การสร้างสรรค์ระบำโบราณคดีจากแหล่งโบราณสถาน ปราสาทเขาน้อยสีชมพู

The creation of archaeological dance based on prasart kaonoi sichompoo historic site

Authors

  • มานิต เทพปฏิมาพร

Keywords:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์, ระบำโบราณคดี, ปราสาทเขาน้อยสีชมพู, Creative dance, Archaeological Dance, Kaonoi Si Chompoo

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบระบำจากแหล่งโบราณสถานปราสาทเขาน้อยสีชมพู จังหวัดสระแก้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารผลงานทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์และนาฏศิลป์ไทย การลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากแหล่งโบราณสถานปราสาทเขาน้อยสีชมพู การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย นักโบราณคดี และปราชญ์ชาวบ้านโดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการในการสร้างสรรค์การแสดง ผลการวิจัยพบว่าปราสาทเขาน้อยสีชมพูสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 อ้างอิงจากอักษรบนหลักศิลาจารึกโบราณ และโบราณวัตถุอื่นๆ ได้แก่ ทับหลังศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ศิลปะแบบไพรกเมง ประติมากรรมรูปบุคคล ตุ๊กตาดินเผาสมัยเกาะแกร์ ฐานศิวลึงค์แบบตรีมูรติ และเครื่องสำริด ฯลฯ ผู้วิจัยกำหนดจินตภาพรูปบุคคลอยู่เหนือตัวมกรที่ปรากฎบนทับหลังของปราสาทเขาน้อย แสดงท่าทางการร่ายรำตามหลักฐานที่ปรากฎจากภาพจำหลัก ลายเส้น โครงสร้างของปราสาท โบราณวัตถุ กำหนดโครงสร้างสัญลักษณ์ ในการออกแบบท่าทาง การออกแบบแถวในการแสดงสื่อถึงความเชื่อ ความศรัทธา การบูชาตามหลักศาสนาฮินดูที่กล่าวถึงการสรรเสริญพระวิษณุ ผสมกับหลักแนวคิดของการสร้างสรรค์ระบำโบราณคดีกรมศิลปากร การออกแบบสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายใช้หลักการสร้างสรรค์เช่นเดียวกับการออกแบบท่ารำ การสร้างสรรค์กระบวนท่ารำขึ้นใหม่ที่ด้วยการถอดลายจากภาพนูนต่ำ รูปบุคคล ลวดลายที่ปรากฏบนทับหลัง และโบราณวัตถุเป็นผลจากการวิเคราะห์ ตีความและจินตภาพ กระบวนท่ารำเชิงสัญลักษณ์ผ่านการสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของการแสดงปราสาทเขาน้อยสีชมพู  This research aimed to create a traditional Thai dance based on Prasart Kaonoi Sichompoo Historical Site of Sakaew Province. Qualitative research was applied by collecting data from Thai history and dramatic art documents; field study; interviewing Thai dramatic art experts, archaeologists, and local specialists. Data analysis was brought to find methods in creating the dance. The research results revealed that Prasart Kaonoi Sichompoo was established around the 14th century B.E., referred to a stone inscription on archaic items such as Sombopireku artistic style of a lintel; Prei Kmeng art; human sculpture; Koh Ker baked-clay dolls; Trimurti Shivalinga base; bronze vessels etc. The researcher has set an imagination that a human appearing above a Makara on the lintel of the Prasart. The human performed a dance, according to the carving; dancing line; structure of the Prasart; and antiques around the site. Hindu faith and belief were considered to choreography and row design by blending the concept of archaeological dance of the Fine Art Department. Costume design was similar to the choreography. Dance creation process by interpreting and copying from bas-relief; human sculpture; decorations on the lintel; and antiques were from analysis; interpretation; and imagination, as well as symbolic dance process through Thai dramatic art choreography and the uniqueness of Prasart Kaonoi Sichompoo performance.

References

กรมศิลปากร. (2533). ปราสาทเขาน้อยสีชมพู จังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด.

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2553). ศิลปะการออกแบบท่ารำ นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : บริษัทบพิธการพิมพ์.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2554). ระบำชุดโบราณคดี. หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลงศพนางใบศรี แสงอนันต์ วันที่ 24 กรกฎาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: บริษัทไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด.

พรเทพ บุญจันทร์เพชร. (2549). ระบำโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2561). นาฏยวิเคราะห์.:ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สถาบันนาฏดุริยางค์ศาสตร์. (2542). วิพิธทัศนา พร้อมคำอธิบายชุดการแสดงและภาพประกอบ. กรุงเทพฯ: บริษัทเซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลปากร. (2532). ปราสาทเขาน้อยสีชมพู จังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรการเกษตรแห่งประเทศไทย

ฤทธิรงศ์ จิวากานนท์. (2557). ศิลปะการออกแบบเครื่องแต่งกายละครเวทีสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. ราชบัณฑิตสาขานาฏกรรมไทย. (10 สิงหาคม 2564). สัมภาษณ์.

พูนสวัสดิ์ จันทราวุติ. อาจารย์ใหญ่โรงเรียน อพป.คลองน้ำใส. (27 กรกฎาคม 2564). สัมภาษณ์.

ผ่อง เกตุสอน. ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. (27 กรกฎาคม 2564). สัมภาษณ์.

Downloads

Published

2022-10-28