การสร้างละครพันทางเรื่องผู้ชนะสิบทิศของครูเสรี หวังในธรรม

The Production of Lakhon Phanthang Puchanasiptit of Seree Wangnaitham

Authors

  • จุฑาวัฒน์ โอบอ้อม
  • อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์

Keywords:

การสร้างละคร, ละครพันทาง, ผู้ชนะสิบทิศ, เสรี หวังในธรรม, Production, Lakhon phanthang, Puchanasiptit, Saree Wangnaitham

Abstract

บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสร้างละครพันทางเรื่องผู้ชนะสิบทิศของครูเสรี หวังในธรรม ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยและการสัมภาษณ์ นำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลจากการศึกษาพบว่า ละครพันทางเรื่องผู้ชนะสิบทิศของครูเสรี หวังในธรรม เป็นละครพันทาง เริ่มจัดแสดงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2528 ณ สังคีตศาลาและโรงละครแห่งชาติ รวมทั้งสิ้นจำนวน 56 ตอน การสร้างละครดังกล่าวเป็นการประพันธ์บทละครขึ้นใหม่จากการถอด บทประพันธ์จากนวยนิยายของยาขอบ การเลือกนักแสดงและการฝึกหัดเป็นการใช้นาฏยศิลปินที่รับราชการในกรมศิลปากร สำหรับการบรรจุเพลงในละครเป็นการใช้เพลงสำเนียงออกภาษาจากของดั้งเดิมและมีเพิ่มเพลงใหม่ ซึ่งกระบวนการสร้างละครพันทางนี้อยู่ในความควบคุมของครูเสรี หวังในธรรม ตลอดทุกขั้นตอน  This article aims to study Lakhon Pantang making’s Puchanasiptit of Seree Wangnaitham. Methodology research was used qualitative research by studying documents, textbooks, research papers interviews and descriptive analysis. The results of the study found that Puchanasiptit of Seree Wangnaitham was a Lakhon Phanthang in Thai Traditional dance drama. It was begun a show in November 1985 at the Sangkhet Sala and the National Theater. there were 56 episodes. The production of the aforementioned drama was a rewrite of the play from the transcription of Yacop novels. The selection of actors and the practice of performing arts are the use of dance artists who serve in the Fine Arts Department. The music in the drama was taken from the original and new songs were added in Ethnic Thai Style. Every step’s process of making this Lakhon Pantang is under the control of Seree Wangnaitham

References

กรมชลประทาน. (2535). แปรสยุมพร. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป.

รัฐศาสตร์ จั่นเจริญ. (2550). หลักการแสดงเป็นบุเรงนองในละครพันทาง เรื่องผู้ชนะสิบทิศ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมภริยาทหารเรือ. (2534). ผู้ชนะสิบทิศ “ยาขอบ” เสรี หวังในธรรมถอดความเป็นบทละครพันทาง เล่มที่ 5. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

Published

2024-07-19