“มหาราชาภูมิพล” การสร้างสรรค์บทเพลงเพื่อถวายพระอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช

Authors

  • จักรี กิจประเสริฐ

Keywords:

บทประพันธ์เพลง, มหาราชาภูมิพล, วงดุริยางค์เครื่องลม

Abstract

          บทประพันธ์เพลง “มหาราชาภูมิพล” มีที่มาสืบเนื่องจาก การที่มหาวิทยาลัยบูรพา สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ยังความโศกเศร้าสู่พสกนิกร ทุกหมู่เหล่า ในการนี้มหาวิทยาลัยจึงมีดำริในการจัดงานเพื่อน้อมถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช จึงมอบหมายให้คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นฝ่ายจัดงานในครั้งนี้ โดยใช้ชื่องานว่า “หนึ่งศิลป์หนึ่งชีวี บรรเลงถวายไท สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ” ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ณ บริเวณลานธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา          จากงานดังกล่าว จึงเป็นที่มาของแนวคิดและจุดประสงค์ที่จะสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลง “มหาราชาภูมิพล”เพื่อเป็นการน้อมถวายการส่งเสด็จพระองค์ท่านสู่สวรรคาลัย โดยการสร้างทำนองจาก คำร้องก่อน หลังจากนั้นนำคำร้องและทำนองมากำหนดรูปแบบการประพันธ์ โดยแบ่งเป็น ช่วงเกริ่นนำ (Introduction) ทำนองหลักที่ 1 (Verse 1) ทำนองหลักที่ 2 (Verse 2) ท่อนสร้อย (Chorus) ทำนอง หลักที่ 3 (Verse 3) ท่อนสร้อย (Chorus) ท่อนเชื่อม (Bridge) ท่อนเดี่ยว (Solo) ท่อนสร้อย (Chorus) โดยเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับบรรเลงโดย “วงดุริยางค์เครื่องลมแห่งมหาวิทยาลัยบูรพา” ร่วมกับ “คณะขับร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยบูรพา”          บทประพันธ์เพลง “มหาราชาภูมิพล” ผู้ประพันธ์ได้สร้างคำร้องและเสียงประสานไปพร้อมกัน แล้วจึงมาทำการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม โครงสร้างคอร์ดส่วนใหญ่เป็นคอร์ด พื้นฐาน สังคีตลักษณ์เป็นแบบดนตรีสมัยนิยม พื้นผิวของดนตรีเป็นแบบโฮโมโฟนี มีการเปลี่ยนกุญแจเสียง ในช่วงท่อนเชื่อมและท่อนสร้อย ใช้การประสมเสียงของเครื่องดนตรีหลากหลายเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์กับ บทเพลงมากที่สุดตามที่ผู้ประพันธ์ต้องการ           The background of music composition “Maharaj Bhumibol” was derived from that of Burapha University realized the most grateful for your Majesty’s boundless and gracious kindness in His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s era. His Majesty the late king passed away on October 13, 2016. All Thai people expressed the grief for HM the late King’ passing. In this regard, Burapha University thought of organizing an event for paying a farewell to HM King Bhumibol Adulyadej. The faculty of Music and Performing Arts had been assigned to organize this event under the title “หนึ่งศิลป์หนึ่งชีวี บรรเลงถวายไท สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (Mourning Ceremony for HM the late King)” on Nov 9, 2016 at Lan Dhamma, Burapha University. From this event, the concept of music composition “Maharaj Bhumibol” was taken place by creating melody and combining lyrics and melody to formulate the form of music composition. This music composition was divided into introduction, verse 1, verse 2, chorus, verse 3, chorus, bridge, solo, and chorus. This music composition was arranged for performing by Burapha Wind Symphony and Burapha Chorus. The composer created lyrics in accordance with harmony, arranged for wind symphony orchestra. Most of the chord’ structures were primary chord. The form was popular music. The texture of music was homophony, key signature’s change in bridge and chorus, various music instrument’s tone color for successful completeness of the requirement of composer.

Downloads