แนวทางการบรรเลงกลุ่มทรอมโบนในวงบิ๊กแบนด์ในบทเพลงของแซมมี่ เนติโก

Trombone section in sammy nestico’s big band compositions

Authors

  • สรพจน์ วรแสง
  • เด่น อยู่ประเสริฐ

Keywords:

กลุ่มทรอมโบน, แซมมี่ เนสติโก, วงบิ๊กแบนด์, Trombone section, Sammy Nestico, Big Band

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการบรรเลงกลุ่มทรอมโบนในวงบิ๊กแบนด์ในเรื่องเทคนิคการใช้การควบคุมลักษณะเสียง ความสมดุลเสียงในกลุ่มทรอมโบน และเทคนิคเฉพาะของทรอมโบน โดยผู้วิจัยเลือกบทประพันธ์เพลงของแซมมี่ เนสติโกจำนวน 2 บทเพลงคือ บทเพลงเอทตี้เอทเบซีสตรีท และบทเพลงวินด์แมชชีน โดยวิเคราะห์จากแผ่นบันทึกเสียงอัลบั้ม เดอะเลกาซีออฟแซมมี่ เนสติโก บรรเลงโดย เดอะยูไนเต็ดสเตทอาร์มีฟิลด์แบนด์ และอัลบั้ม เบซีคอลลีแซมมี่ บรรเลงโดย เดอะเซาท์เวสต์ เรดิโอบิ๊กแบนด์ โดยทั้ง 2 อัลบั้มแซมมี่ เนสติโกทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยเพลง แต่การถ่ายทอดอารมณ์บทเพลงของทั้ง 2 วงก็มีความหลากหลาย แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวงรวมถึงการตีความบทเพลงและความรู้สึกในการถ่ายทอดบทเพลง การวิเคราะห์นี้เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งเพื่อจะให้เห็นว่าแนวทางการบรรเลงกลุ่มทรอมโบนในกลุ่มทรอมโบนสามารถใช้เทคนิคต่างๆ มาเสริมเพื่อให้เกิดความไพเราะในบทเพลง  The objectives of this research focus on an investigation of trombone playing styles in a big band setting, balancing the sounds within the trombone section, and trombone playing techniques. In order to collect data, two compositions from Sammy Nestico which were 88 Basie Street and Wind Machine were selected. The data were analyzed using the records from The Legacy of Sammy Nestico performed by The United States Army Field Band and Basie Cally Sammy performed by The South West Radio Big Band. Both records are under the conducting of Sammy Nestico. even Sammy Nestico was the composer and conductor for both works, the musical interpretation and the performing styles from both bands were different. The performance from each band reflected their stylistic identity. This analysis was a small part reflecting the ability of trombone players who could utilize unique techniques to create musical beauty.

References

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

อนันต์ ลือประดิษฐ์. (2545). Jazz อิสรภาพทางดนตรีของมนุษยชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เนชั่น.

Ball, T. J. (2009). A Trombone Handbook for the Secondary School Jazz Ensemble Director (Unpublished Doctoral dissertation). University of Northern Colorado, USA.

Greig, J., & Lowe, G. (2014). Breaking Sound Barriers: New Perspectives on Effective Big Band Development and Rehearsal. Australian Journal of Music Education, 47 (1), 52-65.

Martin & Waters, 2009.

Tanner, O. P., & Megill, W. D. (2019). Jazz (13th ed.). New York: McGraw-Hill.

Wright, R. (1982). Inside the Score. New York: Kendor Music.

Downloads

Published

2022-10-28