นาฏศิลป์หลังสมัยใหม่ของญี่ปุ่น: ประวัติและแนวคิดของบุโตะ

Authors

  • ธรากร จันทนะสาโร

Keywords:

นาฏศิลป์ญี่ปุ่น, ศิลปะการแสดง - - ญี่ปุ่น, การรำ - - ญี่ปุ่น

Abstract

บทความนี้ต้องการศึกษาประวัติและแนวคิดของนาฏศิลป์บุโตะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นนาฏศิลป์ร่วมสมัยของประเทสญี่ปุ่น นักวิชาการและสิลปินทางด้านนาฏศิลป์ในตะวันตกต่างยกย่องให้นาฏศิลป์บุโตะเป็น “อาว็อง-การ์ด แด๊นซ์ (avant-garde dance)” หมายถึง นาฏศิลปที่มีความทันใหม่และล้ำยุค เปรียบได้กับเป็นนาฏศิลป์หลังสมัยใหม่ (postmodern dance) ของสังคมญี่ปุ่น ในด้านประวัติของนาฏศิลป์บุโตะพบว่า “บุโตะ (Butoh)” หมายถึงการเต้นรำแห่งความมืด (dance of darkness) เป็นนาฏศิลป์ที่เริ่มต้นในช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวช่วงทศวรรษที่ 1950 ผู้บุกเบิกคนสำคัญคือ ทัทซึมิ ฮิจิกาตะ (Tatsumi Hijikata) และคาซึโอะ โอโนะ (Kazuo Ohno) มีปรัชญที่นาฏศิลป์บุดตะใช้ คือ “ความงามที่ว่อนเร้นอยู่ในความน่าเกลียด” เพราะมักตีแผ่เรื่องราวแห่งฝันร้าย บทวี กามารมณ์ ความล่อแหลมของจิตวิญญาณมนุษย์ไปพร้อมๆกัน และในด้านแนวคิดของนาฏศิลป์บุโตะพบว่า มักอาศัยเรื่องราวและเหตุผลของธรรมชาติมาเป็นสิ่งจูงในในการกำหนดการเคลื่อนไหวของร่างกาย มักมีการใช้เรื่องของสีเป็นสัญลักษณ์ในการแสดง พบมากคือการใช้สีขาว เพราะเชื่อว่าสีขาวเป็นสีแห่งความดับสูญหรือความตาย มักนำเสนอความน่าเกลียดผ่านรูปลักษณ์ภายนอก กล่าวคือ มีการทำใบหน้าที่บิดเบี้ยว หรือความพยายามเคลื่อนไหวด้วยท่าทางที่แปลกประหลาด มักมีการด้นสดของนักแสดงเพื่อเชื่อมโยงกับจินตนาการ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทีแตกต่างกันออกไป และยังพบเห็นการแสดงนาฏศิลป์บุโตะที่ปราศจากเสื้อผ้าอาภรณ์หรือเส้นผม (หมายถึงการโกนหัว) ได้ในบางโอกาศ ที่สรุปมานี้เห็นได้ว่านาฏศิลป์บุโตะอาศัยเรื่องปรัชญาของชีวิตมนุษย์และเรื่องราวจากธรรมชาติมาเป็นพื้นฐานในการแสดง  The objective of this article is to study background and perspective of Botoh, the contemporary dance of Japan. Botoh Dance was highly admired by western scholars and artists as avant-garde dance which refers tostate-of-the-art dance that is comparable to postmodern dance. “Botoh”  refer to dance of darkness and its history has begun after World War 2, during 1950 decade. The pioneers of Botoh are Tatsumi hijikata and kazoo Ohno. Botoh’s philosophy is “hidden beauty in ugliness” as it likely to describe stories of nightmares, poems, lust dark side of human’s spirits. In term of concept, Botoh Dance applies story and rationale of nature to identify body movement and uses color to convey message Mostly white is used as the color represents death or ending. Ugliness is presented improvise to express imagination, creating different movement. Occasionally, Botoh Dance applies philosophy of human live and nature as basic performance model.

Downloads