วัฒนธรรมดนตรีกับวิถีชีวิตในท้องถิ่นภาคตะวันออก : กรณีศึกษาคณะเพลงขอทาน บ้านทุ่งไก่ดัก จังหวัดตราด

Authors

  • รณชัย รัตนเศรษฐ

Keywords:

เพลงขอทาน, บ้านทุ่งไก่ดัก, วัฒนธรรมดนตรี

Abstract

          งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านดนตรีวิทยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัฒนธรรมดนตรีกับวิถีชีวิตชุมชนในท้องถิ่นภาคตะวันออก : กรณีศึกษาคณะเพลงขอทาน บ้านทุ่งไก่ดัก จังหวัดตราด          ผลการศึกษาพบว่า คณะเพลงขอทาน บ้านทุ่งไก่ดัก เป็นชาวไทยชองที่สืบเชือ สายต่อ ๆ กันมา อาศัยที่บ้านทุ่งไก่ดัก ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีเพลงขอทานต่อ ๆ กันมาโดยใช้วิธีถ่ายทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ปัจจุบันมีนางอร สุขังเป็นหัวหน้าคณะ โดยรับช่วงสืบทอดมาจากพ่อและแม่ และยังไม่มีผู้สืบทอด ลักษณะการแสดงของคณะเพลงขอทาน บ้านทุ่งไก่ดัก เป็นเพลงขอทานที่ใช้สำหรับร้องในงานบุญช่วงประเพณีสงกรานต์เท่านั้น ไม่ได้ประกอบเป็นอาชีพหารายได้เลี้ยงครอบครัว รูปแบบอัตลักษณ์ของบทเพลง เกิดจากความเฉพาะเจาะจงของทำนองเพลงที่จดจำสืบทอดกันมา มีอัตลักษณ์เฉพาะคือ “การเอื้อน” ทำนองที่เน้นลีลาการเอื้อน โดยเฉพาะในช่วงหางเสียง ซึ่งจะต่างจากคณะอื่น ๆ ที่การเอื้อนหางเสียงจะห้วนกว่า จำเป็นจะต้องจดจำลีลาการเอื้อนให้แม่นยำเพราะไม่มีการจดบันทึก ส่วนคำร้องใช้การจำ และจดบันทึกไว้สำหรับการถ่ายทอด ในส่วนบทบาทของงานดนตรีกับประเพณีในวิถีชีวิตของชุมชน จากการรวมกลุ่มกันในช่วงวันสงกรานต์ เพื่อไปขอรับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อนำไปถวายวัด เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้เกิดความสามัคคี มีความเป็นเจ้าของเป็นส่วนร่วมของชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง           This research was a qualitative musicological research. The objective of the study was to study the culture of music and indigenous living in eastern region: a case study of beggar song, Bantungkaidung ensemble, Trat province.          The results revealed that the ensemble of beggar song, Bantungkaidug ensemble, had belonged to Thai Chong who descended from Chong. They had lived in Bantungkaidug, Tha Kum, Mung, Trat province. The beggar song had been ingerited continuously from their ancestors. Nowadays Mrs. Orn Sulhang inherited the ensemble from her parents but still no inheritance. The characteristics of beggar song, Bantungkaidug ensemble was to sing only in religious ceremony of Songkran festival, not for earning a living. The identity of song derived from the specialty of the remembered melody, especially the bowel migration. The melody which emphasized this style in the last duration was different from other companies whose the last duration were shorter. It was essential to remember the style of bowel migration precisely because there was no record. The lyrics were remembered and recorded for transmitting from generation to generation. For the role of music and indigenous living, Requesting for donation’s group in Songkarn festival built a strong  relationship of community and community’s participation.

Downloads