แตรวงในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Brass band in Muang district, Phitsanulok
Keywords:
แตรวง, การดำรงอยู่, การสืบทอด, Brass band, Existence, InheritanceAbstract
การวิจัยเรื่องแตรวงในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการสืบทอด และการดำรงอยู่ของแตรวงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของแตรวงใน เขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า การสืบทอดแตรวงในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีการสืบทอด 2 ส่วนประกอบด้วย 1) การสืบทอดด้านองค์ความรู้ของแตรวง คือ การสืบทอดภายในครอบครัว และการสืบทอดภายนอกครอบครัว 2) การสืบทอดด้านองค์ประกอบของแตรวง ได้แก่ เครื่องดนตรี รูปแบบการจัดวง บทเพลง และพิธีไหว้ครู การดำรงอยู่ของแตรวงในอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ จำนวนสมาชิกในวง และอัตราค่าจ้าง บทบาทหน้าที่ของแตรวงในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ บทบาทหน้าที่ในงานมงคล ได้แก่ งานบวช งานมงคลสมรส งานแก้บน งานแห่เทียนพรรษา และงานกฐิน เป็นต้น บทบาทหน้าที่ในงานอวมงคล ได้แก่ งานบำเพ็ญกุศลศพ This research study about brass bands in Muang district, Phitsanulok. The objectives are 1) to study the inheritance and the existence of the brass band in Muang district, Phitsanulok 2) to study the roles and functions of brass bands in Muang district, Phitsanulok. The results show that the Inheritance of the brass bands had two parts. 1) Inheritance of the brass band knowledge and skill have taught inside and outside the band leader’s family. 2) Inheritance of the brass band elements have passed on from generation to generation, including musical instruments, ensembles, songs, and Wai Kru ceremonies. The existence of the brass band in Muang district, Phitsanulok was related to two factors that are membership amount and remuneration. Roles and functions of brass bands in Muang district, Phitsanulok were divided into two types. 1) auspicious ceremonies such as ordination ceremony, wedding ceremony, redeeming a vow ceremony, candle procession, and Kathin ceremony. Non-auspicious ceremony included funeral ceremony.References
กมลธรรม เกื้อบุตร. (2557). ดนตรีเต้นรำในสังคมและวัฒนธรรมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาดนตรี). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
กฤษฎา นิยมทอง. (2550). แตรวงพื้นบ้านในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาไทยคดีศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
งามพิศ สัตย์สงวน. (2538). การวิจัยทางมานุษยวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง, อมรา พงศาพิชญ์, สุพัตรา สุภาพ, ประสิทธิ์ สวาสดิ์ญาติ, งามพิศ สัตย์สงวน, ปรีชา คุวินทร์พันธุ์, ...สุริชัย หวันแก้ว. (2553). สังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2554). การก่อเกิดเพลงไทยสากล: แนวคิดด้านดนตรีวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รณชัย รัตนเศรษฐ. (2557). วัฒนธรรมแตรวงชาวบ้าน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 17(2), 123-143.
สมบัติ เวชกามา. (2554). การพัฒนารูปแบบการบรรเลงดนตรีแตรวงชาวบ้านร่วมสมัยในจังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3(5), 128 - 146.
สุดแดน สุขเกษม. (2542). แตรวงชาวบ้านกับการรับใช้สังคม: กรณีศึกษาคณะถนอมศิลป์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาดนตรี). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุธี ชำนาญสุธา. (2545). แตรวงชาวบ้าน: กรณีศึกษาแตรวงในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาดนตรี). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Troiano, C. (2021). From antiquity to academia: a history of early American brass bands and away forward for their adaptation within institutions of higher learning. Doctoral dissertation. Virginia: George Mason University. Retrieved from https://www.proquest.com/docview/2572606771/7F0F1EBB6B2C4B6DPQ /1