ศึกษากระบวนการสอนไวโอลินของครูต่อผู้เรียนอายุ 3-6 ปี
A Study on Violin Teaching Process for 3-6 Year-Old Children
Keywords:
กระบวนการสอน, ไวโอลิน, เด็กอายุ 3-6 ปีAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสอนและการเลือกใช้แบบเรียนไวโอลินให้เหมาะสมกับผู้เรียนวัย 3-6 ปี อีกทั้งเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเรียน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ครูไวโอลินที่มีประสบการณ์สอนผู้เรียนวัย 3-6 ปี จำนวน 5 คน จากผลการศึกษาพบว่า 1) ครูมีกระบวนการสอนโดยการเตรียมความพร้อม สอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนเพื่อใช้ในการวางแผนการสอน สื่อสารกับผู้ปกครองเพื่อบอกถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการเรียน วางแผนการสอนในช่วงอายุ 3-6 ปีในเด็กเพศชายและเพศหญิง การเลือกใช้แบบเรียน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน และการกระตุ้นความสนใจในการเรียน 2) ครูแต่ละคนมีการเลือกใช้แบบเรียนที่แตกต่างกันออกไป โดยคำนึงถึงอายุและพัฒนาการของเด็ก 3) ปัญหาที่ครูผู้ให้สัมภาษณ์พบเจอมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ เด็กไม่ให้ความร่วมมือในการเรียน ผู้ปกครองไม่เข้าใจในระบบการสอน และเด็กมีความจดจ่อในการเรียนน้อย 4) วิธีแก้ไขปัญหาข้างต้น ได้แก่ ใช้คลิปวิดิโอเพื่อกระตุ้นเด็ก สร้างความสนิทสนมเป็นกันเองกับเด็ก สื่อสารกับผู้ปกครองและชี้แจงถึงระบบการสอนที่ใช้ รวมถึงใช้ขั้นตอนการสอนที่สั้น เปลี่ยนกิจกรรมให้หลากหลาย This research aims to study the process of teaching and choosing a violin textbook that suit 3-6 year old student. Moreover, this research also studies on problem and solution that occur during the class by interview 5 expert violin teachers, non-formal education, who has an experience to teach 3-6 year old student. From the study, the researcher has been found 1) Teachers place important on Student’s information, giving an information about objective and goal to parents, Teaching plan suit appropriate with boy and girl student, choosing an exercise, adapting a teaching behavior and creating a student’s attention in class. 2) Each teacher has a different way to choose an exercise to fit with the student’s age and progression. 3) There are 3 major problems that happen during a teaching process which are student lack of cooperation in class, parent misunderstand about teaching system and student has less concentrate in class. 4) The solution from a previous problem can be solved by using a VDO to attract a student, make a friendship to a student, educated the parent to understand a teaching system and make a short in teaching process with a variety of activities.References
โกวิทย์ ขันธศิริ. (2558). ดุริยางคศิลป์ตะวันตก เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัฐนิติ นิติอาภรณ์. (2557). ศึกษากระบวนการสอนกีต้าร์คลาสสิกของครูต่อผู้เรียนวัยผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.
สมชาย อมะรักษ์. (2542). ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย. กาญจนบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.
เสวี เย็นเปี่ยม. (2537). ดนตรีปฏิบัติสำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาดนตรีสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
Bachmann, A. (1966). An Encyclopedia of the Violin. New York: Da Capo Press, Inc.
Reid, S. (2001). How to Develop Our Child’s Musical Gifts and Talents. New York: McGraw Hill.