นาฏกรรมล้อ: การล้อเลียน การเสียดสีและการสร้างอารมณ์ขันใน แก้วหน้าหมา
Keywords:
นาฏกรรมล้อ, ละครชาตรีร่วมสมัย, แก้วหน้าหมาAbstract
ละครชาตรีร่วมสมัยเรื่อง แก้วหน้าหมา ของกลุ่มละครอนัตตา สร้างขึ้นโดยเลียนแบบและล้อวรรณกรรมพื้นบ้านที่รู้จักกันดีเรื่อง แก้วหน้าม้า บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่าผู้สร้างสรรค์ละครเรื่องนี้ล้อเลียนวรรณกรรมต้นแบบอย่างไร และชี้ให้เห็นถึงสาระสําคัญที่ต้องการสื่อผ่านตัวบทของงานชิ้นนี้ ตลอดจนกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน โดยศึกษาจากบทละครและการแสดง จากการศึกษาพบว่า ละครเรื่องนี้จัดเป็นนาฏกรรมล้อเรื่องหนึ่งที่หยิบยืมชื่อเรื่อง ชื่อตัวละครเอก และสิ่งของที่เป็นเหตุให้ตัวละครเอกได้พบกันจากวรรณกรรมต้นแบบมาล้อ ลักษณะการล้อของละครเรื่องนี้ แสดงถึงการสะท้อนความเป็นเรื่องเล่าในงานของตัวเองมากกว่าเรื่องเล่าในงานต้นแบบ ดังจะเห็นได้จากจุดประสงค์ของละครเรื่องนี้ที่วิพากษ์และเสียดสีบริบทการเมืองไทยปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นความสนุกสนานในลักษณะเดียวกับ ละครชาตรีรูปแบบเดิมด้วยการสร้างอารมณ์ขันแก่ผู้ชม ซึ่งละครเรื่องนี้มีกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันผ่านตัวละคร เนื้อเรื่อง และภาษา The contemporary lakho’n chatri production of Kaew Na Ma (the Dog Face) was created by the Anatta Theatre Troupe. In fashioning this work, the troupe imitated and mimicked the well-known folk tale of Kaew Na Ma (Horse-Face Lady). The purposes of this paper are to study how the author manage to mimic the prior text, what the message the author needed to communicate is, and what the techniques of comic-making are used. The study finds that this work is deemed to be a parodic theatre; its story merely borrows the title, the names of main characters as well as the object bringing to the encounter of the main characters from the prior work to parody. Such parodic feature of the production illustrates its self-reflexive rather than reflecting the narrative of Horse-Face Lady as seen from its message in criticising and satirising the current Thai political context. Similar to the form of traditional lakhon chatri, in addition, the work of the Dog Face emphasises on a humorous basis in which the comic senses are made through the characters, story, and language usages.Downloads
Issue
Section
Articles