พัฒนาการหนังกลางแปลง และแนวทางการบริหารจัดการกรณีศึกษา กาเหว่าภาพยนตร์และท่าพระภาพยนตร์พ.ศ. 2530 – 2559

Authors

  • งามนิส เขมาชฎากร

Keywords:

หนังกลางแปลง, การบริหารจัดการ, พัฒนาการ, คุณค่าและความสําคัญ, การดํารงอยู่อย่างยั่งยืน

Abstract

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการด้านการบริหารจัดการหนังกลางแปลง พ.ศ. 2530 – 2559 2) เพื่อศึกษาคุณค่า ความสําคัญของหนังกลางแปลงที่มีต่อสังคมไทย 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดํารงอยู่ และนําเสนอแนวทางการอนุรักษ์หนังกลางแปลงอย่างยั่งยืน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 2 กลุ่ม คือ คณะกาเหว่าภาพยนตร์ ตั้งอยู่อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และคณะท่าพระภาพยนตร์ ตั้งอยู่แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยอาศัยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และจากการลงพื้นที่ภาคสนาม โดยขั้นตอนการเรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ หลักการจัดการความรู้ หลักการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนหลักการบริหารงานภาพยนตร์ และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารองค์กร ผลการวิจัยพบว่า ประชากรตัวอย่างสามารถปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย โดยการปรับเปลี่ยนมีผลมาจาก ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตอล ปัจจัยด้านลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ ปัจจัยด้านพัฒนาการทางเทคโนโลยีของโรงภาพยนตร์ ปัจจัยด้านสื่อบันเทิงที่เข้าถึงที่พักอาศัย และปัจจัยด้านบรรยากาศในการรับชมภาพยนตร์ ปัจจัยข้างต้นส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานภาพยนตร์ การบริหารจัดการด้านกระบวนการฉายหนังกลางแปลง การบริหารจัดการบุคลากร และการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์หนังกลางแปลง นอกจากนี้หนังกลางแปลงยังมีบทบาทด้านบริบททางสังคมไทย ได้แก่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม การพากย์หนัง การแก้บน และทรรศนะทางสังคม อย่างไรก็ตามหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้หนังกลางแปลงเป็นมหรสพที่มีความจําเป็นโดยการนํากลับมาเผยแพร่ในรูปแบบการจัดแสดงลักษณะกิจกรรมพิเศษ หรืองานอีเว้นท์รวมถึงผู้ประกอบการกิจการหนังกลางแปลงควรให้ความสําคัญ ในการคัดสรรภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสาระยกระดับจิตใจผู้ชม ตลอดจนผู้ประกอบการกิจการหนังกลางแปลงควรได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้มีความรู้มีทักษะ มีมุมมอง และมีค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน           This qualitative research aims to 1) study about the administration of outdoor cinema 1987 – 2016 A.D. 2) study about value and importance of outdoor cinema toward Thai society and 3) study ways of living as well as present methods to sustainably preserve outdoor cinema. This study employs two groups of sampling population: Kawhow Film in Nakonchaisri District, Nakhon Phrathom and Ta Phra Film in Bang Waeg Sub district, Pasri Chareon district, Bangkok. Data were collected from written document and area outreach The data were arranged and analyzed with concepts of Heritage Quality, Knowledge Management, Education as Sustainable Development, Film Business Administration and organization administrative theory. The results indicate that the sampling population shifted their administration styles to suit changes in each period. Those shifts are the results from factors on economic, digital trend, films’ intellectual property, cinema technology development, home-entertainment accessibility, and cinema atmosphere. Such the factors resulted in changes of film administration, outdoor cinema process administration, staff administration, and outdoor cinema information administration. Moreover, outdoor cinema plays some parts in shaping Thai society contexts: lifestyles in society, dubbing, vow fulfillment, and social attitudes. However, concerned governmental and private organizations should support outdoor cinema to be a necessary kind of entertainment by displaying it in special occasion or event. In addition, outdoor cinema entrepreneurs should pay attention in selecting films that can enhance audiences’ spirit. The entrepreneurs should also be provided right knowledge, attitude, and trend in order to acquire the sustainable development.

Downloads