 9, 11, 13 years, sample size of 260 people who had repair training at the badminton repair field. There were 10 locations in Bangkok. The instrument used in the research was a leadership questionnaire to enhance the motivation of parents to affect the excellence of badminton athletes. Data were analyzed using ready-made computer programs by finding frequency (Frequency), percentage, mean (average), standard deviation (S.D.) and testing hypotheses by testing. Two-way Pearson's Correlation Coefficient The research results found that The average level of the factors that enhance motivation for parents the most Next is the average of excellence in badminton athletes. The highest level and the lowest mean level of parental leadership, high level and parental leadership are positively related at a high level. with factors that increase motivation for parents and the excellence of badminton athletes in a positive way at a high level Statistically significant at the .05 level and the factor of enhancing motivation for parents has a positive relationship at a high level with the excellence of badminton athletes in a very positive way. Statistically significant at the .05 level.</p> อาภรณ์ คุระเอียด , ปกรณ์ ปรีชาภรณ์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9066 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000 ปัญหาและอุปสรรคด้านความล่าช้าในการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9067 <p>พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561มาตรา 28 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ใน (1) การไต่สวนและมีความเห็นกรณีมีการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง (2) ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม (3) กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และเจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งตรวจสอบและเปิดเผยผลการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลดังกล่าว (4) ไต่สวนเพื่อดำเนินคดีในฐานความผิดอื่นที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้กำหนด หรือที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (5) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่น จึงเห็นได้ว่าภาระกิจสำคัญของคณะกรรมการ ป.ป.ช. คือการพิจารณาสำนวนการไต่สวนเบื้องต้นและสำนวนการไต่สวนเพื่อชี้มูลความผิดของผู้กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม แต่เนื่องจากขณะนี้มีสำนวนคั่งค้างการพิจารณาจำนวนมาก ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 คงเหลือที่อยู่ระหว่างดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง จำนวน 2,759 เรื่อง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มคดีด้านการจัดซื้อจัดจ้าง กลุ่มคดีด้านจริยธรรมและความประพฤติมิชอบ และกลุ่มคดีด้านกระบวนการยุติธรรมการเมืองและการบริหารราชการ จึงเกิดผลกระทบในการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จากการวิจัยพบว่า การกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น และสำนวนการไต่สวนเพื่อชี้มูลความผิดทุกสำนวน ก่อให้เกิดการคั่งค้างและความล่าช้าของสำนวน อันทำให้การลงโทษผู้กระทำผิดล่าช้า ทำให้สังคมเสื่อมศรัทธาในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ยังผลให้ผู้กระทำผิดและผู้อื่นไม่เกรงกลัวกฎหมาย &nbsp;กล้าลงมือกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม อันไม่เป็นไปตามตามแนวคิดของการลงโทษเพื่อข่มขู่หรือปราบปราม (Deterrence) และลงโทษเพื่อการกำจัดหรือควบคุมผู้กระทำผิด ตามนโยบายการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด (Crime Control Policy) เพื่อมิให้มีโอกาสในการกระทำผิดอีก โดยผู้วิจัยได้นำกฎหมายสาธารณรัฐเกาหลีใต้ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 พบว่า มีแต่สาธารณรัฐเกาหลีใต้เท่านั้นที่ใช้ระบบคณะกรรมการในทำนองเดียวกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่มิได้ให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาสำนวนการไต่สวนเช่นเดียวกับประเทศไทย ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรใช้ระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั่วไปที่ต้องผ่านการพิจารณาของพนักงานอัยการมาใช้ และทั้งสี่ประเทศไม่มีปัญหาเรื่องการคั่งค้างการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการให้มีระบบคณะกรรมการในการพิจารณาสำนวนในชั้นไต่สวนข้อเท็จจริงและในชั้นไต่สวนเพื่อชี้มูลความผิด จึงควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ในส่วนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาสำนวนการไต่สวนเบื้องต้นและการไต่สวนเพื่อชี้มูลโดยเฉพาะ และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นคณะกรรมการที่ยังมีอำนาจในส่วนอื่นตามมาตรา 28(1)(3)(4) และ (5) และให้มีอำนาจในการควบคุม กำกับ ดูแลนโยบายและการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในลักษณะเป็นคณะกรรมการบริหารสูงสุดเท่านั้น&nbsp; The Constitutional Anti-Corruption Act B.E. 2561 prescribe in Section 28.&nbsp; “The NACC has the following duties and powers: (1) Conduct an inquiry and prepare opinion in case there is an allegation that a person holding a political position, a judge of the Constitutional Court, a person holding a position in an independent agency is involved in circumstances of unusual wealth, corruption, or deliberate performance of duties or exercise of powers in contrary to the provisions of the Constitution or laws, or serious violation of or failure to comply with the ethical standards; (2) Conduct an inquiry and decide whether a state official is unusually wealthy, has committed an offence of corruption, or malfeasance in public office or malfeasance in judicial office; (3) Obligate persons holding political positions, judges of the Constitutional Court, persons holding positions in independent agencies and state officials to submit account showing particulars of assets and liabilities of themselves, spouse and children who have not yet become sui juris, and to inspect and disclose the results of the inspection of such accounts; (4) Conduct inquiry in order to take legal action in other offences provided by this Organic Act, or those prescribed by the law to be under the duties and powers of the NACC ( the NACC may undertake by itself, or delegate to other competent agency)&nbsp; (5) Other duties and powers provided by the Constitution, this Organic Act or other laws. Therefore, it is evident that the important mission of the Board of Directors the NACC is to consider the expression of preliminary inquiry and expression of inquiry to determine the guilt of offenders for dishonesty of duty or offences against official office or offences against the office of justice. As of September 30, 2021, it is divided into procurement cases, ethics and misconduct cases, and justice, politics and public administration cases, the remaining facts are under investigation. 2,759 matters, thus affecting the actions of the Board of Directors. NCC. According to the research, the Board of Directors the NACC has the authority and duty to consider the expression of the preliminary investigation and the expression of inquiry to determine the basis of every offense, causing congestion and delay of expressions, which delays the punishment of the offender. It causes society to lose faith in the criminal justice system in bringing perpetrators to justice. As a result, offenders and others are not afraid of the law, dare to commit offenses of dishonesty or offenses against official positions or offenses against judicial offices, which do not comply with the concept of punishment for intimidation or suppression (Deterrence) according to the Crime Control Policy and punishment for the elimination or control of offenders. The researcher adopted the laws of the Republic of Korea, the Republic of Singapore, and Japan. Compared to the Constitutional Anti-Corruption Act B.E. 2561, only the Republic of Korea uses the same committee system as the Constitutional Assembly Act on Corruption B.E. 2561. However, the committee does not have the same authority and duty to consider the case as Thailand. The Republic of Singapore, Japan and the United Kingdom have adopted a common criminal procedure system that requires prosecutors, and all four countries have no problem with pending trials related to offences of malpractice or offences against official office or offences against judicial office. Therefore, If Thailand wants to have a committee system to consider expressions at the hearing and at the hearing to determine the basis of guilt. the Constitutional Act on Prevention and Suppression of Corruption B.E. 2561 (2018) should be amended in respect of the powers and duties of the Commission. The NCC has appointed a committee to consider the expression of the preliminary inquiry and the inquiry to identify specific information. The NACC is a committee which are other powers under Section 28(1)(3)(4) and (5) and oversees the policies and operations of the Office of the National Anti-Corruption Commission. It is the Supreme Executive Committee only.</p> ประทีป ทับอัตตานนท์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9067 Fri, 26 Jan 2024 00:00:00 +0000