การสร้างนาฏกรรมในเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์

Creation of Dance Performances in Chinese New Year Festival at Nakhon Sawan

Authors

  • ภูริตา เรืองจิรยศ
  • สุรพล วิรุฬห์รักษ์

Keywords:

นาฏกรรม, เทศกาลตรุษจีน, นครสวรรค์

Abstract

บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสร้างนาฏกรรมในงานเทศกาลตรุษจีน ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 จนถึง พ.ศ. 2560 ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และนำ เสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า นาฏกรรมในเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ เป็นการแสดงกลางแจ้งในรูปแบบขบวนแห่บนท้องถนน แบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ วัฒนธรรมดั้งเดิม วัฒนธรรมออกภาษา และวัฒนธรรมนำเข้า ซึ่งมี 3 ประเภท ได้แก่ 1) การแสดงกายกรรม มี 6 ขบวน คือ ขบวนมังกรทอง ขบวนเสือไหหลำ ขบวนสิงโตกว๋องสิว สิงโตฮากกา สิงโตปักกิ่ง และสิงโตฮกเกี้ยน 2) การแสดงบทบาทสมมติ มี 9 ขบวน คือ ขบวนแห่เจ้าพ่อ–เจ้าแม่ ปากน้ำโพ  พะโหล่ว (ฆ้อง) โบ้ยโบ้ (อาวุธเจ้า) ไซกี่ (ถือธง) เขียเปีย (ป้ายอวยพร) ขบวนองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม ขบวนพระถังซำจั๋ง ขบวนเอ็งกอ–พะบู๊ ขบวนนางฟ้า และ 3) การแสดงวิถีชีวิต มี 2 ขบวน คือ ขบวนรำถ้วยไหหลำ และขบวนล่อโก้ว นาฏกรรมสร้างสรรค์ขึ้นจากพลังความเชื่อและความศรัทธาผสานความสามัคคีของคนในชุมชนนครสวรรค์ โดยถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชีวิต ศาสนา ขนบธรรมนียม ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของคนจีน ผ่านการแสดงออกมาทางภาษา ท่าทาง ทำนองดนตรี และเครื่องแต่งกาย อีกทั้งยังสะท้อนรากเหง้าของบรรพบุรุษ และอัตลักษณ์ชุมชนจีนในจังหวัดนครสวรรค์ รวมถึงมิตรภาพ และความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน ทั้งชาวไทย ชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน The objective of this research was to study the creation of performing arts in Chinese New Year festival at Pak Nam Pho, Nakhon Sawan province from 1917 A.D.–2017 A.D. This is a qualitative research by studying documents, text book, academic researches and interviewing, observing in Nakhon Sawan province. According to the research, it was found that the performing arts in Chinese New Year  Festival at Nakhon Sawan is the outdoor performance with street parade and can be divided into three periods of development: the displaying of traditional elements of the early Chinese settlers, the introducing of more elements from various Chinese ethnic groups who are the late settlers, and the additional elements from non–Chinese communities who wish to participate in this important festival. The performance have three types; 1) acrobat performance which has six processions: dragon, Hai Num Tiger, Hakka Lion, Peking Lion and Hokkian Lion 2) Role-play performance which has nine processions: Pak Nam Pho’s god and goddess, Pa Lhow (gong), Boy Bo (god’s weapon), Sai Gee (flags), Kia Pia (greeting boards), Guanyin impersonators, Pra Tung Sum Jung, Engor Pabu, Angels 3) The performance of life style which has two processions: Hai Lum’s cup dance and Lor Gow. The research has shown that the objective of this performing arts is for ritual benefit which created from the belief, faith and harmonious of Nakhon Sawan people. They transform their Chinese stories, lifestyle, religious, cultures and arts through languages, movements, music and costumes. Moreover, this performing art also reflects their ancestors’ background and the identity of Chinese community in Nakhon Sawan along with the friendship among Thais, Chinese, and Thai Chinese.

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2561). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2561. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

กองบรรณาธิการ สมาคมไหหลำนครสวรรค์. (2552). สมาคมไหหลำนครสวรรค์. นครสวรรค์.

คณะกรรมการการจัดงานเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ปี พ.ศ. 2549-2550. (ม.ป.ป.). สืบสานประเพณีตรุษจีนเมืองปากน้ำโพ. นครสวรรค์: อินทนนท์การพิมพ์ นครสวรรค์.

คณะกรรมการการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ ประจำปี พ.ศ. 2558-2559. (ม.ป.ป.). ศตวรรษแห่งศรัทธา ตรุษจีน 100 ปี สืบสานประเพณีแห่งเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ. นครสวรรค์: วิสุทธิ์การพิมพ์.

คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ประจำปี 2532-2533. (2533). ประสบการณ์คณะกรรมการเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ ปี 2532-33. นครสวรรค์: เรือใบการพิมพ์.

นริศ วศินานนท์. (2551). ศาสตร์ศิลป์วัฒนธรรมจีน. กรุงเทพมหานคร: ตถาตา พับลิเคชั่น.

ประพิณ มโนมัยวิบูลย์. (2554). ชุมชนจีนในไทยหลากหลายสำเนียง. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 36 (4): 539-552.

ภิญโญ นิโรจน์. (2558). ภาพเก่าเล่าอดีตเมืองปากน้ำโพ. นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.

มานพ สุวรรณศรี. (2553). ภาพเก่าเล่าขานตำนานเมืองปากน้ำโพ. กรุงเทพมหานคร: เดือนตุลา.

ยรรยง จิระนคร. (2554). จีน กับสังคม วัฒนธรรม หลากหลายชาติพันธุ์. เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ด.

จงกล ยนต์พินิจ, องค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิมคนแรก งานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์. (28 มกราคม 2560). สัมภาษณ์.

นวพันธ์ เหมชาติวิรุฬห์, เลขานุการและเหรัญญิก สมาคมกว๋องสิว. (30 มกราคม 2560). สัมภาษณ์.

นำชัย อังสุธาร, เจ้าของกิจธุรกิจโรงงานเต้าเจี้ยวจีแซ จังหวัดนครสวรรค์. (25 มกราคม 2560). สัมภาษณ์.

สุรชัย วิสุทธากุล, หัวหน้าคณะมังกรทองเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ปากน้ำโพ. 2560). สัมภาษณ์.

อลงกรณ์ ลิมศิริชัยกุล, ประธานอำนวยการศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์- เจ้าแม่ทับทิม. (27 มกราคม 2560). สัมภาษณ์.

Downloads

Published

2022-10-27