การประเมินหลักสูตร วิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้ CIPP Model
CURRICULUM ASSESSMENT OF MUSIC MAJOR OF SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY PRASARNMIT DEMONSTRATION SCHOOL (SECONDARY) USING CIPP MODEL
Keywords:
การประเมินหลักสูตร, วิชาเอกดุริยางคศิลป์, CIPP Model, Curriculum Assessment, Music MajorAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรวิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบ CIPP Model เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามผู้เรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และแบบสอบถามผู้ปกครองนักเรียนวิชาเอกดุริยางคศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1.) หลักสูตรวิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบริบทมีความเหมาะสม ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.40 ด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.37 ด้านกระบวนการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.40 ด้านผลผลิตมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 2.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาเอกดุริยางคศิลป์ จบการศึกษาปีการศึกษา 2562 เป็นคะแนนเฉลี่ย 6 ภาคเรียน (GPAX) ดังต่อไปนี้ นักเรียนที่ได้คะแนน อยู่ในเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย 3.00–4.00 จำนวน 14 คน นักเรียนที่ได้คะแนน อยู่ในเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย 2.00–2.99 จำนวน 6 คน นักเรียนที่ได้คะแนน อยู่ในเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย 1.00–1.99 จำนวน 2 คน 3.) การศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษา นักเรียนวิชาเอกดุริยางคศิลป์ที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสอดคล้องกับวิชาเอกที่เรียน วิชาเอกดุริยางคศิลป์ จำนวนนักเรียน 22 คน คณะ/สาขาที่สอดคล้องกับวิชาเอก จำนวน 18 คน คิดเป็น 81.24 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับสาขาอื่น ๆ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 สามารถสอบสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 86.36 สามารถสอบสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยของเอกชน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.17 สามารถสอบสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเปิด จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.55 This research aims to assess the curriculum of music major of Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary) context, input, process, impact and effectiveness, using CIPP model. The research instrument was questionnaire for learners, administrators, teachers, parents and students majoring in music. The data analysis was used percentage (%), mean (average), standard deviation (S.D.) and content analysis (Content Analysis). The results showed that 1.) The course of music major of Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary) was at a high level. When considered individually, it was found that the context aspect was very appropriate, the mean of 2.40, and the input factors were appropriate at a high level, the mean of 2.37. The process aspect was appropriate at a high level, the mean of 2.40. The yield was appropriate at a high level, the mean of 2.51. The impact was appropriate at a high level 2.) The academic achievement summary of graduated high school students in music major of Academic Year 2019 was a 6-semester point average (GPAX) as follows. There were 14 students whose score was between 3.00-4.00. There were 6 students who got the score between 2.00-2.99. But only 2 students whose score was between 1.00-1.99. 3.) For studying in higher education institutions, students continued the same major were 22. There were 18 students who studied in accordance with majors, representing 81.24 percent but there were 4 students studied other fields, representing 18.18%. 19 students were able to attend the public universities, representing 86.36%. One student studied at a private university, representing 4.17% and one student studied at an open university as 4.55%References
เยาวพา เตชะคุปต์. (2546). หลักสูตรปฐมวัยที่เน้นการพัฒนาพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้. (กรุงเทพฯ,เจ้าพระยาระบบการพิมพ์).
ยรรยง ศัตรูคร้าม. (2544). การประเมินการใช้หลักสูตรประกาศณียบัตรชั้นสูง วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุจิตรา บำรุงกาญจน์. (2544). การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างยนต์ โรงเรียนเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ, (เชียงใหม่, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.).
สิทธิพร สวยกลาง. (2553). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตกในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. (กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.).
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2545). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ (ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.).
Downloads
Published
2023-07-27
Issue
Section
Articles