สหบทในละครชาตรีร่วมสมัยของประดิษฐ ประสาททอง
The Intertextuality in Contemporary Lakorn Charti of Pradit Prasartthong
Keywords:
ละครชาตรี, ละครร่วมสมัย, สหบท, Lakorn Chatri, Contemporary theatre, IntertextualityAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการสร้างสรรค์ละครชาตรีร่วมสมัยของประดิษฐ ประสาททอง ในด้านสหบทจากละครชาตรีร่วมสมัย 3 เรื่อง ได้แก่ แก้วหน้าหมา นางสิบสาม และมโนรีย์ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร วิดีทัศน์ และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันละครชาตรีอาจแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ทางหลวง ทางพื้นบ้าน ทางร่วมสมัย และทางสถาบัน เจตนาของประดิษฐ มุ่งสื่อสารกับกลุ่มสถาบันเพื่อให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่จากทางละครชาตรีทางหลวงและมุ่งเชิดชูทางพื้นบ้านว่ายังเป็นการสร้างสรรค์ร่วมสมัยและมีชีวิต ในด้านสหบทพบ การสหบทด้านเนื้อหาและสหบทกับบริบททางสังคม ในด้านเนื้อหา ประดิษฐ์ได้นำบทละครชาตีดั้งเดิมมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่โดยอิงกับตัวบทละครชาตรีดั้งเดิม 3 เรื่อง ได้แก่เรื่องแก้วหน้าม้า นางสิบสอง และมโนราห์ และบทละครรำ 1 เรื่อง ได้แก่ อิเหนา สหบทด้วยกลวิธีการยืมโครงเรื่อง การยืมชื่อตัวละคร การยืมชื่อเรื่อง และการยืมอนุภาค ด้านสหบท กับบริบททางสังคมพบกลวิธีการเทียบเคียงกับสถานการณ์การเมืองไทย ภาวะโลกร้อน และประวัติศาสตร์ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ในด้านการสร้างสรรค์ยังคงใช้รูปแบบการแสดงแบบละครชาตีแต่ปรับลดขนาดให้เหมาะกับการเล่นแบบละครเร่มากขึ้น โดยยังคงมีโหมโรง รำซัดหน้าเตียง การร้อง การรำ ทางดนตรีคงกรับไม้ไผ่ไว้เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการสร้างตัวละครที่มีลักษณะตัวละครกลมซึ่งแตกต่างจากการสร้างบทละครแบบดั้งเดิมที่เป็นตัวละครแบบฉบับ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมตั้งคำถามกับตัวละครและเรื่องราว การสร้างสรรค์ด้วยมโนทัศน์เชิงวิพากษ์เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นการหักล้างหรือต่อด้านขนบ หากแต่เป็นการช่วยสร้างทางเลือกใหม่ให้แก่ศิลปะการละครไทยได้ในสังคมร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี This research article aimed to study the Lakorn Chatri creation of Pradit Prasartthong with the theory of intertextuality which was selected from 3 of Chakorn Chatri productions; Kaew Nama, Nang Sipsam and Manoree. The Qualitative research was conducted to investigate, therefore the academic documents collecting, video recording and in-depth interview were employed to the study. The result found that there are 4 styles of Lakorn Chatri in Thailand which are Classical (royal) style, Folk style, the contemporary style and Institutional style. Pradit Prasartthong intent to work and communicate a Classical style to find new possibilities of Lakorn Chatri creation to theater practitioners in the institutes therefore he also develop and glorify a Folk style to create with the contemporary issues and audiences nowadays. The intertextuality of content and society were found from the Lakorn Chatri literature. First, intertextuality of content is way to create from the Lakorn Chatri’ s original plays which create from main trace through the 3 of Lakorn Chatri’s original plays such as Kaew Nama, Nang Sipsong and Manora with another one of Dance Theater’ s plays, Inao. The using of the plot, character and motif from the original plays were intertextuality of content. Second, intertextuality of society is way to relate to Thai political circumstances, climate change and the Thai history of memorial day at 6th October 1976. The production was presented by Lakorn Chatri performing style which was adapted to be practicability for a traveling theatre. Therefore the music and dance overture in traditional Lakorn Chatri singing and dance style are used for the performance that bamboo clapper (Krup) is important for main rhythm. Moreover there is emphasis to create a rounded character which differed from original character. It was to encourage the audiences to question of the character and story. The creation from a critical conceptual is not a refutation to the Lakorn Chatri’ s tradition but it create a new alternative for Thai theatre arts in contemporary society nowadays as well.References
กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สัมพันธบท (Intertexuality): เหล้าเก่าในขวดใหม่ ในการสื่อสารศึกษา. วารสารนิเทศาสตร์. 27(2). 1-29.
สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2547). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (เล่มที่ 23). กรุงเทพฯ: อาคารโครงการสารานุกรมไทยฯ.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2549). ด้วยแสงแห่งวรรณคดีเปรียบเทียบ วรรณคดีเปรียบเทียบ: กระบวนทัศน์และวิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา. (2548). สัมพันธบท (Intertextuality) ในฐานะวิธีการหนึ่งของวรรณคดีวิจารณ์. มนุษยศาสตร์สาร. 6(1). 1-13.
ธีรา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา. (2548). นางกากี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9(1).
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2543). นิทานพื้นบ้านศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประดิษฐ ประสาททอง. (2558). บทละครเรื่องแก้วหน้าหมา. อัดสำเนา.
ประดิษฐ ประสาททอง. (2560). บทละครเรื่องนางสิบสาม. อัดสำเนา.
ประดิษฐ ประสาททอง. (2561). บทละครเรื่องมโนรีย์. อัดสำเนา.
มานิตย์ โศกค้อ. (2557). วาทกรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการต่อสู้และการต่อรองเชิงอำนาจ : กรณีศึกษากลอนลำของวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ 1(1), 31-52.
มนตรี ตราโมท. (2497). การละเล่นของไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
วินัย ภู่ระหงษ์. (2520). พระสุธน-นางมโนราห์ : การศึกษาเปรียบเทียบที่มาและความสัมพันธ์ระหว่างฉบับต่าง ๆ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สวภา เวชสุรักษ์. (2561). “ผลงานวิจัยการสร้างสรรค์ละครชาตรีเครื่องใหญ่เรื่อง กากี ตอนพญาครุฑ ลักนางกากี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9(1), 238-253
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2563). ละครชาตรี : ภาษาและวัฒนธรรมไทยในอนาคต. การประชุมวิชาการ เรื่อง “ละครชาตรี : ภาษาและวัฒนธรรมไทยในอนาคต”. สำนักศิลปกรรมร่วมกับวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง.
Sukanya Sompiboon. (2012). The Reinvention of Thai Traditional-Popular Theatre: Contemporary Likay Praxis. University of Exeter as a thesis for the degree of Doctor of Philosophy in Drama.