กลวิธีการนำเสนอลักษณะแทรจิคคอเมดีในละครเวทีเรื่องการมาเยือนของหญิงชรา

Authors

  • คอลิด มิดำ

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกลวิธีการนำเสนอลักษณะขบขันแบบแทรจิคคอเมดี ในละครเรื่องการมาเยือนของหญิงชรา โดยใช้การวิจัยบนฐานปฏิบัติการ ผ่านการสร้างสรรค์การแสดงของผู้วิจัยในฐานะนักแสดง โดยผลวิจัยพบว่า 1) รูปการนำเสนอสภาวะแทรจิคคอเมดีมีสองลักษณะได้แก่ จากขบขันไปสู่ความขมขื่น คือถ่ายทอดผ่านลีลาของความขบขันและพลิกไปเป็นความรู้สึกขมขื่น เพราะผู้ชมได้เห็นชะตากรรมที่น่าเศร้าของตัวละคร และจากความขมขื่นไปสู่ความขำขัน คือหัวเราะอย่างหมดหวังให้กับสถานการณ์ที่เราไม่สามารถจัดการอะไรได้ ทำได้เพียงหัวเราะแบบขำปนโศก 2) นำเสนอผ่านกลวิธีการสร้างตัวละครที่ลักลั่นผิดแผกไปจากปกติเพื่อสะท้อนด้านมืดที่น่าขบขันของเป็นมนุษย์ 3) การใช้การแสดงของนักแสดงถ่ายทอดสภาวะแทรจิคคอเมดีด้วยกลวิธีที่นักแสดงเข้าใจบทบาทของความเป็นตัวละครที่มีกลไกในการสร้างความขบขัน รวมถึงการทำความเข้าใจวงจรของรับส่งในการแสดง เพื่อนำพาผู้ชมให้เกิดความรู้สึกขบขันแบบแทรจิคคอเมดี  This research aims to present methods of tragicomedy delivery based on practice-led research on the researcher’s role as an actor in a theater performance, Kan Ma Yuean Khong Ying Cha-ra. The results show three main findings. 1) There are two types of tragicomedy delivery methods: from humor to distress, by shifting humorous mood to distress due to the bitter fate of the character, and from distress to humor, by hopelessly laughing at the uncontrolled situation where the character cannot do anything but to bitterly laugh 2) Tragicomedy is delivered through designing peculiar characters to reflect the comical dark side of humanness 3) The actor embodied the character’s sense of humor as well as strived to understand the cycle of acting-reacting in order to lead the audience to feel the sense of humor in tragicomedy style.

References

นพมาส ศิริกายะ. (2525). ดูหนังดูละคร. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เอกสารอัดสำเนา

นพมาส แววหงส์ (บรรณาธิการ). (2550). ปริทัศน์ศิลปะการละคร (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัสสร์ศุภางค์ คงบำรุง. (2560). การศึกษาแนวทางการกำกับละครเรื่อง The Pillowman โดยใช้กลวิธีของการสร้างสรรค์และนำเสนอละครแนวดาร์กคอเมดี (Dark Comedy) เพื่อสื่อสารประเด็นสำคัญ เกี่ยวกับการใช้อำนาจ ความรุนแรง และการตัดสินคุณค่า. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์.

เรนมันต์ ฟรีดริช ดืร. (2547). บทละครเรื่องการมาเยือนของหญิงชราและโรมูลูสมหาราช แปลจาก The Visit and Romulus the Great โดย อำภา โอตระกูล. กรุงเทพ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

วิสสุดา จิตไตรเลิศ. (2554). กลยุทธ์การสร้างบทละครซิทคอมอันเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท ซีนนาริโอ จำกัด. (การศึกษาเฉพาะบุคคลหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. บัณฑิตวิทยาลัย.

อาทรี วณิชตระกูล. (2561). การศึกษาการดัดแปลงบทละครและการกำกับการแสดงละครเรื่องเดอะ วิสิท ของฟรีดิช ดืรเรนมันต์: การมาเยือนของหญิงชรา (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Patterson Jim. (2004). Stage directing: the first experiences. Boston: Pearson.

Downloads

Published

2022-10-27