ชุดการสอนเทคนิคการขับร้องเพลงฟ้อนมาลัย

INSTRUCTIONAL TECHNIQUES FOR SINGING “FORN MALAI”

Authors

  • นวริศา ธัญโรจน์วิวัฒน์
  • ชัยพฤกษ์ เมฆรา

Keywords:

การขับร้องเพลงไทย, หลักการขับร้องเพลงไทย, เทคนิคการขับร้องเพลงฟ้อนมาลัย, Thai singing, Principles of Thai singing, Techniques for Singing “Forn Malai”

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและใช้ชุดการสอนเทคนิคการขับร้องเพลงฟ้อนมาลัย และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ชุดการสอนเทคนิคการขับร้องเพลงฟ้อนมาลัย ผู้วิจัยเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาตามแนวคิดของฮัสเซิล เป็นการวิจัยปรากฏการณ์วิทยาเชิงพรรณนา ศึกษาประสบการณ์ด้วยการค้นหาโดยตรง วิเคราะห์ และบรรยายปรากฏการณ์ที่เฉพาะเจาะจง โดยปราศจากการทดสอบสมมุติฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ใช้การหยั่งรู้ เน้นความเข้มข้นของข้อมูล มี 3 กระบวนการสำคัญ คือ การหยั่งรู้ การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ และการบรรยายปรากฏการณ์ ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 2 คน มีคุณสมบัติ คือ สมัครใจเรียนการขับร้องเพลงไทย มีพื้นฐานการขับร้องเพลงประเภทอื่น สามารถอ่านโน้ตดนตรีไทยได้ สามารถอ่านออกเสียงถูกต้องตามอักขระภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดการสอนเทคนิคการขับร้องเพลงฟ้อนมาลัย คู่มือครู แผนการสอนจำนวน 6 แผน แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต คู่มือผู้เรียน ใบความรู้ แบบฝึกปฏิบัติ การเรียนทั้งหมดจำนวน 10 ชั่วโมง ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติเทคนิคการขับร้องเพลงฟ้อนมาลัยอยู่ในระดับที่ดี ทั้งเทคนิคเสียงเอื้อน อือ ฮือ เทคนิคการปริบเสียง และเทคนิคการกระทบเสียง และสามารถขับร้องเพลงฟ้อนมาลัยได้อย่างไพเราะ  The purpose of this research was to create and use a teaching module of the singing techniques used in the song “Forn Malai”, and to study its effectiveness when used to teach that song. The researcher employed the qualitative approach to produce a result according to Husserl descriptive phenomenology, involving direct exploration, analysis, and description of specific phenomena independently, without relying on predefined hypothesis testing. The researcher also employed intuition in presenting the findings, prioritizing database intensity, exploration width and depth. There were two student participants with the following qualifications: familiarity with the basic singing techniques of other genres but not of Thai classical music; the ability to read Thai classical music notation; and the ability to pronounce the Thai alphabet correctly. The core material used for this research was the song, “Forn Malai”. The teaching module consisted of the teacher’s manual and six lesson plans, covering ten hours of study. The student textbook consisted of the information about “Forn Malai, singing exercises, assessments, interviews, and observation. During the tests of the teaching materials, a video was recorded by the researcher to aid in observing the progress of the participants. The research results showed that the students achieved a good level in the Eue Hue vocal, Kratop vocal, and Prip vocal techniques used in “Forn Malai”. They were, thus, able to sing the song beautifully.

References

กาญจนา อินทรสุนานนท์. (2540). เทคนิคการขับร้องเพลงไทย. มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร.

คณพล จันทน์หอม. (2539). การขับร้องเพลงไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

ณรุทธิ์ สุทธจิตต์. (2538). พฤติกรรมการสอนดนตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธิ์ สุทธจิตต์. จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ท้วม ประสิทธิกุล. (2529). หลักคีตศิลป์. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด.

ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก. (2535). การพระราชทานเพลิงศพ ท้วม ประสิทธิกุล. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). หลักการวัดและการประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์

ภาณุภัค โมกขศักดิ์. (2558). การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการขับร้องเพลงไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

มนตรี ตราโมท. (2481). ดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์

สุมาลี จันทร์ชลอ. (2545). การวัดและการประเมินผล. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีจำกัด เพลท หจก สุเนตรฟิล์ม.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ปฏิรูปการศึกษา.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). 20 วิธีจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

Husserl, E. (1963). Ideas: A General Introduction to Pure Phenomenology. Trans. W.R. Boyce Gibson. New York: Collier Books.

Downloads

Published

2023-02-02