ปี่ไฉน: สังคีตลักษณ์และบทเพลง

Authors

  • ภัทระ คมขำ

Keywords:

ปี่ไฉน, สังคีตลักษณ์, บทเพลง

Abstract

ปี่ไฉน เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในพระราชพิธีมาตั้งแต่อดีต บรรเลงคู่กับกลองชนะเสมอ อันเป็นที่มาของชื่อที่เรียกว่า ปี่ไฉนกลองชนะ ลักษณะทางกายภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนมีรูสำหรับเสียบลิ้นปี่ด้านบนเจาะรูบังคับเสียง 7 รู และ 1 รูนิ้วค้ำ อีกส่วนมีลักษณะบานออกเป็นลำโพง เมื่อสวมประกอบเข้าด้วยกันมีความยาวประมาณ 23 เซนติเมตร ทำมาจากแก่นไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง ลิ้นปี่ไฉนทำจากใบตาลสวมเข้ากับกำพวดผูกด้วยเชือกควั่นใช้กำบังลมแบบปี่ชวาแต่ขนาดเล็กลงมา ปี่ฉไนมีเสียงสูงจ้าดังกังวานสำหรับใช้ในที่กว้างและบรรเลงคู่กับกลองชนะจำนวนมาก ระดับเสียงของปี่ไฉนเป็นอิสระไม่เทียบเข้ากับเครื่องดนตรีไทยชนิดใดไม่พบการรวมวงในดนตรีไทย การสืบทอดความรู้ของเป่าปี่ไฉนพบในงานเครื่องสูงและกลองชนะ ปัจจุบันถูกแบ่งการเป่าเป็นสองสำเนียงได้แก่ ครูทอง เย็นเกล้า และครูสมบัติ บทเพลงสำหรับปี่ไฉนเรียกว่า เพลงร้อยดอก หรือเพลงโศกลอยลม มีท่วงทำนองสั้นๆ ใช้การเป่าเสียงยาวประกอบกับกลวิธีพิเศษ มีการกลับต้นตามระเบียบวิธีการบรรเลงดนตรีไทย วรรคส่งเพื่อลงจบได้อย่างชัดเจนในช่วงท้ายเพื่อกลับต้นหรือส่งให้ผู้เป่าปี่อีกคนที่เป่าคู่กันรับช่วงเป่าได้สะดวกยิ่งขึ้น Pi Chanai is a musical instrument has been used as part of a Royal Ceremony accompanied by a drum called Klong Chana how it became the name of ensemble: Pi Chanai – Klong Chana. Pi Chanai is made in 2 parts, the upper part where the reed is inserted on the top; the four small pieces of palm leaf tied to a small metal tube fit in a small round of coconut shell, along the body has 7 finger holes on the front and another one for the thumb, another part uses as bell, when 2 parts join it is 23 cm in length. It is made of the wood or ivory. Pi Chanai produces the loud sound suitable for outdoor performance accompanied by the large number of Klong Chana. The key of Pi Chanai is free therefore, it isn’t accompanied other pitched instrument or join any Thai classical ensemble. The music has been passed through a generation to generation. There are two styles of Pi Chanai, which master musicians Kru Tong Yenklao and Kru Sombut. The music of Pi Chanai has been known as Pleng Roy Dok or Pleng Sok Loy Lom, where the musician plays a long tone with various unique techniques. Pleng Roy Dok has 4 parts with short melodies. The musical structure is similar to the tradition form of Thai music. The song has as an ending phrase as a sign for repetitions or as a cue for another player to join in the music.

Downloads