ประโยชน์ของการฝึกหายใจด้วยดนตรีบำบัดผ่านกิจกรรมร้องเพลง ที่มีผลต่อการเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและใจในผู้สูงอายุ

Symphony of Wellness: Exploring The Dual Advantages of Breathing Exercises and Music Therapy in Enhancing Physical and Mental Well-Being in Seniors

Authors

  • ทรงวรธรรม สมกอง

Keywords:

ดนตรีบำบัด, การหายใจ, ผู้สูงอายุ, Music therapy, Breathing, Elderly

Abstract

การฝึกหายใจด้วยดนตรีบำบัดผ่านกิจกรรมร้องเพลงนั้น เป็นกิจกรรมที่ช่วยตอบสนองความต้องของผู้สูงอายุในด้านของการส่งเสริมสุขภาพวะทางกายและใจ โดยเป็นกิจกรรมที่สามารถทำเดี่ยวหรือทำแบบกลุ่มก็ได้ ซึ่งจะต้องทำร่วมกับนักดนตรีบำบัดวิชาชีพที่ผ่านการอบรมหรือจบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับดนตรีบำบัดมาโดยตรง เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ การฝึกหายใจผ่านการร้องเพลงเป็นผลดีต่อสุขภาวะทางกายและใจของผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากร่างกายได้เสื่อมถอยตามกาลเวลา การจะประกอบกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังกายที่เยอะถือเป็นเรื่องที่ทำยากยิ่งขึ้นในผู้สูงวัยและมีความเสี่ยงหลายมิติ แต่การฝึกหายใจผ่านการร้องเพลงนั้นเป็นการลดข้อจำกัดดังกล่าวให้น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพวะทางกายและใจ อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะสังคมของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หากได้ประกอบกิจกรรมกับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุนั้นไม่ได้รู้สึกถึงการฝึกหายใจเพื่อการรักษา แต่เป็นเพียงการทำกิจกรรมกับตนเอง ครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนซึ่งช่วยให้เกิดแรงจูงใจ และความถี่ในการฝึกฝนมากยิ่งขึ้น  Breathing exercises combined with music therapy through singing activities are highly beneficial for promoting the physical and mental health of the elderly. These activities can be performed individually or in groups, but it is crucial to collaborate with a professional music therapist trained in music therapy to minimize any potential risks. Singing-based breathing exercises are particularly advantageous for the elderly as they accommodate the natural decline in physical capabilities that comes with aging. Unlike strenuous physical activities, these exercises are less demanding and therefore more suitable for elderly individuals who may face various health risks. Engaging in these activities helps enhance both physical and mental well-being. Additionally, it provides opportunities for social interaction, especially when done with family or friends, thereby improving social skills and overall quality of life. Importantly, these activities do not feel like formal breathing exercises; instead, they offer a pleasant and engaging way to spend time, which boosts motivation and encourages regular practice.

References

ทรงวรธรรม สมกอง. (2565). ผลของดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูประสิทธิภาพการหายใจในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่พ้นระยะแพร่กระจายเชื้อ. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุดม อรุณรัตน์. (2526). ดุริยางคดนตรีจากพระพุทธศาสนา. นครปฐม: แผนกบริการกลาง สำนักงานอธิการบดี พระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุทัย สุดสุข, พิทยา จารุพูนผล, ประยูร ฟองสถิตกุล, จรัลเกวลินสฤษดิ์, สัมฤทธิ์ จันทราช, จรรยา เสียง เสนาะ และคณะ. (2552). รายงานการวิจัยโครงการศึกษาสถานการณ์ความ Health Problems and Health Care Needs among Thai Elderly: Policy Recommendationsสามารถในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความต้องการ และ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน-การวิจัยแห่งชาติ.

Behne, K. E. (1997). The development of musical abilities. In I. Deliège & J. A. Sloboda (Eds.), Perception and cognition of music (pp. 148-168). Psychology Press.

Bruscia, K. E., & Hesser, B. (1981). Defining music therapy. Journal of Music Therapy, 18(1), 7-19.

Dileo, Cheryl. (2021). Journal of Urban Culture Research, 23. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JUCR/article/view/255933.

Hergenhahn, B. R. (2001). An Introduction to the History of Psychology (4th ed.). Wadsworth.

Kinsler, L. E., Frey, A. R., Coppens, A. B., & Sanders, J. V. (1982). Fundamentals of Acoustics (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Maslow, A. H. (1959). Motivation and Personality (2nd ed.). Harper & Row.

Mer, M.B. (1965). Philosophy and the Science of Behavior. New York: Appleton-Crofts.

Thomas, B. L., & Thomas, C. (1982). Cytogerontology since 1881: A reappraisal of August Weismann and a review of modern progress. Human Genetics, 60.

Wiens, M. E., Reimer, M. A., & Guyn, L. H. (1999). Music Therapy as a Treatment Method for Improving Respiratory Muscle Strength in Patients with Advanced Multiple Sclerosis: A Pilot Study. Rehabilitation Nursing, 24(2). https://doi.org/10.1002/j.2048-7940.1999.tb01840.x

Downloads

Published

2024-07-19