ละครกับพื้นที่ในชุมชนมุสลิม: กรณีศึกษาชุมชนบ้านม้า

Authors

  • คอลิด มิดำ

Keywords:

ละคร, มุสลิม, การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ)

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาบทบาทที่เหมาะสมของละครในชุมชนมุสลิม โดยมีพื้นที่ดำเนินการที่ชุมชนบ้านม้า เขตประเวศ  จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้กระบวนการของการศึกษาจากการทดลองปฏิบัติในชุมชนที่เป็นบ้านเกิดของผู้เขียนในระหว่างปี พ.ศ. 2551-2558 การศึกษามีข้อค้นพบดังนี้ 1.ละครมิได้เป็นเพียงสื่อบันเทิงแก่ผู้ชมแต่ยังเป็นเครื่องมือในการนะซีฮัต (การตักเตือน) สื่อสารศาสนธรรมและเป็นพื้นที่ในการสื่อสารกันของคนในชุมชน โดยมีประเด็นและรูปแบบการนำเสนอที่สัมพันธ์กับตัวตนของผู้ชมในแง่มุมศาสนาและรสนิยมของผู้ชมภายใต้แนวคิดในการสร้างละครฐานชุมชน 2.ละครมีบทบาทในฐานะเครื่องมือในการพัฒนาเยาวชน โดยเป็นพื้นที่ในการแสดงอัตลักษณ์ด้านบวกของเยาวชน  The  article aims to explore the appropriate role of theatre in Muslim community. The study field is ‘Baan Maa’ Community, Prawet District ,Bangkok. The study period of this practice-based reseech is during 2008-2015. The results of the  study are 1) The role of theatre in Moslim community should function not only as an entertainment, but also as the role of  ‘Nasihat’ [to advice]. In other to make theatre related to the community, the issues and style of presentation should base on Islamic faith and its audience tastes under the community-based theatre approach. 2) The teatre is used as a tool for children development by helping them construct their positive identity.

Downloads