ประวัติและคุณลักษณะทางดนตรีของเพลงพื้นบ้านลำพวนโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี

History and Musical Characteristics of Lam Puan Folk Song in Khok Pip Sub-district, Si Mahosot District, Prachin Buri Province

Authors

  • สราวุธ โรจนศิริ
  • จรัญ ยินยอม
  • สมพงษ์ ทองคำ

Keywords:

เพลงพื้นบ้าน, ลำพวน, โคกปีบ, Folk Song, Puan Folk Song, Khok Pip Sub-district

Abstract

คำว่า “พวน” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองพวน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้ำสำคัญชื่อ “แม่น้ำพวน” จึงเรียกกลุ่มชนนี้ว่า “ชาวพวน” เข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย ตำบลโคกปีบเป็นพื้นที่ในจังหวัดปราจีนบุรีมีวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านในลักษณะวัฒนธรรมไทพวนหรือลาวพวน มีการขับร้องเพลงพื้นบ้านในแบบฉบับของตนเองเรียกว่า “ลำพวน” หรือ “ขับพวน” ในลักษณะการนั่งขับร้องกลอนโต้ตอบกันหรือขับร้องบรรยายเรื่องราวต่างๆ โดยใช้ภาษาท้องถิ่น (ภาษาพวน) ลำพวนมีท่วงทำนองช้าๆ เนื้อเรื่องมีทั้งดั้งเดิมและทันสมัย ฟังแล้วมีทั้งโศกเศร้าและออดอ้อน ปัจจุบันจัดแสดงลำพวนกันในงานเทศน์มหาชาติและงานบุญกฐินเท่านั้น บทเพลงลำพวนใช้เสียงร้องหลักของนักขับร้องจำนวน 1 คน สลับกับการร้องรับด้วยเสียง “ฮี้ว” ของผู้คนที่มาเข้าร่วม มีการขับร้องโต้ตอบ สลับกันระหว่างชายกับหญิงแบบขับร้องเดี่ยวสลับกันไปประกอบกับเครื่องดนตรี 1 ชิ้น คือ แคน  The term “Puan” refers to the ethnic group who resided in Puan town in the Lao People’s Democratic Republic where there was a Puan river running through it. Historically, the Puan people emigrated to Thailand during the late Krung Thonburi period. Khok Pip sub-district is an area in PrachinBuri Province where there is a unique culture of Thai Puan (or Lao Puan) known as “Lam Puan” or “Kub Puan” folk music. The characteristics of Lam Puan folk music are in the forms of antiphonal singing and narrative singing, using local language (Puan language). The songs have a slow melody with the lyrics that tell either traditional or modern stories. The sound of the music could be portrayed in sad or pleasing tones. The Lam Puan folk songs are performed by a leading vocalist who sings with the response of the “Hew” chorus from the participating people. The songs are also performed by male and female soloists who sing alternately in Thai-style antiphon, accompanied by a single musical instrument, “Can” (the bamboo mouth organ). At present, the Lam Puan folk music is usually found only in the Ceremony of Vessantara Sermon and the Kathin Ceremony.

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2539). การศึกษาดนตรีไทยทางเลือกแห่งนิยามดนตรีวิทยาหรือมนุษยสังคีตวิทยา: วารสารคำดนตรี.

ชูชาติ พิณพาทย์. (2541). สำรวจเพลงพื้นบ้านภาคตะวันออก. รายงานวิจัย: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2544). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณราย คําโสภา. (2542). การวิเคราะห์เพลงพื้นบ้านกันตรึมของหมู่บ้านดงมัน. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภิญโญ ภู่เทศ. (2553). การวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีเพลงพื้นบ้านในจังหวัดนครสวรรค์. รายงานวิจัย: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ภัทรธิรา ผลงาม. (2544). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มนตรี ตราโมท. (2507). ศัพท์สังคีต. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร

ฤดีมน ปรีดีสนิท. (2539). วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมประเพณีและประวัติศาสตร์ชุมชน. อุดรธานี: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุดรธานี

ลักขณา ชุมพร. (2555). เพลงพื้นบ้านภาคกลาง กรณีศึกษาบ้านสามโก้ ตำบลสามโก้ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. ปริญญานิพนธ์: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สงัด ภูเขาทอง. (2532). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

อเนก นาวิกมูล. (2521). เพลงนอกศตวรรษ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: การเวก

Sardie Stanley. (1980). The New Grove Dictionary of Music and Musicians, Volume 6. London: McMillan Publication, Limited.

Downloads

Published

2022-09-26