แนวคิดงานสร้างสรรค์การเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธ์เพลินภูพิงค์
Keywords:
การเรียบเรียงเสียงประสาน, บทเพลงพระราชนิพนธ์, เพลินภูพิงค์, วงออร์เคสตราAbstract
บทเพลงพระราชนิพนธ์เพลินภูพิงค์เป็นบทเพลงหนึ่งในการแสดงคอนเสิร์ต “48 คงอยู่อยู่คู่ฟ้า” (48 Forever song concert) บรรเลงโดยวงดุริยางค์สยามฟิลฮาร์โมนิก ภายใต้การอํานวยเพลงของศิลปินศิลปาธร อาจารย์วานิช โปตะวนิช จัดแสดงขึ้น ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ บทเพลงพระราชนิพนธ์เพลินภูพิงค์ เป็นบทเพลงที่มีรูปแบบและท่วงทํานองที่มีความน่าสนใจ และเหมาะสมในการนํามาเรียบเรียงเสียงประสานสําหรับวงออร์เคสตรา โดยผู้เรียบเรียงได้วางรูปแบบของการเรียบเรียงโดยใช้แนวคิดของการผสมผสานจินตนาการ ตีความถึงบรรยากาศที่สวยงาม และความสงบร่มเย็นท่ามกลางธรรมชาติของพระตําหนักภูพิงคราชนิเวศน์ และอิงมาจากคําร้องของบทเพลงพระราชนิพนธ์ “เพลินภูพิงค์” นอกจากนี้ผู้เรียบเรียงได้นํา เครื่องดนตรีฟลูเกลฮอร์นมาใช้ในการบรรเลงเดี่ยว สําหรับทํานองหลักแทนการขับร้องและมีวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ในการบรรเลงประกอบ โดยกําหนดรูปแบบของการเรียบเรียงของแต่ละที่มุ่งเน้นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละเครื่องดนตรี ตลอดจนการประสมเสียงของเครื่องดนตรีที่มีความหลากหลาย และการสร้างสรรค์ทํานองสัมพันธ์ที่สอดคล้องขึ้นมาใหม่ โดยคํานึงถึงอารมณ์ ความรู้สึก ในแต่ละประโยคเพลง และสื่อถึงความหมายของคําร้องในแต่ละประโยคของบทเพลงพระราชนิพนธ์เป็นหลัก “Somewhere Somehow,” a royal musical composition, was one of the songs performed in “48 Forever Song Concert” by The Siam Philharmonic Orchestra at Thailand Cultural Centre with the Silpathorn Award winner, Vanich Potavanich, as the conductor. The royal musical composition “Somewhere Somehow” was a very interesting piece of music considering its pattern and melody, perfect for a harmony arrangement for an orchestra. The arranger had arranged the concept of the song by implementing the imagination regarding picturesque atmosphere and natural serenity of the Bhubing Palace, including the lyrics of “Somewhere Somehow.” Moreover, the arranger applied the flugelhorn as the main melody, instead of singing, and there was a large orchestra supporting the melody. Each section of the song highlighted the signature of each musical instrument used. It also had the mix of various musical instruments and the harmonious melody, which was composed anew, based on emotions and feelings of each musical section, mainly reflecting the meaning of each melody section in the royal musical composition.Downloads
Issue
Section
Articles