รำไหว้ครูมวยไทย : ความหมาย ความเหมือนและความต่าง
Sacred Dance of homage to Spiritual Worship in THAI’s Boxing: Coherences and Overriding
Keywords:
รำไหว้ครูมวย, การแต่งกาย, ความเชื่อ, ดนตรีAbstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติมวยไทย มวยในราชสำนักมวยสยาม ประวัติความเป็นมาและบริบททางวัฒนธรรม ท่ารำ ความเชื่อ พิธีกรรม ดนตรีประกอบการรำของค่ายมวยโคราช มวยไชยา มวยท่าเสา มวยลพบุรี เพื่อนำมาจำแนก วิเคราะห์ ประเมินความหมาย ความเหมือน และความต่าง พร้อมจัดทำคู่มือเผยแพร่และเรียนรู้สู่สาธารณะ การวิจัยนี้นำแนวคิด หลักการ กฎบัตรอีโคโมสไทยการจัดการระบบวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ การจัดการองค์ความรู้ การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า มวยไทยมีหลักฐานมาตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงทรงโปรดให้เขียนตำรับพิชัยสงครามที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ในระยะประชิดตัว ซึ่งเป็นหน้าที่ของตะพุ่นหญ้าช้าง จาตุรงคบาท สมัยกรุงธนบุรีมีครูมวยผู้เชี่ยวชาญคือครูเมฆ บ้านท่าเสา นายทองดีฟันขาวคือต้นแบบของการสำรวจบันทึกท่ารำไหว้ครูมวยไทย ค่ายมวยไชยา มีท่ารำ 4 ท่า คือ 1) กราบเบญจางคประดิษฐ์ 2) ตรวจลม 3) ย่างสามขุม 4) เสือลากหาง ค่ายมวยลพบุรี มีท่ารำ 11 ท่า คือ 1) เทพพนม 2) กราบเบญจางคประดิษฐ์ 3) ถวายบังคม 4) ถวายหมัดครู 5) สอดสร้อยมาลา 6) สาวน้อยประแป้ง 7) ลับหอกโมกขศักดิ์ 8) นกยูงฟ้อนหาง 9) นารายณ์ขว้างจักร 10) พระรามแผลงศร 11) คุมเชิงครู ค่ายมวยโคราช มีท่ารำ 5 ท่า คือ 1) เดินทักษิณาวรรต 2) กราบเบญจางคประดิษฐ์ 3) ถวายบังคม 4) กอบพระแม่ธรณี 5) ย่างสามขุม ค่ายมวยท่าเสา มีท่ารำ 5 ท่า คือ 1) กราบเบญจางคประดิษฐ์ 2) กอบเมฆ 3) ส่องเมฆ 4) ไต่เมฆ 5) เสือลากหาง เมื่อจำแนกวิเคราะห์ความหมาย พบว่า 1) การเคารพสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ 2) การรำลึกพระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ 3) การสำรวจพื้นที่ของเวทีมวย อวดลีลาการร่ายรำและข่มขวัญคู่ต่อสู้ ส่วนความเหมือนคือกราบเบญจางคประดิษฐ์ถวายบังคม เสือลากหาง ย่างสามขุม ส่วนความต่าง ค่ายมวยไชยา ต่างกันคือตรวจลม เทพพนม ถวายหมัดครู สอดสร้อยมาลา สาวน้อยประแป้ง ลับหอกโมกขศักดิ์ นกยูงฟ้อนหาง นารายณ์ขว้างจักร พระรามแผลงศรคุมเชิงครู การแต่งกายของค่ายมวยลพบุรีที่ต่างจากค่ายอื่น คือการพันเชือกที่ข้อเท้า ความเชื่อมีการสวมมงคลที่ศีรษะ และรัดประเจียดที่ต้นแขนเพื่อเป็นสิริมงคล ดนตรีมีปี่ กลอง ฉิ่ง โดยใช้เพลงสะระหม่า ค่ายมวยไชยามีความเก่าแก่ที่สุด The objective of this research is to study the history of Thai boxing, boxing in Siam, including its cultural contexts, postures, beliefs, rites and music played while a battle of Korat boxing, Chaiya boxing, Tha Sao boxing and Lopburi boxing to be classified, analyzed and explained definition, coherence and overriding. Moreover, its handbook is made to publicize to common people. The researcher applied the concept of the charter of ICOMOS, the knowledge management and the management of intangible cultural heritage, respectively. The research findings revealed that the evidence of Thai boxing was found since the Age of Ram Khamhaeng the Great, who composed the treatise on war strategy related to a close combat considered the responsibility of Tapunyachang and Jaturongkabat. In the Age of Thonburi, the boxing instructors were Kru Mek from Baan Tha Sao and Mr. Thongdee Funkhao, who is a prototype, which was surveyed the patterns of sacred dance of homage to spiritual worship in Thai boxing. There are 4 dancing patterns of Chaiya boxing: 1) Krabbenjangkhapradit, 2) Truajlom, 3) Yangsamkhum and 4) Sualakhang. There are 11 dancing patterns of Lopburi boxing: 1) Theppanom, 2) Krabbenjangkhapradit, 3) Thawaibangkom, 4) Thawaimadkru, 5) Sodsoimala, 6) Saonoiprapaeng, 7) Labhokmokkhasak, 8) Nokyungfonhang, 9) Naraikhwangjak, 10) Phraramphaengsorn and 11) Kumcherngkru. There are 5 dancing patterns of Korat boxing: 1) Dernthaksinwat, 2) Krabbenjangkhapradit, 3) Thawaibangkom, 4) Kobphramaethoranee and 5) Yangsamkhum. There are 5 dancing patterns of Tha Sao boxing: 1) Krabbenjangkhapradit, 2) Kobmek, 3) Songmek, 4) Taimek and 5) Sualakhang. When classifying and analyzing the definitions, it was found that 1) worship of holy things, 2) remembrance of a favor of parents and teachers and 3) survey of boxing arena and show-off of dancing and threat to opponents. The coherences were Krabbenjangkhapradit, Thawaibangkom, Sualakhang and Yangsamkhum. The different overridings of Chaiya boxing gym were Truajlom, Theppanom, Thawaimadkru, Sodsoimala, Saonoiprapaeng, Labhokmokkhasak, Nokyungfonhang, Naraikhwangjak, 1 Phraramphaengsorn and Kumcherngkru. The dress of Lopburi boxing gyms which was different from other gyms was to binding a rope around an ankle, including equipping a boxing headband and binding a boxing scarf for fortune according to its belief. The played music instruments comprised of a Thai oboe, a Thai drum and a pair of small cup-shaped cymbals. The most ancient gym is Chiya boxing. Therefore.References
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว. (2555). มวยไทยกระบวนยุทธ์แห่งสยาม. มหาวิทยาลัยศิลปากร สำนักบริการวิชาการ. (2553). สมุดไทยดำ ตำราชกมวย. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
มนัส แก้วบูชา. (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยเฉพาะทาง. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
กระทรวงวัฒนธรรม. (2543). การจัดการมรดกวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ. กรมศิลปากร. อัมรินปรินท์ ติ้ง กรุงเทพมหานคร
กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 และอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ.2003 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. กรุงเทพมหานคร
Downloads
Published
2022-10-27
Issue
Section
Articles