ล้วน ควันธรรม : การกําเนิดเพลงลีลาศรูปแบบไทย
Keywords:
เพลงลีลาศ, ล้วน ควันธรรม, จังหวะตะลุงAbstract
ดนตรีสําหรับการลีลาศแบบตะวันตก ได้แพร่กระจายเข้าสู่สังคมไทยในช่วงรัชกาลที่ 5 และเป็นที่นิยมมากในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคที่ดนตรีและนาฏศิลป์เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก แต่จุดเปลี่ยนสําคัญที่ส่งผลให้ดนตรีลีลาศเป็นที่รู้จักมากขึ้น คือนโยบายรัฐนิยมของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยสนับสนุนให้คนไทยได้เรียนรู้วัฒนธรรมบันเทิงแบบชาวตะวันตก ส่งผลให้มีวงดนตรีและผลงานของนักประพันธ์ชาวไทยเป็นจํานวนมาก ครูล้วน ควันธรรม ได้เริ่มประพันธ์เพลงเต้นรําจังหวะตะลุงขึ้นในปี พ.ศ. 2504 โดยการเลียนแบบจังหวะในเพลงหนังตะลุงของภาคใต้ ได้ร่วมมือกับสมาคมลีลาศในการสร้างสเต็ปตะลุงเพื่อใช้แข่งขัน เมื่อได้รับ ความนิยมมากขึ้น นักประพันธ์คนอื่น ๆ จึงได้แต่งเพลงตะลุงอีกจํานวนมาก โดยเฉพาะบทเพลงที่ขับร้องโดยเลิศ ประสมทรัพย์ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก บทเพลงตะลุงเพลงแรกคือ เพลงตะลุงเท็มโป้ โดยครูล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากกระสวนจังหวะของเพลงตะลุง ผสมผสานกับทํานองเพลงไทยบางส่วนคือเพลงศรีธรรมราชเถา สร้างขึ้นเป็นเพลงเต้นรํา ที่มีเอกลักษณ์สําคัญที่สะท้อนถึงความเป็นเอกลักษณ์ไทยได้อย่างชัดเจน During the reign of King Rama V, music for ballroom dancing spread throughout Thailand, and it continued to gain popularity during the late reign of King Rama VI, a period when music and dance thrived. But it was the state policy of the government of Prime Minister Plaek Phibunsongkhram that marked a turning point for this musical form. During his regime, he encouraged people to learn Western musical forms and western entertainment, which led to an increase in dance bands and ballroom dance music compositions. Luan Kwantam started to compose music with taloong rhythm in 1961 by imitating the rhythm of the music shadow of the South. He collaborated with the Association of Ballroom Dance to create taloong dance steps for competition. Later, other composers would compose many songs using taloong tempo. In particular, a song sung by Lerd Prasomsup became very popular. The first taloong tempo song Luan Kwantam composed was titled “Taloong Tempo.” He was inspired by the rhythmic pattern of taloong song (the traditional song of Thailand) together with the Thai traditional song melody Sri Thammarat Thao. His song embodied the traditional identity of Thai culture.Downloads
Issue
Section
Articles