ความสัมพันธ์ของบทสวดชัยมงคลคาถากับเพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง

Authors

  • บุญเลิศ กร่างสะอาด
  • ภัทระ คมขำ

Keywords:

ชัยมงคลคาถา, เพลงเรื่อง, เพลงฉิ่ง, ความสัมพันธ์, บทสวด

Abstract

          บทความเรื่อง ความสัมพันธ์ของบทสวดชัยมงคลคาถากับเพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการสวดกับรูปแบบการบรรเลง โอกาสการสวดกับโอกาสการบรรเลง โดยบทความนี้เป็นผลงานวิจัยบางส่วนของวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตเรื่อง “การสร้างสรรค์เพลงเรื่อง ประเภทเพลงฉิ่ง เรื่องชัยมงคลคาถา” ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสวดและการบรรเลง มีความสัมพันธ์ กัน 4 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างของบทสวดประกอบด้วยหลายบท สัมพันธ์กับการเรียงร้อยบทเพลงหลายเพลงบรรเลงติดต่อกัน ด้านความสั้นความยาวที่ไม่เท่ากันของคำบาลี ในบทสวด สัมพันธ์กับใจความของทำนอง เพลง ด้านเนื้อหาบทสวดและทำนองพบลักษณะที่เรียกว่า “การซ้ำท้าย” ทั้งในการสวดและการบรรเลงและด้านความหมายเป็นเชิงมงคลเช่นเดียวกัน เรื่องโอกาสการสวดและการบรรเลงพบว่า มีการนำไปใช้ในงานมงคล ในแนวทางเดียวกัน และโอกาสที่ใช้สวดส่งผลต่อการเรียบเรียงบทสวดที่หลากหลาย สัมพันธ์กับการเลือกใช้ บทเพลงเพิ่มเติมในการบรรเลงเพลงฉิ่งอย่างหลากหลายหากการดำเนินพิธีกรรมไม่เสร็จสิ้น           This article entitles the relationship between Chaiya Mangala Gatha chant and Pleng Ching type of Pleng Ruang which aims to comparative study the forms of the chanting and musical performing of the Chaiya Mangala Gatha and occasions on which they take place. It is partly based on the data gathered for a doctoral thesis entitled “The Creative Musical Composition for the Chaiya Mangala Gatha in the Pleng Ching Type of Pleng Ruang”. The present study found four aspects of the relationship between the chanting and musical performance of the Chaiya Mangala Gatha: structure, length, content and meaning. For structural relationship, both the chant and the song are derived from a compilation of chants and melodies of similar tunes. They both vary in length of Pali words in chants but share lyric melody relationship. The content relationship between the chant and the melodies is seen in their “repetition of the final phrase”. The study also found that both the chanting and the musical performance of the Chaiya Mangala Gatha usually take place on auspicious occasions which consequently result in a variety of chants and the choice of Pleng Ching used. Additional relationship and choosing chants in Pleng Ching performing may be inserted in the case where religious ceremonies last longer than usual. 

Downloads