ร่ายใน-ร่ายนอก : การดำเนินเรื่องของโขนละคร

Rai nai – Rai nok: The conduct of Khon and Lakorn performance

Authors

  • จันทนา คชประเสริฐ

Keywords:

ร่ายใน, ร่ายนอก, ละครใน, ละครนอก

Abstract

ร่ายในและร่ายนอกเป็นทำนองร้องสำหรับดำเนินเรื่องของโขนละคร ด้วยเพราะบทบรรยายการร่ายรำต้องการความรวดเร็วจึงไม่บรรจุเพลงร้อง จึงใช้เพลงร่ายแทน ร่ายในใช้สำหรับโขนและละครในส่วนร่ายนอกใช้สำหรับละครนอกและละครทั่วไป ร่าย ถ้าเป็นละครในเรียกว่าร้องร่ายในและเพลงที่ลงท้ายด้วยใน เช่น เพลงช้าปี่ใน, เพลงปีนตลิ่งใน ถ้าเป็นละครนอกเรียกว่าร้องร่ายนอกและเพลงที่ลงท้ายด้วยนอก เช่น เพลงช้าปี่นอก, เพลงปีนตลิ่งนอก ร่ายใน ด้วยละครในนั้นเกิดขึ้นในวัง ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน ลีลาการร่ายรำสวยงาม เพราะฉะนั้นในการขับร้องต้องมีลีลาและดูตัวละครประกอบ การขับร้องปรับปรุงให้มีทำนองและจังหวะนิ่มนวล สละสลวย เหมาะสมกับลีลาท่าร่ายรำที่อ้อนช้อยงดงามตามขนบจารีตของละครในราชสำนัก บทบรรยายการร่ายรำต้องการความรวดเร็วจะไม่ใส่เพลง จึงใช้เพลงร่ายในเป็นเพลงเดินเรื่อง  ร่ายนอก ด้วยละครนอกนั้นเกิดขึ้นนอกวัง ส่วนใหญ่ใช้ผู้ชายแสดง เพราะฉะนั้นลีลาการรำไม่เหมือน  อย่างละครใน ฉะนั้นจะร้องรวดเร็ว การดำเนินเรื่องต้องการบรรยายใช้เพลงร่ายเหมือนกับละครในแต่เรียกว่าร้องร่ายนอก ร่ายนอกจะร้องยืดแบบร่ายในไม่ได้ เพราะต้องการความรวดเร็ว ต้องการรู้เรื่องเร็วส่วนละครในต้องลีลาการร่ายรำเป็นใหญ่ ทำอย่างไรถึงชัดเจน ถึงจะเพราะ ร่ายนอกไม่ต้องพิถีพิถันในการร้อง  สิ่งสำคัญของวิธีการร้องร่ายคือต้องร้องกดเสียงจึงจะถูกต้องในการร้องร่าย ไม่ควรร้องเร็วเพราะจะเรียกว่าร้องเหนอ คือการร้องแล้วไม่กดเสียง คำร้องต้องชัดเจนและเรื่องจังหวะต้องกระชับ  “Rai nai” and “Rai nok” is a melody for the Khon performance’s conduct. Because the dance’s narrative needs speed, it does not contain lyrics for singing, therefore use “Rai” song. “Rai nai” used for Khon (Mask performance) and Lakhon nai (play performed by all females). The Rai nok melody is used for Lakhon nok (play performed by all-male) and other Lakhon (Drama).  The calling of “Rai” in Lakhon nai is Rai nai, and the song’s end name is “Nai” (Cha  Pie Nai song, Peen Taling Nai song). For Lakhon nok, The calling of “Rai” in Lakhon nok is Rai nok, and the song’s end name is “Nok” (Cha Pie nok song, Peen Taling nok song).  The Lakhon nai takes place in the court. All females perform the play beautiful dance style. Therefore, while singing must have sort follows the perform characters. According to the royal drama tradition, the singing has been improving to have smooth melodies and graceful rhythm, suitable for the elegant and refined choreography. The dance narrative needs to be concise; it will not use the music using “Rai” to moderate the performance.  The Lakhon nok takes place out the court (all males perform the play), not like the Lakhon nai. The dance style is not the same as the Lakhon nai, with a bit faster tempo. The storytelling needs to narrate the same as the Lakhon nai called “Rai nok” singing. The “Rai nok” cannot be slow tempo like “Rai nai.” The Rai nok has to be speedy and rapid in the story, but the Lakhon nai focuses on dancing, singing, and clarifying different Rai nok (indiscriminate in singing). The necessity of “Ria” singing is the mouth tone technique and on beat the rhythm.

References

ธนิต อยู่โพธิ์. (2516). ศิลปะละครรำหรือคู่มือนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: ศิวพร.

พรเทพ บุญจันทร์เพ็ชร์. (2558). ประวัตินาฏศิลป์ไทย : ภาคกลาง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสไตร์.

มนตรี ตราโมท. (2515). พื้นฐานอารยธรรมไทย ตอน นาฏศิลป์และดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิมลศรี อุปรมัย. (2555). นาฏกรรมและการละคร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2558). นาฏยวรรณคดีสโมสร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สมศักดิ์ บัวรอด. (2561). การสร้างละครรำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ฝ่ายธุรกิจมัลติมิเดียเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อุทิศ นาคสวัสดิ์, (2530). ทฤษฎีและปฏิบัติดนตรีไทย ภาค 1 ว่าด้วยหลักและทฤษฎีดนตรีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศิริวิทย์.

Downloads

Published

2022-10-27