วิเคราะห์บทเพลงมิติแห่งอากาศธาตุโดยวิบูลย์ ตระกูลฮุ้น: บทเพลงย่อยลำดับที่ 13-17

An Analysis of Ether-Cosmos No. XIII-XVII by Wiboon Trakulhun

Authors

  • นันทกร พงศ์เลิศวุฒิ
  • วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น

Keywords:

การวิเคราะห์, มิติแห่งอากาศธาตุ , ดนตรีเอโทนัล , ดนตรีสิบสองเสียง , ทฤษฎีเซต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นหาความสัมพันธ์ของเซตต่างๆ ในบทเพลง กระบวนการ หรือวิธีการจัดการขั้นระดับเสียง และวิธีการจัดการจังหวะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้ประพันธ์  ผลการวิเคราะห์วิธีการจัดการขั้นระดับเสียงพบว่า บทเพลงย่อยลำดับที่ 13 เป็นดนตรีเอโทนัลอิสระซึ่งเซตต่างๆ ที่ปรากฏมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบของเซตย่อยแฝง ส่วนบทเพลงย่อยลำดับที่ 14-17 เป็นดนตรีเอโทนัลที่อยู่บนพื้นฐานระบบแถวโน้ต แต่กลับสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของดนตรีโทนัล นอกจากนี้ยังให้ความ สำคัญกับความสมมาตร  สำหรับวิธีการจัดการจังหวะมีลักษณะจังหวะดำเนินไปอย่างไม่สมมาตร และสร้างความคลุมเครือให้กับอัตราจังหวะด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเน้นจังหวะที่ขัดกับอัตราจังหวะจริง การจัดกลุ่มจังหวะในลักษณะที่ขัดแย้งกับอัตราจังหวะ การพัฒนาจังหวะด้วยการขยาย-ย่อทั้งแบบสมมาตร และไม่สมมาตร การเพิ่ม-ลดหน่วยย่อยจังหวะ รวมไปถึงใช้การโยงเสียงเพื่อทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนของอัตราจังหวะ อีกทั้งใช้ 2 อัตราจังหวะพร้อมกันในบทเพลงทำให้เกิดลักษณะแบบหลากอัตราจังหวะ และหลากลักษณะจังหวะ จากผลการวิเคราะห์ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าผู้ประพันธ์มีวิธีการนำเสนอกลุ่มโน้ต หรือเซตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถึงแม้จะเป็นเซตเดียวกันแต่กลับสะท้อนคุณภาพเสียงที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากวิธีการจัดการขั้นระดับเสียงที่ต่างกันในแต่ละบทเพลงย่อย  The researcher focuses on how these compositions managed, by analyzed in the issues of pitch organization and rhythmic organization, which showed the composer’s identity.  The study of pitch organization showed that Ether-Cosmos no. XIII is free atonal music throughout the piece, the set appears in the piece is mostly abstract subset. In parts of Ether-Cosmos no. XIV-XVII are atonal music base on serialism but there are tonal music element hidden in some part of piece. In addition composer also emphasizes the symmetry in every pieces.  Composer give the rhythmic and meter the asymmetry and ambiguity by various  process such as emphasizing the syncopated rhythms, irregular rhythmic groupings, augmentation-diminution including additive process, by using the metric displacement  technique and using 2 meters simultaneously to create the character of polymeter and polyrhythm.  Overall results showed that composer used same set but the set reflect different  sound quality because the difference of pitch organization in each pieces.

References

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2558). ดนตรีศตวรรษที่ 20. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2559ก). ดนตรีศตวรรษที่ 20: แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2559ข). แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต: ขั้นระดับเสียง เลขจำนวนเต็ม และค่ามอดุลัส (Basic Set Theory: Pitch-Class, Integer Notation, and Modulus). วารสารดนตรีและการแสดง, 2(1), 8-25.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2559ค). มิติแห่งอากาศธาตุ: บทประพันธ์เพลง 20 บท สำหรับเปียโน. กรุงเทพ: ธนาเพรส.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2561). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เรื่อง รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://nrct.go.th/news/ประกาศผลรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติฯ

Bellman, J. D. (2007). A Short Guide to Writing about Music (2nded.). New York: Longman.

Bent, I. (1987). The New Grove Handbook 2 in Music: Analysis (2nded.). Wiltshire, UK: Antony Rowe

Kostka, S. (2013). Tonal Harmony with an Introduction to Twentieth-Century Music (7th ed.). New York: McGraw-Hill.

Messiaen, O. (1956). The Technique of My Music Language. Paris: Alphonse Leduc.

Nagel, J. (2014). Concerning Serial Rotation in Stravinsky’s Variations. Retrieved from http://www.jomarpress.com/nagel/ articles/StravinskyVariations.html

Paxman, J. (2014). Classical Music 1600-2000 A Chronology. London: Omnibus Press.

Sadie, S. (Ed.). (1990). Stanley Sadie’s Brief Guide to Music. (2nded.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Schoenberg, A. (1950). Style and Idea. New York: Philosophical Library.

Thompson, W. (2013). Composers an Illustrated History. Leicestershire, UK: Lorenz Books.

Downloads

Published

2022-10-27