การเขียนบทละครเพลงว่าด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์

Writing a Musical about The Narratives of Jit Poumisak’s Life

Authors

  • นฤทธิ์ ปาเฉย

Keywords:

จิตร ภูมิศักดิ์, ละครเพลง, วิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่อง, Jit Poumisak, Musical Theatre, Multiple Plots

Abstract

เรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ มีอิทธิพลต่อประเทศไทยในด้านสังคม การเมืองและ ศิลปวัฒนธรรม มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงก่อน “เหตุการณ์ 14 ตุลา” หรือ “วันมหา-วิปโยค” พ.ศ. 2516 ถึงช่วงหลัง “เหตุการณ์ 6 ตุลา” หรือ “การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” พ.ศ. 2519 ผู้วิจัยศึกษาการผลิตเรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะวัตถุดิบสร้างสรรค์เรื่องราวและวิธีการ นำเสนอ เพื่อเขียนบทละครเพลงที่แสดงให้เห็นการประกอบสร้างบุคคลต้นแบบผ่านเรื่องเล่า วิพากษ์การ เผยแพร่และสืบทอดอุดมการณ์ทางการ เมืองผ่านบุคคลต้นแบบ และทำให้ผู้ชมตระหนักถึงอิทธิพลของการยึดติดบุคคลต้นแบบจนเกิดความขัดแย้งที่บานปลายสู่การใช้ความรุนแรง ผู้วิจัยใช้เพลงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินเรื่องและใช้วิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่อง (multiple plots) เพื่อสื่อสารประเด็นดังกล่าว โดยศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการผลิตเรื่องเล่า การเขียนบทละครเพลงและวิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่อง ผลการศึกษาพบว่า วิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่องด้วยการ “ตัดแปะ” (collage) โครงเรื่อง 3 โครงเรื่องบนโครงเรื่องใหม่ เป็นวิธีการที่กระตุ้นความคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ของผู้ชมต่อประเด็นที่ผู้วิจัยตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพลงจะไม่ได้ทำหน้าที่ดำเนินเรื่องเป็นหลัก แต่ทำหน้าที่ถ่ายทอด ความรู้สึกนึกคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองของตัวละคร เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจแรงผลักดันของตัวละครสำคัญ ที่ไม่สามารถแสดงความต่อเนื่องของการกระทำบนวิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่องได้  From the past until now, narratives about Jit Poumisak’s life have been influencing Thai society, politics, art and culture, especially during the period before “the 14th October 1973” or “1973 Thai popular uprising” until after “the 6th October 1976” or “the Thammasat University massacre”. The researcher examined the productions of narratives about Jit Poumisak’s life as materials used to create stories and styles for writing a musical. The musical was determined to portray the construction of a political icon through narratives, to criticise the passing over of political ideology by using an icon, and to raise the audience’s awareness about the effects of excessive adherence to an icon that can cause conflicts resulting in violence. The researcher employed songs as a key element to tell the story and used multiple plot lines to achieve the aforementioned objectives. Throughout the process, the researcher studied concepts behind narrative productions, approaches to musical theatre writing, and the style of multiple plot lines. The finding of the study was inspired by a visual representation called “collage”. The musical was written as an assembly of three different plot lines, cut and re-edited to create a whole new plot line. This approach was to effectively require that the audience thinks critically about the topics the researcher intended to criticise. In the musical, the main purpose of the songs was not to move the actions forward, but to deliver the high emotion or the political ideology of the characters. This particular use of songs was meant for the audience to understand the motivations of the main characters, whose actions cannot be composed continuously according to the style of multiple plot lines.

References

ศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2557). จิตร ภูมิศักดิ์ ในความทรงจำของใครและอย่างไร. ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จิตร ภูมิศักดิ์: ความทรงจำและคนรุ่นใหม่ 34-65. กรุงเทพมหานคร: พี.เพรส.

ศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2546). อำนาจของเรื่องเล่า. ใน เชิงอรรถวัฒนธรรม 3-9. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2556). ภาษากับการเมือง/ความเป็นเมือง. กรุงเทพมหานคร: วิภาษา

ธงชัย วินิจจะกูล. (2562). ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.

สมานฉันท์ พุทธจักร. (2559). รายงาน: 50 ปีการจากไปของ จิตร ภูมิศักดิ์ จาก ‘ผีใบ้หวย’ สู่ ‘อาจารย์จิตร’ [ออนไลน์]. 5 พฤษภาคม 2562. จาก https://prachatai.com/jounal/2016/05/65617.

อติภพ ภัทรเดชไพศาล. (2556). แสงดาวแห่งศรัทธา สถานะของเพลงเพื่อชีวิตและคอมมิวสต์ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์. ใน เสียงเพลง/วัฒนธรรม/อำนาจ 161-191. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

Cohen A. and Rosenhaus Steven L. (2006). Writing Musical Theatre. New York: Palgrave Macmillan.

Frankel Aaron. (2000). Writing the Broadway Musical. United States of America: Da Capo Press.

Parida Manomaiphibul. (2018 January). Writing the Play Chui Chai Saneha: Using Structure to Deliver the Main Message. ABAC ODI JOURNAL VISION. ACTION. OUTCOME 5 (1) 144-157.

Downloads

Published

2022-09-26