การวิเคราะห์บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธาเพื่อประพันธ์บทเพลงร้องชุดห้วงแห่งรัก

The Analysis of legitimate drama, MADANABADHA, for the Vocal composition of Huang Hang Ruk Suite

Authors

  • ลดาวัลย์ อาคาสุวรรณ

Keywords:

มัทนะพาธา, การประพันธ์บทเพลงร้อง, บทละครพูด

Abstract

บทความวิชาการเรื่อง การวิเคราะห์บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธาเพื่อประพันธ์บทเพลงร้องชุดห้วงแห่งรัก เป็นส่วนหนึ่งของวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง การประพันธ์ทำนองบทเพลงร้องจากวรรณคดีไทย เรื่องมัทนะพาธา : ห้วงแห่งรัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา สำหรับการนำไปประพันธ์เป็นบทเพลงร้องชุดห้วงแห่งรัก โดยการวิเคราะห์ได้นำแนวทางมาจากการศึกษาบทเพลงขับร้องที่มาจากวรรณคดีเป็นแนวคิดในการคัดเลือกบทเพลงร้องในชุดห้วงแห่งรัก  จากการวิเคราะห์พบว่าในองค์ที่ 3 มีแนวคิดที่แสดงออกถึงธรรมชาติของความรักและการสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกรักของตัวละครได้อย่างชัดเจน รวมถึงการใช้ภาษาที่มีความงดงามในด้านวรรณศิลป์ จึงเหมาะสมที่จะนำ มาประพันธ์ทำนองเพลงร้อง ซึ่งผู้เขียนได้คัดเลือกมาทั้งสิ้น 6 บทเพลง ในชื่อชุดห้วงแห่งรัก  The study of the analysis of legitimate drama, MADANABADHA, for the vocal composition of Huang Hang Ruk Suite is a part of vocal composition from Thai Literature Madanabadha: Huang Hang Ruk. This article aims to analyze the legitimate drama, MADANABADHA, for the composition of Huang Hang Ruk suite. The concept of this analysis is derived from the study of the songs created from Thai Literatures.  From the analysis, it reveals that act 3 shows the nature and feeling of love. The literature obviously reflects the lovable feeling of the characters. Art created language is included in the literature. Therefore, the researcher chose the story from acts 3 to compose the 6 pieces in Houng Hang Ruk Suite.

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2535). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กนกกาญจน์ นุกูล. (2551). วิเคราะห์ตัวละครจากบทพูดคำฉันท์เรื่องมัทนพาธาตามหลักอริยสัจสี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาไทย.

กรมศิลปากร. (2550). บัณณ์ดุรีย์ วรรณคดีกับเพลง (เล่ม 2) ภาควรรณคดีไทยในเพลงไทยสากล. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2558). 100 ปี วรรณคดีสโมสร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ดวงเดือน พัฒนวิริยะวาณิช. (2552). พระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธา : การศึกษาเชิงสุนทรียศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาไทย.

ทองแถม นาถจำนง. (2559). คำฉันท์ : วรรณลีลา มรดกชาติ ความรู้อันจำเกี่ยวกับวรรณคดีคำฉันท์. กรุงเทพฯ: ชนนิยม.

มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2544). มัทนะพาธา ตำนานดอกกุหลาบ. กรุงเทพฯ: บันทึกสยาม.

มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2554). บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม : ภาพพจน์ โวหาร และกลการประพันธ์. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). กวีวัจน์วรรณนา วรรคทองในวรรณคดีไทยพร้อมประวัติและคำอธิบาย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2553). วรรณศิลป์ในวรรณคดีที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 2 (4). 1-24.

วิภา กงกะนันทน์. (2556). วรรณคดีศึกษาว่าด้วยการอ่าน. กรุงเทพฯ: สกสค.

วิระวัลย์ ดีเลิศ และปณัฐ อนุรักษ์ปรีดา. (2561). ความทุกข์จากความรักในวรรณคดีเรื่องมัทนพาธา. วารสารวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีที่ 13 (2). 347-358.

วราภรณ์ บำรุงกุล. (2522). วิเคราะห์บทพระลอ เงาะป่า และมัทนะพาธา ตามทฤษฎีโศกนาฏกรรมของอริสโตเติล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

สมเกียรติ รักษ์มณี. (2551). ภาษาวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: สายน้ำใจ.

สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2556). จาก “วรรณคดี” สู่ “คีตศิลป์” ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: บริษัทเอส. อาร์. พริ้นติ้ง.

สุภกัญญา ชวนิชย์. (2557). วิเคราะห์ตัวละครจากบทพูดคำฉันท์เรื่องมัทนพาธาตามหลักอริยสัจสี่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 8 (1). 188-191.

องอาจ โอ้โลม. (2555). วรรณคดีศึกษา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

Downloads

Published

2022-10-27